8 ก.พ. เวลา 06:29 • ข่าว

Fact is Ugly truth #saveพิรงรอง (ยาวนะครับ)

ขออนุญาตให้ข้อมูล(ไม่ใช่ความคิดเห็น) ผมในการร่วมทำงานกับ อ.พิรงรอง และคณะทำงาน #กสทช ในฐานะ
ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล-ประเทศไทย ในช่วงเวลาที่อยู่ในตำแหน่ง นายก สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ช่วงปี 62-66 (ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาสมาคมฯ)
1. “ไทยยังไม่มีกฏหมายกับกับดูแล #OTT ?)
- ใช่ครับ ปัจจุบันไม่มี แต่ในฐานะที่ได้ทำงานร่วมกับกสทช.ในช่วงที่ผมเป็นนายกสมาคมฯ ได้รับรู้และรับทราบถึงการตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่อง #OTT ตั้งแต่ประมาณปี 63 แล้ว
2. ”แล้วกสทช.ไม่ทำหรือ ทำไมถึงไม่มีอำนาจ?“
- ”ยังไม่มีอำนาจตามกฎหมายครับ เนื่องจากตั้งแต่ช่วงปี 64 ถึงปัจจุบันมีการทำ #แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปี 63-68 (ฉบับปรับปรุง)
3. “อ้าว? ก็ทำแล้วนี่ แล้วทำไมยังกำกับดูแลไม่ได้”
- ร่างแผนแม่บทเกี่ยวกับ #OTT ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในเชิงการศึกษาและทำแผนแล้ว ซึ่งมีการเสนอเพื่อเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช.ชุดใหญ่ ตั้งแต่เดือนพ.ย.66 #จนถึงปัจจุบันแผนยังไม่ได้ถูกนำเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณา อ้างอิงเนื้อหาดังนี้
ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ได้กล่าวถึงแผนการร่างประกาศ เพื่อใช้กำกับดูแลแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง OTT ซึ่งได้มีการจัดทำแล้วเสร็จทุกขั้นตอนรวมถึงการจัดรับฟังความคิดเห็นครบถ้วนแล้ว ซึ่งได้เสนอเข้าสู่วาระการประชุมรอบแรกก่อนวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566
ซึ่งเป็นวันที่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้เป็น #เส้นตายของธุรกิจที่ให้บริการดิจิทัลหรือแพลตฟอร์มดิจิทัลมาจดแจ้ง ตาม พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565
อ้างอิง… https://www.prachachat.net/ict/news-1454106
ซึ่งข้อนี้ ก็คือเรื่องอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานของกสทช. สามารถอ้างอิงระเบียบการทำงานที่นี่… https://broadcast.nbtc.go.th/about
4. “ต้นตอการร้องเรียนของประชาชนเรื่องโฆษณาคืออะไร?
- ผู้ร้องรับชมช่องทีวีดิจิตอลภายใต้การกำกับดูแลของกสทช. โดยดูผ่านกล่อง #TrueID พบโฆษณาขั้นระหว่างรับชม ซึ่งมากกว่าเงื่อนไขที่กสทช.กำหนดในแต่ละช่อง เช่น โฆษณา pop up ระหว่างชม หรือระหว่างเปลี่ยนช่อง (ซึ่งเมื่อกล่องเป็น #OTT ก็สามารถทำได้ เพราะ ยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแล)
5. ”โฆษณาแบบนี้คืออะไร ไม่เหมือนโฆษณาทีวีหรือ?“
- ไม่เหมือนทีวีเลยระบบนี้คือ “Programmatic Guarantee” เหมือนโฆษณาออนไลน์ ที่ระบบสามารถรู้พฤติกรรมเราได้ ดูช่องอะไร ดูกี่โมง ดูที่ไหน ง่ายๆคือโฆษณาสามารถยิงตรงไปยัง ”พฤติกรรมและความสนใจของผู้ชมทีวี“ เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น
- ต่างยังไงกับโฆษณาทีวีที่ผ่านมา? ต่างที่เดิมการโฆษณา จะรู้แค่ว่าช่องนี้ รายการนั้นเรตติ้งเท่าไหร่ เท่ากับน่าจะมีคนดูเยอะ ค่าโฆษณาก็จะขึ้นกับเรตติ้ง แต่ผู้โฆษณาจะวัดไม่ได้ว่า แล้วคนดูมาซื้อหรือใช้บริการเขาจากที่โฆษณาไปหรือไม่ เหมือนที่เราเล่นเน็ตแล้วจะเจอของที่เราสนใจมาอยู่บนหน้าFB เราอัตโนมัติ
6. ”ช่องทีวี หรือผู้ผลิตคอนเท้นไทยทำยังไง?“
- ผมร่วมกับ สมาคมโทรทัศ์ระบบดิจิตอล ร่วมกับกสทช.ตั้งคณะทำงานศึกษาโครงการ “National Streaming Platform” ตั้งแต่ปี65 เพื่อวางแผนรับมือเทคโนโลยีใหม่ๆ และการหมดอายุสัมปทาน #ทีวีดิจิตอล ปี72 อ้างอิง… https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9660000078115#
- ซึ่งระบบ ”Programmatic Guarantee” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาศึกษาในการยกระดับ Digital Ecosystem เพื่อการแข่งขันอย่างเท่าเทียม
ทั้งหมดนี้ย้ำว่าเป็น “Fact” ไม่ใช่ ”Opinion” นะครับ มีข้อมูลอ้างอิงทุกเนื้อหา รวมถึงประกาศคณะกรรมการกสทช. เรื่องแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่2 (พ.ศ.2563-2568) ฉบับปรับปรุง ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2566 (อ้างอิงเอกสาร) https://broadcast.nbtc.go.th/data/document/law/doc/th/660600000001.pdf
ท่านสามารถอ่าน #แผนแม่บทฯกสทช. ฉบับเต็มได้ที่… https://broadcast.nbtc.go.th/data/document/law/doc/th/661100000001.pdf
เรียนเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาครับ
หากมีประโยชน์ ฝากแชร์เพื่อให้สังคมทราบข้อมูลโดยทั่วถึงครับ
——————
ระวี ตะวันธรงค์
ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
08/02/68
โฆษณา