เมื่อวาน เวลา 08:31 • ปรัชญา
1.. กฎแห่งกรรม ก็คือกฎเดียวกันกับกฎแห่งเหตุและผล (The law of cause and effect) | ซึ่งกฎฟิสิกส์กล่าวว่า Action = Reaction เป็นกฎที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลลัพธ์ สิ่งที่ทำไปจะได้ผลลัพธ์กลับมาหาเราเหมือนบูมเมอแรงเสมอ คุณลองต่อยหน้าใครสักคนก็ได้ คุณจะถูกต่อยกลับทันที ถ้าไม่เดี๋ยวนั้นตอนนั้น คนที่ถูกต่อยก็จะสะสมความแค้นตามเอาคืน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเป็นที่แน่แท้
2. คำว่าชาติภพ ตามความเข้าใจกันโดยทั่วไปซึ่งเป็นความเข้าใจอย่างแคบ คือโลกอีกโลกหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อน ไม่ใช่โลกนี้ แต่ความเข้าใจที่ถูกคือ คำว่า "ชาติ" ถ้ากำลังกล่าวถึง "จิต" ก็ต้องหมายถึงการเกิดขึ้น ว่าทุกขณะที่จิตเกิดขึ้น จะต้องเป็นชาติหนึ่งชาติใดใน 4 ชาติ (เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นวิบาก และเป็นกิริยา) สังเกตว่าตลอดเวลา ณขณะนี้ จิตคุณเองก็มีการเกิดดับตลอดเวลา ไวมาก ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถตามได้ทัน
พอเป็น คำว่า "ชาติ" ในปฏิจจสมุปบาท จึงต้องหมายถึงการเกิดขึ้นของวิบากจิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) และกัมมชรูป ในขณะแห่งปฏิสนธิจิต ซึ่งก็คือ อุปัตติภพ อันเป็นผลมาจากกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมซึ่งเป็นกรรมภพ
3. คำว่า "ภพ" หมายถึง กรรมภพ หรือภพคือกรรม ได้แก่ กุศลกรรม และอกุศลกรรม อันจะนำไปสู่ กามภพ (โลกที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม หรือโลกมนุษย์) รูปภพ (ภพของผู้ที่เข้าถึงฌาน) อรูปภพ (ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาน)
เมื่อมาถึงคำถามที่ถามว่า
ชาติภพแรกสุดที่เกิดมาเกิดมาได้อย่างไร
คำถามนี่จะอยู่ในส่วนของโลกวิสัย
คือคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของโลก
เช่น ใครสร้างโลก ชีวิตเกิดมาได้อย่างไร
ซึ่งพุทธศาสนาบัญญัติว่าไม่ควรถาม
เพราะถามไปก็ปวดหัว ไม่เกิดประโยชน์ ไม่อยู่กับความจริงแท้
และหากใครตอบได้คนผู้นั้นก็เก่งกว่าพระพุทธเจ้าเสียอีก
เพราะไม่ปรากฎว่าพุทธองค์ทรงตอบคำถามนี้แต่อย่างใด
โฆษณา