4 มี.ค. เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

5 นิสัยเสี่ยง พานักลงทุนพัง

โลกของการลงทุนนั้น มีความเสี่ยงต่างๆมากมาย ซึ่งเราควรรู้เท่าทันเพื่อลดและป้องกันความเสี่ยงต่างๆก่อนที่มันจะเกิดขึ้น โดยนิสัยเสี่ยงที่นักลงทุนควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
  • ​ไม่ขาย ไม่ขาดทุน
แม้การที่เราไม่ขายหุ้นที่เราทนถือขาดทุนอยู่นั้น จะทำให้การขาดทุนเป็นเพียงแค่การขาดทุนทางบัญชีตัวเลข แต่สิ่งที่เราพลาดไป คือ ค่าเสียโอกาสในนำเงินก้อนนั้นไปลงทุนหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่อาจได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
โดยจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลังนิสัยการทนถือหุ้นที่ขาดทุนของเรานั้น มาจาก
-อคติทางความคิด (Cognative bias) ที่ทำให้เราเลือกรับรู้เฉพาะข้อมูลที่สนับสนุนความคิดของเราเท่านั้น ไม่มองข้อมูลอย่างรอบด้าน ทำให้เราตัดสินใจเกี่ยวกับหุ้นที่เราถืออยู่ผิดไป
-อคติจากความยึดติดกับราคา (Anchoring bias) โดยยึดติดกับราคาที่เราซื้อเป็นตัวเลขอ้างอิง ทั้งที่จริงๆแล้ว ตลาดไม่ได้ให้ค่ากับราคาที่เราซื้อเลยด้วยซ้ำ
-การหลีกเลี่ยงความเสียใจ (Regret avoidance) คือการไม่เข้าไป take actionใดๆ ปล่อยให้ราคาไหลไปตามทิศทางของตลาด เพราะกลัวผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดของเรา
ดังนั้นเราควรเข้าใจในหุ้นที่เราถืออยู่ให้ดีเสียก่อน ว่าพื้นฐานยังดีอยู่หรือไป การที่ราคาตกลงมาเป็นปัจจัยชั่วคราว หรือถาวร และอย่ายึดติดกับราคาที่เราซื้อแต่ควรเทียบกับมูลค่าที่เหมาะสม ณ ปัจจุบัน
  • ​อยู่เฉยไม่เป็น ต้องซื้อขายบ่อยๆ
การลงทุนแบบเก็งกำไร ซื้อๆขายๆบ่อย เป็นวิธีการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้ได้ผล แต่เนื่องจากตลาดเป็น Zero sum game มีผู้ได้กำไร ย่อมมีผู้ขาดทุน ดังนั้นผู้ที่ได้กำไรจากวิธีนี้จึงมีอยู่น้อยมาก ยิ่งในยุค AI และ Bot trade ที่สถาบันขนาดใหญ่ มีความได้เปรียบนักลงทุนรายย่อยอย่างมหาศาล โอกาสทำกำไรจึงยากเต็มที
ความมั่นใจในตนเองที่สูงเกินไป หรือ ความสุขจากการเสพติดความเสี่ยง เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เราตัดสินใจซื้อขายบ่อยๆ ซึ่งก่อผลเสียทั้งค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น และโอกาสขาดทุนที่มากขึ้น ดั้งนั้นการจับจังหวะซื้อขายจึงเป็นสิ่งที่ต้องระวังและควรทบทวนตนเองให้ดี ว่าการซื้อขายแต่ล่ะครั้งนั้นมีเหมาะสม สมเหตุสมผลแล้วหรือยัง
  • ​เชื่อว่า ผลงานในอดีตสามารถใช้คาดเดาผลงานในอนาคตได้
เรามักเชื่อมั่นในผลงานในอดีต โดยไม่ได้ให้ความสำคัญว่าแท้จริงผลงานในอดีตไม่ได้การันตีเกี่ยวกับผลงานในอนาคตเลย เพราะพื้นฐานของบริษัทที่เราลงทุนนั้น มีโอกาสเปลี่ยนแปลงและถูก disrupt ได้ตลอดเวลา และที่สำคัญ ผลงานดีๆที่ผ่านมาที่บริษัทได้ทำไปแล้วนั้น ก็ได้สะท้อนไปในราคาหุ้นที่สูงขึ้นมาแล้ว ทำให้มีโอกาสสูงที่เราจะซื้อหุ้นแพงกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น
  • ​กลัวตกรถ
พฤติกรรมการคล้อยตามคนหมู่มาก ทำให้เกิดการแห่เก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ ยิ่งคนเข้ามาซื้อเยอะ คนที่เหลือก็จะยิ่งเข้ามาซื้อตามจนดันให้ราคาขึ้นไปสูงมาก กลายเป็นฟองสบู่ที่พร้อมจะแตกออกในที่สุด
นอกจากนี้ความกลัวพลาดโอกาสและความโลภ ยังทำให้เราขาดเหตุผลในการพิจารณาว่าผลตอบแทนที่ได้รับนั้นคุ้มค่าความเสี่ยงที่ต้องเผชิญหรือไม่
  • ​มองเงินมีค่าไม่เท่ากัน
การมองเงินที่หามาได้แต่ล่ะก้อนมีค่าไม่เท่ากัน เช่นการคิดว่าเงินกำไรจาการขาย เป็นเงินอีกก้อนที่สามารถนำไปลงทุนความเสี่ยงสูงๆมากกว่าเดิมได้ ทั้งที่จริงเงินทุนเดิมและเงินกำไรจากการขายล้วนมีค่าเท่ากัน และควรนำไปจัดสรรลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเท่ากันๆ
ทั้งนี้ยังรวมถึงการให้ค่าหุ้นแต่ล่ะตัวที่ถืออยู่อย่างไม่เท่าเทียมกัน มีอคติในหุ้นที่ชอบ โดยไม่ใช้เหตุผลในการพิจารณาอย่างถ่องแท้ ทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้เมื่อราคาร่วงต่ำลงมา
พฤติกรรมที่กล่าวมาทั้งหมด ล้วนเป็นลักษณะนิสัยปกติที่นักลงทุนส่วนใหญ่มีกันเกือบทุกคน เพียงแต่เราต้องรู้เท่าทันตนเอง เพื่อเลี่ยงพฤติกรรที่ไม่เหมาสม และลดโอกาสการก่อความเสียหายในการลงทุนในที่สุด
โฆษณา