เมื่อวาน เวลา 12:00 • ธุรกิจ

รู้จัก MOTHER จากร้านโชห่วยในจังหวัดกระบี่ สู่บริษัทมหาชน

MOTHER x ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า ปี 2566 กระบี่ รองรับนักท่องเที่ยวกว่า 3.8 ล้านคน
ซึ่งมากกว่า 7 เท่าตัวของจำนวนประชากรที่มีราว 4.8 แสนคน
ประกอบกับการขยายความเป็นเมืองที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ กระบี่ กลายเป็นหนึ่งในศูนย์การค้าเศรษฐกิจของภาคใต้
2
สิ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ก็คือ ล่าสุดมีหนึ่งธุรกิจค้าปลีกค้าส่งดั้งเดิมนานกว่า 4 ทศวรรษของจังหวัดกระบี่ กำลังจะ IPO นั่นก็คือ บริษัท มาเธอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ MOTHER
แล้วเส้นทางธุรกิจ MOTHER เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ย้อนกลับไปในปี 2524 คุณแม่ของนายเอกพงศ์ โชคชัยวิทัศน์ ได้เปิดร้านโชห่วยห้องแถวเล็ก ๆ ในชื่อ “ร้านค้าเกียรติพานิช”
จากนั้นก็เริ่มขยายธุรกิจเปิดสาขาไปทั่วจังหวัดกระบี่ ภายใต้ บจ.มาเธอร์ มาร์เก็ตติ้ง
และเริ่มขยายสาขาไปสู่พังงา และสุราษฎร์ธานีในปี 2561
หลังจากนั้นไม่นานในปี 2564 ก็เปิดสาขาในปั๊มน้ำมันบางจากเป็นครั้งแรก
ล่าสุดในปี 2567 ได้เปิด 2 สาขาใหม่คือ สาขาบางเนียง และสาขาที่ 2 ในเกาะพีพี
ทำให้ปัจจุบันนี้ MOTHER มีทั้งหมด 20 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดกระบี่, สุราษฎร์ธานี และพังงา
นอกจากนี้ ยังมีศูนย์กระจายสินค้าจำนวน 2 แห่งในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกด้วย
แล้ว MOTHER ขายอะไรบ้าง ?
จริง ๆ แล้ว MOTHER จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่า 10,000 รายการ
แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักคือ สินค้าอุปโภค, สินค้าบริโภค และสินค้าของสดและอาหารแช่แข็ง ทั้งในรูปแบบสินค้าปลีก, สินค้าเป็นแพ็ก และสินค้าเป็นลัง
เพื่อรองรับทั้งกลุ่มลูกค้าค้าปลีก และกลุ่มลูกค้าค้าส่ง
ทีนี้ลองมาดูโครงสร้างรายได้ล่าสุดในปี 2566 ของ MOTHER กันบ้าง..
1. รายได้จากค้าปลีก 69.5%
โดยมีทั้งการขายปลีก และการขายแบบ Big Pack (สินค้า Size ที่ร้านค้าสามารถซื้อไปขายต่อได้) ภายใต้ 3 แบรนด์ร้านค้า คือ
- Mother Eco ขนาด 100-200 ตร.ม. มินิมาร์ตในปั๊มน้ำมัน
- Mother Supermarket ขนาด 300-400 ตร.ม. เน้นทำเลแหล่งชุมชน รองรับกลุ่มลูกค้าท้องถิ่น
ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง Modern Trade และความร่วมสมัยของร้านค้าท้องถิ่น
ที่แม้ว่าจะมีบางสินค้าเหมือนในร้านสะดวกซื้อ แต่ Mother Supermarket กำหนดจุดขายทางการตลาดที่แตกต่าง
โดยสังเกตได้จากพฤติกรรมของลูกค้า มักจะซื้อสินค้าส่วนตัวขนาดพกพา, อาหารพร้อมทาน และเครื่องดื่มต่าง ๆ จากร้านสะดวกซื้อ
แต่ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค และของสดในครัวเรือน มักจะนิยมซื้อจาก Mother Supermarket มากกว่า เพราะมีสินค้าที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าแม่บ้าน และลูกค้าทั่วไป ด้วยขนาดและประเภทสินค้า
ที่สำคัญ สินค้าบางรายการใน Mother Supermarket ยังมีราคาถูกกว่าร้านสะดวกซื้อ อีกด้วย
- Mother Marche ขนาด 400-500 ตร.ม. เน้นทำเลแหล่งท่องเที่ยว รองรับกลุ่มลูกค้าท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว เช่น สาขาอ่าวนาง, สาขาเกาะพีพี
ทำให้สามารถตั้งราคาขายสินค้าสูงกว่า Mother Supermarket และ Mother Eco ราว 2-5%
1
2. รายได้จากค้าส่ง 30.5%
โดยขายผ่าน 2 ศูนย์กระจายสินค้าในกระบี่ และสุราษฎร์ธานี
เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปขายต่อ และกลุ่มลูกค้าธุรกิจ เช่น โรงแรม, ร้านอาหาร
นอกจากนี้ MOTHER ยังมีอีก 2 ช่องทางการขาย คือ
- ช่องทางออนไลน์ Shopee โดยเปิดบิลขายผ่านระบบ Business Plus (B-PLUS) และเบิกสินค้าจากคลังสินค้าหลัก เพื่อจัดส่งให้ลูกค้า
- การขายผ่าน Van Sales ผ่านระบบ ERP Business Plus แบบ Real Time ในกลุ่มสินค้า Nestle Food Service
แล้ว MOTHER สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน อย่างไร ?
ด้วยประสบการณ์กว่า 4 ทศวรรษในธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ประกอบกับผู้บริหารของ MOTHER เองก็เป็นคนในพื้นที่
ทำให้เข้าใจภาพรวมความต้องการของฐานลูกค้า และสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในหลากหลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็น
- Differentiate สร้างความแตกต่างด้านสินค้า
ไม่ว่าจะเป็น อาหารสด และสินค้าทั่วไป เช่น สินค้านำเข้า เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- Cost Effectiveness การบริหารต้นทุนที่เหมาะสม
เช่น การบริหาร Operating Cost ด้วย Retail Matrix, การบริหารต้นทุนสินค้า (Cost of Goods Sold) ด้วยวิธีซื้อสินค้าที่มีอัตราที่หมุนเร็วในปริมาณมาก เพื่อให้เกิด Economies of Scale
นอกจากนี้ ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าหลายรายการ (SKUs) อีกด้วย
- Speed to The Market ความรวดเร็วต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ด้วยขั้นตอนที่กระชับ ทำให้บริหารและตัดสินใจทันต่อตลาด ทั้งในแง่สินค้าหลากหลายกว่า 10,000 รายการ
และราคาที่ถูกกว่าร้านค้าทั่วไป ตามแนวคิดร้านค้าปลีกเพื่อขายสินค้าในราคายุติธรรม
- Data Driven การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
เช่น ระบบ Business Plus (ERP) ที่มีข้อมูลการจำหน่ายสินค้า และการชำระเงิน เพื่อนำมาสร้างกลยุทธ์การตลาด และส่งเสริมการขายแบบ Personalized Promotion โดยมีระบบสมาชิกสะสมแต้มมาใช้ในการตลาด
ทั้งหมดนี้ ทำให้ MOTHER มีผลประกอบการที่ดี
ปี 2564 รายได้รวม 1,123.08 ล้านบาท กำไรสุทธิ 18.44 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้รวม 1,195.47 ล้านบาท กำไรสุทธิ 13.84 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้รวม 1,252.90 ล้านบาท กำไรสุทธิ 15.99 ล้านบาท
2
โดยมีอัตราการเติบโตของรายได้จากการค้าปลีกสาขาเดิม หรือ Same Store Sales Growth ปี 2565 เทียบกับปี 2566 อยู่ที่ 5.18%
ซึ่งวัตถุประสงค์ของ MOTHER ในการ IPO ครั้งนี้ ก็เพื่อระดมทุนเอาไปสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ผ่าน 3 ประเด็นสำคัญ คือ
- เงินทุนในการขยาย 3 สาขาในแบรนด์ Mother Supermarket และ Mother Marche
- ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
- ทุนหมุนเวียนในกิจการ
ถึงตรงนี้ คงต้องติดตามกันต่อไปว่า..
หลังจากนี้ MOTHER จะเป็นแบรนด์ค้าปลีกค้าส่ง ติดลมบน ของจังหวัดกระบี่ ได้หรือไม่..
โฆษณา