6 ก.พ. เวลา 13:35 • ความคิดเห็น
มันคือความเชื่อที่แล้วแต่ว่าใครจะเชื่อแบบไหนครับ
หากบางชุดหลักความคิด (ไม่ได้บอกว่าถูกหรือผิด) อธิบายจุดกำเนิดของอะไรหลายอย่าง ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ให้สามารถเป็นสิ่งที่จับต้องได้ง่าย และทรงพลังให้เหมาะสมกับสิ่งที่ถูกมองว่าสำคัญ มหัศจรรย์ อะไรแบบนั้น
แต่ถ้ามองอีกมุมนึง ก็คือการอธิบายธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว รอบ ๆ ตัว จะใกล้หรือไกลตัว ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน
พระเจ้า เทพ เทวา ปีศาจ เลยกลายเป็นสิ่งที่นำมาอธิบายจุดกำเนิดต่าง ๆ ที่เรายังอาจสาวความไปไม่ถึงจุดกำเนิดจริง ๆ นั้น
ก็ใครกัน(คน) จะรู้แจ้งจริง ๆ ว่ามันเกิด หรือกำเนิดมาจากอะไร
พุทธศาสนา อธิบายธรรมชาติ ไว้ด้วยหลักเหตุและผลครับ ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมา ล้วนแต่มีเหตุทั้งนั้น
นี่คือความต่าง แต่สังเกตุว่ามีจุดประสงค์เดียวกันนะครับ
และพุทธศาสนา เลือกที่จะเสนอสิ่งที่สำคัญกับคนมากกว่า คือทุกข์เกิดจากอะไรและจะจัดการทุกข์ได้อย่างไร ซึ่งสามารถทำตามได้ โดยไม่ใช่แค่ทฤษฎีครับ ซึ่งอาศัยหลักของเหตุและผล อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น
แต่สุดท้ายแล้ว ทุกศาสนาล้วนอยากให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่เบียดเบียนกัน มีเมตตาและให้อภัยกัน ด้วยกันทั้งนั้น
ผมจึงเห็นว่า ในเมื่อจุดร่วมของทุกศาสนา ก็อยู่ในทางเดียวกัน มันก็อยู่ที่เหตุปัจจัยของแต่ละบุคคลว่าโน้มเอียงจะรับเอาหลักของศาสนาไหนมาปฏิบัติยึดเหนี่ยวจิตใจไว้
ตัวศาสนาและหลักคำสอนต่างไม่มีผิดหรือถูกเลย
มีแต่คนนี่แหละครับ ที่ไปให้ค่า ไปยึดถือ เห็นว่าเป็นศาสนาของข้า ต้องดีกว่าแจ๋วกว่า เลยเอามาเปรียบเทียบด้วยความยึดถือและความไม่รู้ครับ
โฆษณา