Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ThaiFranchiseCenter
•
ติดตาม
9 ก.พ. เวลา 02:00 • ธุรกิจ
“ไอติมจีน” อาจไม่ปังอย่างที่คิด เมื่อทุกแบรนด์ทำได้ไม่ต่าง
นับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 เป็นต้นมา ต้องยอมรับว่าตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยเป็นกระแสมาอย่างต่อเนื่อง จากการเข้ามาบุกตลาดของแฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจาก จีน อินโดฯ
อย่าง Mixue, Ai-Cha ตามมาด้วย Wedrink และ Bing Chun ชูกลยุทธ์ราคาถูก ขายไอศกรีมโคน 15 บาท สามารถสร้างสีสันให้กับตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยได้อย่างมาก
ทำเอาหลายๆ แบรนด์ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยหวั่นใจอยู่ไม่น้อย ด้วยมูลค่าตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยสูงถึง 25,000 ล้านบาท
เป็นสินค้าตลาด Mass ทานทุกเพศทุกวัย ทำให้มีผู้เล่นหน้าใหม่ทั้งจากในไทยและต่างประเทศ กระโดดเข้ามาชิมลางในตลาดอย่างต่อเนื่อง จนสร้าง Volume ในการขายได้เป็นอย่างดี
แต่รู้หรือไม่ว่า? ปัจจุบันไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟที่ว่าเป็นกระแสเมื่อช่วง 2-3 ปีก่อน เริ่มที่จะซาลงไปบ้างแล้ว ตลาดไม่คึกคักเหมือนแต่ก่อน สังเกตได้ว่าคนสนใจซื้อแฟรนไชส์น้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงแรกๆ ที่แฟรนไชส์จีนเข้ามาเปิดตลาดในไทย
สาเหตุที่ทำให้ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยไม่เป็นกระแสเหมือนเดิม หรืออาจมองได้ว่าไอศกรีมจีนไม่ปังอีกแล้ว อาจเป็นเพราะ "แบรนด์ไทย" หรือ "ผู้ประกอบการไทย" สามารถทำไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟได้ไม่ต่างจากจีน
แถมหลายๆ แบรนด์ทำรสชาติออกมาอร่อยกว่าไอศกรีมจีนเสียอีก ใช้วัตถุดิบที่ดีกว่าด้วยซ้ำ ทั้งใช้นมสด น้ำเต้าหู้ วัตถุดิบท้องถิ่นตามฤดูกาล
มาดูกันว่า..ในตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไทย มีผู้เล่นหน้าเก่าและหน้าใหม่ ที่เป็นคู่แข่งหลักๆ ของแฟรนไชส์ไอศกรีมจากจีน มีแบรนด์อะไรบ้าง?
🍦KFC ราคา 12 บาท/โคน
🍦McDonald’s ราคา 15 บาท/โคน
🍦BURGER KING ราคา 12 บาท/โคน
🍦Dairy Queen ราคา 12 บาท/โคน
🍦IKEA ราคา 8 บาท/โคน
🍦Mos Burger ราคา 20 บาท/คน
🍦CJ เปิดตัวแบรนด์ เถียน เถียน ราคา 15 บาท/โคน
🍦Tops daily ราคา 12 บาท/โคน
🍦Makro - เมจิ ราคา 8 บาท/โคน
🍦ร้านกาแฟอินทนิล ราคา 29 บาท/ถ้วย
🍦โต้ว ร้านน้ำเต้าหู้ ราคา 39 บาท/ถ้วย
จะเห็นได้ว่าแบรนด์ที่ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟข้างต้น ไม่ได้ใช้ไอศกรีมเป็นสินค้าหลักของร้าน แต่ใช้เป็นสินค้าทางเลือกให้กับลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการที่ร้าน จะเห็นว่าหลายๆ แบรนด์ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟถูกกว่าแบรนด์จีนด้วยซ้ำ
บางแบรนด์โดยเฉพาะ “แดรี่ควีน” มีไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟน้ำเต้าหู้ขายด้วย หรืออย่างร้านสะดวกซื้อ CJ ปั้นแบรนด์ "เถียน เถียน" ทำสินค้าเหมือน Mixue อีกต่างหาก ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟและชาผลไม้ ราคาเริ่มต้น 15 บาทเหมือนกัน
1
ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ในอนาคตตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟและเครื่องดื่มในไทย จะกลายเป็นตลาดที่แข่งขันกันแบบ “สงครามราคา” หรือเรียกว่า Red Ocean หรือไม่
เหมือนกับตลาดขนส่งพัสดุในช่วงที่ผ่านมา กรณี Flash Express กับ Kerry Express สู้รบด้วยราคากันดุเดือด ยอมแม้กระทั่งตัวเองขาดทุน สุดท้ายเจ็บตัวทั้งสองฝ่าย
ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยก็เช่นกัน จะเห็นว่าแบรนด์จากจีนมีสินค้าชูโรง 2 ตัว คือ ไอศกรีม กับ เครื่องดื่ม ขายไอศกรีม 15 บาท/โคน หลายคนอาจรู้สึกว่าสินค้าที่เป็นของจีนราคาถูก
แต่ถ้าดูให้ดีจะแพงกว่าแดรี่ควีน เคเอฟซี อีเกีย ท็อปส์ เม็คโคร-เมจิ ที่ขายแค่ 12 บาท ที่สำคัญแบรนด์ในไทยเหล่านี้ขายไอศกรีมเพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้า ไม่ได้หวังจะได้กำไรจากไอศกรีมมากนัก
ถ้ามองสงครามในตลาดไอศกรีมไปยาวๆ แบรนด์ที่น่าเป็นห่วงและมีโจทย์ที่ท้าทาย น่าจะเป็นแบรนด์จากจีนมากกว่า ถ้าไม่หาลูกเล่นใหม่ๆ มารับมือ
#ตลาดไอศกรีม #ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ #ซื้อแฟรนไชส์ #แฟรนไชส์จีน #แฟรนไชส์อินโดนีเซีย #ไอศกรีม #ขายแฟรนไชส์ #ซื้อแฟรนไชส์ #กระแสแฟรนไชส์ #รวมแฟรนไชส์ #ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์
แฟรนไชส์
แฟรนไชส์ไทย
ธุรกิจ
1 บันทึก
8
3
1
8
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย