Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MarketThink
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
7 ก.พ. เวลา 11:00 • ธุรกิจ
อธิบายเรื่อง Economies of Scale ศัพท์เบสิก บริหารต้นทุน จากเคส Lucky Suki
ถ้าเราเริ่มทำธุรกิจแล้วตั้งเป้าว่าอยากมีรายได้ปีละ 1,000 ล้านบาท คิดว่าต้องใช้เวลากี่ปี ? ถ้าเราถามเจ้าของ Lucky Suki จะได้คำตอบว่า “3 ปี”
นี่คือผลประกอบการของ บริษัท มิราเคิล แพลนเนท จำกัด เจ้าของแบรนด์ Lucky Suki และ Lucky BBQ
ปี 2565 รายได้ 79.7 ล้านบาท กำไร 2.7 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 409.2 ล้านบาท กำไร 46.3 ล้านบาท
และจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารล่าสุด ปี 2567 บริษัทมีรายได้ทะลุ 1,000 ล้านบาท และปีนี้ตั้งเป้าไปให้ถึงรายได้ 2,000 ล้านบาท
- อยากรู้ความคิดผู้ก่อตั้งร้านอาหารที่กำลังมาแรงอย่าง Lucky Suki พบตัวจริงได้ในงาน The Entrepreneur Forum 2025 ที่สุดของงานอิเวนต์ผู้ประกอบการ เปิดจองบัตรแล้ว (บัตรมีจำนวนจำกัด)
https://www.zipeventapp.com/e/The-Entrepreneur-Forum-2025
ส่วนสำคัญที่ทำให้ Lucky Suki เติบโตได้อย่างน่าสนใจแบบนี้คือ “ความคุ้มค่า”
Lucky Suki ขายบุฟเฟต์หัวละ 219 บาท แต่ให้วัตถุดิบหลากหลาย ทั้งของทอด, ติ่มซำ และมีเครื่องดื่มเกล็ดหิมะ จนลูกค้าติดใจ
Lucky Suki ทำอย่างไร ให้เมนูมีความหลากหลาย แต่ยังขายราคาแบบนี้ได้ ?
MarketThink ได้คุยกับทีมผู้บริหาร Lucky Suki โดยหนึ่งเรื่องน่าสนใจคือ “ยิ่งแบรนด์ขยายสาขาได้เยอะ จะยิ่งควบคุมต้นทุนดีขึ้น”
ทีมผู้บริหารเล่าว่า หนึ่งในต้นทุนที่สำคัญมาก ๆ ของธุรกิจร้านอาหารก็คือต้นทุนวัตถุดิบ ยิ่งควบคุมต้นทุนตรงนี้ได้ดี ก็จะยิ่งเพิ่มอัตรากำไร หรือสามารถขายสินค้าในราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น
Lucky Suki จะควบคุมต้นทุนตรงนี้ด้วยหลักการเบสิกที่หลายคนน่าจะได้ยินกันบ่อย ๆ คือคำว่า Economies of Scale หรือการประหยัดต่อขนาด
แปลง่าย ๆ ก็คือ การที่ผลิตสินค้าหรือให้บริการยิ่งมากขึ้น ต้นทุนในการผลิตหรือการบริการต่อหน่วย ยิ่งลดลง
มาดูตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
- สมมติว่า Lucky Suki ทำน้ำจิ้มสูตรพิเศษ เลยลงทุนซื้อเครื่องผสมน้ำจิ้ม เครื่องละ 100,000 บาท ตรงนี้เรียกว่า “ต้นทุนคงที่” ซึ่งสมมติให้ = 100,000 บาท
และสมมติว่าในน้ำจิ้ม มีต้นทุนส่วนผสมอื่น ๆ เช่น พริก กระเทียม รวมกัน 100 บาท ต่อปริมาณน้ำจิ้ม 1 ขวด ตรงนี้เรียกว่า “ต้นทุนผันแปร” ซึ่งสมมติให้ = 100 บาท ต่อน้ำจิ้ม 1 ขวด
- ถ้าผลิตน้ำจิ้ม 1 ขวด หมายความว่า ต้นทุนรวมในการผลิตน้ำจิ้มจะเท่ากับ 100 + 100,000 = 100,100 บาทต่อขวด
แต่ถ้ายิ่งผลิตเยอะ “ต้นทุนคงที่” จะยิ่งถูกเฉลี่ยออก ทำให้ได้ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง ตามตัวอย่างนี้
- ผลิตน้ำจิ้ม 1,000 ขวด
ต้นทุนรวมในการผลิตน้ำจิ้มจะเท่ากับ 100,000 + (100 x 1,000) = 200,000 บาท
คิดเป็นต้นทุน 200,000 / 1,000 = 200 บาทต่อขวด
- ผลิตน้ำจิ้ม 10,000 ขวด
ต้นทุนรวมในการผลิตน้ำจิ้มจะเท่ากับ 100,000 + (100 x 10,000) = 1,100,000 บาท
คิดเป็นต้นทุน 1,100,000 / 10,000 = 110 บาทต่อขวด
ทีนี้เราก็จะพอเห็นภาพใหญ่แล้วว่า การขยายสาขาของ Lucky Suki มีผลกับการเกิด Economies of Scale หรือการประหยัดต่อขนาด
คือถ้าสมมติว่า Lucky Suki ต้องใช้น้ำจิ้มสาขาละ 1,000 ขวดต่อวัน ถึงจะพอให้บริการลูกค้า
หมายความว่ายิ่ง Lucky Suki มีจำนวนสาขาเยอะ
ก็จะต้องสั่งผลิตน้ำจิ้มเยอะ ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อขวดถูกลงไปเรื่อย ๆ
โดยถ้าอ้างอิงตามเรตการคำนวณต้นทุนน้ำจิ้มข้างต้น
- ถ้า Lucky Suki มี 1 สาขา หมายความว่าต้นทุนน้ำจิ้ม คือ 200 บาทต่อขวด
- ถ้า Lucky Suki มี 10 สาขา หมายความว่าต้นทุนน้ำจิ้ม คือ 110 บาทต่อขวด
- ถ้า Lucky Suki มี 40 สาขา หมายความว่าต้นทุนน้ำจิ้ม คือ 12.5 บาทต่อขวด
ซึ่งต้องหมายเหตุว่า อยู่ภายใต้สมมติฐานว่า เครื่องผสมน้ำจิ้ม 1 เครื่อง สามารถผลิตน้ำจิ้มจำนวนเหล่านี้ออกมาได้ไหวทั้งหมด
จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ยิ่ง Lucky Suki มีจำนวนสาขาเยอะขึ้น ต้นทุนการผลิตน้ำจิ้มต่อหน่วย ก็ยิ่งถูกลง
ซึ่งนี่แหละที่เรียกว่าการเกิด Economies of Scale
โดยหลักการนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะน้ำจิ้มเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัตถุดิบทุกอย่างที่ทางร้านใช้ เช่น หมูสามชั้น,
ลูกชิ้น และวัตถุดิบอีกหลาย ๆ อย่าง
ซึ่งเรื่องนี้ก็คือการอธิบายเรื่องเบสิกการบริหารต้นทุน ที่ทำให้ Lucky Suki สามารถทำบุฟเฟต์มาขายในราคาเริ่มต้นที่ 219 บาท
สุดท้ายนี้ ทางผู้บริหารบอกว่า ตอนนี้ร้านอาหารในเครือ มีสาขารวมกัน 21 สาขา แบ่งออกเป็น
- Lucky Suki 15 สาขา
- Lucky BBQ 6 สาขา
โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา ทำรายได้ 1,000 ล้านบาท
ส่วนในปี 2568 ตั้งเป้าว่าจะทำรายได้ 2,000 ล้านบาท และขยายสาขาเพิ่มอีกเท่าตัว เป็น 36-40 สาขา
- วันที่ 8 มีนาคมนี้ คุณรสรินทร์ ติยะวราพรรณ เจ้าของแบรนด์ Lucky Suki จะมาเล่าเรื่องราว และกลยุทธ์ธุรกิจของ Lucky Suki ให้ฟังในงาน The Entrepreneur Forum 2025 อิเวนต์สำหรับคนอยากเริ่มธุรกิจของตัวเอง หาไอเดียธุรกิจ ต่อยอดธุรกิจ
ใครสนใจสามารถจองบัตรได้แล้วตอนนี้ ที่ลิงก์นี้ (บัตรมีจำนวนจำกัด)
https://www.zipeventapp.com/e/The-Entrepreneur-Forum-2025
1.
สัมภาษณ์พิเศษ กลุ่มผู้บริหาร เจ้าของแบรนด์ ลัคกี้ สุกี้
2.
เอกสารประชาสัมพันธ์บริษัทฯ
สุกี้
2 บันทึก
12
3
2
12
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย