Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Is Life
•
ติดตาม
10 ก.พ. เวลา 01:00 • ข่าวรอบโลก
เศษซาก ธรรมชาติอันยับเยิน หลังสงครามฉนวนกาซาจบลง
ดินแดนปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา แม้จะมีขนาดเล็ก ทอดยาว 24 ไมล์ แต่ก็เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ
เป็นจุดรวมที่มีสัตว์ป่าจากยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกามาพบกัน
การศึกษาที่เพิ่งทำเสร็จในปี พ.ศ. 2562 นับนกได้มากกว่า 250 ชนิด และมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ร่วมๆ 100 ชนิด
มีทั้งแมวป่า หมาป่า ไปจนถึงพังพอน หนู และตุ่น
ก่อนจะมีสงครามเพิ่งมีการพบเห็นแมวน้ำเมดิเตอร์เรเนียนในทะเล
มีสมบัติทางนิเวศที่เรียกว่า Al-Mawasi เป็นนิเวศป่าทราย และพื้นที่ชุ่มน้ำ พบนกอาศัยอยู่ 135 ชนิด
หนึ่งในนั้นยังเป็นนกประจำชาติของปาเลสไตน์
แต่พลันเมื่อสงครามเริ่มต้น สิ่งต่างๆ ที่ว่ามาก็เริ่มสลายหายไป
ผลจากการศึกษาภาพถ่ายดาวเทียม เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2568 แสดงให้เห็นว่าต้นไม้ในกาซาสูญหายไป 80 เปอร์เซ็นต์
สาเหตุสองประการที่ทำให้ต้นไม้หายไป เกิดจากประชาชนที่อพยพออกจากพื้นที่ตัดต้นไม้เพื่อใช้เป็นฟืน
และกองทัพอิสราเอลโจมตีและถอนรากต้นไม้เพื่อกำจัดที่กำบังของกลุ่มฮามาส และเคลียร์พื้นที่กันชนด้านความปลอดภัยรอบขอบฉนวนกาซา
นักภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการการสำรวจระยะไกลและวิทยาศาสตร์ที่ดินที่มหาวิทยาลัย Kent State ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า การสูญเสียต้นไม้อาจส่งผลถาวร และเลวร้ายต่อคนรุ่นต่อไป
การถอนรากถอนโคนด้วยอุปกรณ์ทางทหาร ยังทำให้ดินชั้นบนเคลื่อนที่ และบางลง สามารถส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกในอนาคต และทำให้ดินเสี่ยงต่อการกลายเป็นทะเลทราย
ส่วนพื้นที่ทำเกษตรกรรมของชุมชนนั้นถูกทำลายไปมากกว่า 2,000 แห่ง
สงครามได้ทำลายแหล่งน้ำและโรงบำบัดน้ำเสียจนไม่สามารถบำบัดได้
ทำให้น้ำเสียไหลไปทั่วแผ่นดิน ส่งผลให้แหล่งน้ำใต้ดินซึ่งจำเป็นต่อการชลประทานพืชผลปนเปื้อน พื้นที่เกษตรกรรม
หลายทศวรรษที่ผ่านมาผู้คนต่างพึ่งพาน้ำใต้กินทั้งกินดื่มและใช้ทำเกษตรกรรม แต่ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ระยะหลังปริมาณน้ำใต้ดินจึงลดลง และน้ำเค็มจากเมดิเตอร์เรเนียนได้เข้ามาแทนที่
ทำให้ต้องงดการกินดื่ม น้ำบาดาลถูกจำกัดให้ใช้เฉพาะในการชลประทานพืชผลมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยแหล่งน้ำสาธารณะส่วนใหญ่มาจากโรงงานแยกเกลือออกจากน้ำทะเลที่สร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากนานาชาติ
แต่นับจากวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่สงครามปะทุขึ้น ปริมาณน้ำประปาก็ลดลงอย่างมาก โรงงานกำจัดเกลือไม่มีไฟฟ้าใช้ การบำบัดน้ำเสียก็หยุดลงเกือบทั้งหมด โดยสิ่งอำนวยความสะดวกถูกทำลายจากปฏิบัติการทางทหาร
และคาดว่ามีน้ำเสียรั่วไหลลงสู่พื้นดินและในแหล่งน้ำหรือทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมากถึง3.5 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
นอกจากนี้ UNEP ยังเตือนด้วยว่า ความพยายามของอิสราเอลในการใช้น้ำทะเลท่วมอุโมงค์ใต้ดินที่ฮามาสขุดไว้ใต้ฉนวนกาซา อาจส่งผลให้แหล่งน้ำใต้ดินปนเปื้อน
มีภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นกลุ่มน้ำเสียพวยพุ่งลงสู่ทะเลเป็นหลักฐานยืนยัน
หน่วยงานของสหประชาชาติประมาณการว่า สงครามได้สร้างเศษซากมากกว่า40 ล้านตัน ซึ่งประกอบไปด้วยร่างผู้เสียชีวิต แร่ใยหินและวัสดุอันตรายอื่นๆ วัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิด
ในขณะเดียวกัน การหยุดให้บริการจัดเก็บขยะ ทำให้มีหลุมฝังกลบขยะชั่วคราวเพิ่มขึ้น (นับได้ 141 แห่ง) ขณะที่การเผาขยะกลางแจ้งได้สร้างควันดำและมลพิษอันตราย
แน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ บรรดาสรรพสัตว์ต่างๆ ก็ได้รับไม่ต่างจากมนุษย์
สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายไป ส่งผลต่อข้อจำกัดการฟื้นฟู ขยายพันธุ์สัตว์ จากถิ่นที่อยู่ที่คับแคบลง และเป็นพิษมากขึ้น
โดยสมบัติทางนิเวศที่เรียกว่า Al-Mawasi ถูกทำลายจากการกลับลำของอิสราเอล ที่เคยลั่นวาจาว่าให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย แต่ก็ทำลายในที่สุด
สภาพเหลือเพียงหลุมอกาบาต
ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นมากจากการศึกษาทางไกลทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ยังมีความไม่ปลอดภัย (แม้จะหยุดยิงแล้ว)
อ้างอิง
Yale Environment 360 : As War Halts, the Environmental Devastation in Gaza Runs Deep
ความรู้รอบตัว
เรื่องเล่า
ข่าวรอบโลก
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย