4 ก.พ. เวลา 16:19 • สุขภาพ

ไข้หวัดใหญ่ เป็นเรื่องใหญ่ได้อย่างไร

หลายคนอาจเห็นข่าวเรื่องดาราท่านหนึ่งที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันทั่วทั้งโลกโซเชียล
ซึ่งทำให้กรณีนี้กลายเป็นอีกหนึ่งข้อยืนยัน ให้ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไปตระหนักว่า ไข้หวัดใหญ่ ก็เป็นปัญหาใหญ่ได้ หากมีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นถูกที่ถูกเวลา
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ซึ่งเป็นไวรัสในตระกูล Orthomyxoviridae เชื้อนี้สามารถก่อให้เกิดโรคในคนและสัตว์บางชนิด และมีศักยภาพในการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้าง โดยทั่วไปมีอยู่ทั้งสิ้น 4 สายพันธุ์ คือ
Influenza A: เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากที่สุดและสามารถก่อให้เกิดการระบาดใหญ่ (Pandemic) ได้ เช่น สายพันธุ์ H1N1, H3N2
Influenza B: พบได้ในคนเท่านั้นและมักทำให้เกิดการระบาดเป็นระยะๆ
Influenza C: ก่อโรคในคนแต่มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ A และ B
Influenza D: พบในสัตว์ เช่น วัวและหมู แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าก่อโรคในคน
1
ไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อได้ผ่านทางละอองฝอยน้ำมูก น้ำลาย (Droplet transmission) ทางการสัมผัส (Contact transmission) ผ่านเยื่อบุตา จมูก หรือปาก
และการแพร่เชื้อผ่านอากาศ (Airborne transmission) โดยมีระยะฝักตัวราว ประมาณ 1-3 วัน
ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการ ไข้สูง (38-40°C) หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
โดยในกลุ่มที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กตั้งแต่อายุแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี หญิงตั้งครรภ์
ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับโรคภูมิคุ้มกัน รวมถึงโรคอ้วนที่มี ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ≥ 40 kg/m² คนเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ เช่น ปอดบวม (Pneumonia) เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) ภาวะกลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS) เป็นต้น ซึ่งอาการรุนแรงแบบนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ถึงแม้ยาปฏิชีวนะอย่าง Oseltamivir (Tamiflu) Zanamivir (Relenza) ร่วมกับการรักษาตามอาการจะสามารถรักษาไข้หวัดใหญ่ให้หายขาดได้ แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทันท่วงที ทำให้มีอาการรุนแรง และเสี่ยงจะเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่
ดังนั้น การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ คือทางเลือกที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ หรือลดความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง
1
โดยการศึกษาระดับนานาชาติสนับสนุนประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในการลดอัตราการเสียชีวิต โดยพบว่าการฉีดวัคซีนสามารถลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ได้ถึง 50% และลดอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากโรคไข้หวัดใหญ่หรือปอดอักเสบได้ถึง 64.4%
ดังนั้น ถ้าใครเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือกำลังจะต้องเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง ควรเตรียมตัวป้องกันตนเอง เพื่อความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรัก
อ้างอิง
1
โฆษณา