8 ก.พ. เวลา 14:18 • ไลฟ์สไตล์
ไม่ใช่การมโนที่สำคัญสำหรับการสื่อสาร แต่เป็นความรอบรู้ ละเอียดลออใส่ใจสารที่ รับ/ส่ง และผู้รับและส่งสาร ที่ทำให้เข้าใจการสื่อสารได้
การมโนมีแต่จะทำให้การสื่อสารพังครับ
เหมือนการเติมคำในช่องว่าง แม้สารไม่สมบูรณ์แต่เ้วยความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ ก็ทำให้เราเติมคำในช่องว่างจนเป็นประโยคสมบูรณ์ได้นั่นเอง
เพียงแต่ในโลกนอกห้องเรียน คำตอบที่ถูกต้องที่สุดไม่ได้มีเพียงคำตอบเดียว การเติมคำในช่องว่างของแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามความรู้ ประสบการณ์ และความละเอียดลออ
ในส่วนของฉากที่ยกตัวอย่างมานั้น ไม่เห็นอวจนภาษาประกอบ ไม่ทราบบริบทแวดล้อม แต่ก็อยากร่วมสนุก ผมขอตอบว่าเจรจาสำเร็จด้วยเหตุผลต่อไปนี้
  • 1.
    ​ซามูไรตอบว่าไม่อยากทำ ไม่ได้แปลว่าไม่ทำ การตอบเป็นการแสดงความไม่พอใจต่อขุนนางที่นำงานที่ไม่น่าทำมาให้
  • 2.
    ​ขุนนางขอบคุณและจากไปเพราะรู้ว่ารับคำแล้ว และซามูไรไม่พอใจ
  • 3.
    ​ซามูไรไม่ให้บอกใครว่ามาหา แม้จะยอมทำให้แต่ก็ไม่อยากเกี่ยวข้องด้วย จึงไม่ให้บอกใครว่าขุนนางมาหา
การตีความลักษณะนี้แม้คล้ายกับมโน เพราะต้องคิดเองโดยไม่มีคนบอกตรง ๆ แต่ก็ยืนยันว่าไม่ใช่ แต่คล้ายกับการเติมคำในช่องว่างในมิติที่ซับซ้อนกว่าข้อสอบมากกว่า
ถ้าเรียกการมโนว่า "เดา" การเติมคำในช่องว่างก็เทียบได้กับ "เดาอย่างมีหลักการ" แม้โดยภาษาจะเป็นการเดาเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกันครับ
โฆษณา