7 ก.พ. เวลา 09:22 • สุขภาพ

หลายคนให้ความสำคัญ

กับการใช้ชีวิตที่มี work-life balance
เพราะพวกเขามองว่า
หากพวกเขาสามารถ
มีชีวิตที่ work-life balance ลงตัว
พวกเขาก็จะ happy
อย่างไรก็ตาม
พอถึงเวลาเข้าจริงๆ
การบริหารจัดการชีวิต
ให้มี work-life balance ให้ลงตัว
มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เพราะในหลายๆครั้ง
ชีวิตเราก็จะเกิด “อุบัติเหตุ” บางอย่างขึ้นมา
ส่งผลให้เราไม่สามารถจัดแจงชีวิตตัวเอง
ให้มี work-life balance ที่ลงตัวได้
ยกตัวอย่างเช่น
เราอาจจะตั้งใจไว้ว่า หลังจาก 18.00 น.
เราจะได้แตะงานอีก แต่เผอิญว่าหัวหน้าเราป่วยกะทันหัน
ส่งผลให้เราต้องนำเสนองานกับลูกค้ารายใหญ่ชาวต่างชาติ
แทนหัวหน้าในช่วงเวลา 20.00 น.
เป็นต้น
พอเป็นแบบนี้ หลายคนจะรู้สึกผิดหวัง เสียใจ โกรธอย่างแรง
ไม่ใช่เพราะพวกเขาต้องทำงานหลัง 18.00 น. เสียทีเดียว
แต่เป็นเพราะพวกเขาไม่สามารถบริหารชีวิตตัวเอง
ให้มี work-life balance ที่ลงตัวตามแผนที่พวกเขาวางไว้ได้
…ซึ่งหากมองในมุมหนึ่ง
นี่ถือเป็นตลกร้ายสำหรับพวกเขา
อยู่เหมือนกันนะครับ
นั่นเป็นเพราะว่า…
พวกเขาพยายามจัดแจงชีวิตตัวเอง
ให้มี work-life balance ที่ลงตัว
เพราะพวกเขาอยากมีชีวิตที่ happy
แต่ไปๆมาๆ การมีชีวิตที่ work-life balance ลงตัว
กลับกลาย “เป้าหมาย” ที่สร้างความกดดันในใจพวกเขา
ส่งผลให้พวกเขาไม่ happy กับการ “ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้”
มากกว่าการที่พวกเขาต้องทำงานหลัง 18.00 น. เสียด้วยซ้ำ!
ทั้งหมดที่ผมเขียนมานี้
ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะบอกว่า
การมีชีวิตที่ work-life balance ลงตัว
คือสิ่งที่ไม่ดีนะครับ
แต่ผมมีเจตนาที่ต้องการจะสื่อว่า
หากการมีชีวิตที่ work-life balance ลงตัว
คือ “เป้าหมาย” ที่เรายึดไว้อย่างไม่ยืดหยุ่นล่ะก็
“เป้าหมาย” ดังกล่าวก็สามารถสร้างความทุกข์ให้กับเราได้
(แม้เราจะตั้ง “เป้าหมาย” นั้นเพราะเราเชื่อว่า
“เป้าหมาย” ดังกล่าวจะช่วยให้เรา happy มากขึ้นก็ตามครับ)
โฆษณา