Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Block ข่าวการทหาร
•
ติดตาม
10 ก.พ. เวลา 01:42 • ข่าวรอบโลก
รวมระบบอาวุธสหรัฐในปัจจุบัน ที่กองทัพไทยมีใช้ชาติเดียวใน ASEAN
⭐รถถังหลักแบบ M60 จำนวน 178 คัน
รถถังหลักแบบ M60 พร้อมด้วยปืนใหญ่ M68E1 ขนาด 105 มม. แบ่งเป็น M60A1 จำนวน 53 คัน และ M60A3 จำนวน 125 คัน ซึ่ง M60A3 จำนวน 38 คัน ได้รับการอัพเกรดใหม่ โดยโครงการปรับปรุงระบบเครื่องควบคุมการยิงรถถังหลัก M60A3 วงเงิน 1,642.75 ล้านบาท กับบริษัท Elbit Systems Land and C4I LTD. ประเทศอิสราเอล
m60a3
ซึ่งได้ทำการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพรถถัง M60A3 แบบเบ็ดเสร็จ เพื่อให้รถถัง M60A3 มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการทั้งกลางวัน และกลางคืน โดยการเปลี่ยนแปลงระบบหลักสองระบบของรถถัง M60A3 ได้แก่ ระบบควบคุมการยิงแบบเทอร์มอล (TIFCS) และระบบขับเคลื่อนรักษาระดับปืน และป้อมปืนด้วยไฟฟ้า (EGTDS) บนหลังคาป้อมปืนติดตั้งระบบ HMA (Head Mirror Assembly)
ซึ่งระบบเครื่องควบคุมการยิงเหล่านี้ อิสราเอลได้นำไปใช้ติดตั้งในรถถังรุ่นใหม่ Merkava Mk IV นอกจากนี้ยังมีระบบ Index Loader สำหรับการบรรจุกระสุน ทำให้พลบรรจุทำการบรรจุกระสุนได้ง่ายสะดวกรวดเร็วกว่าเดิม ในส่วนของปืนใหญ่ M68E1 ขนาด 105 มม. ได้มีการเปลี่ยนปลอกควบคุมอุณหภูมิแบบใหม่ด้วย ผลการทดสอบเป็นไปด้วยดี คือ รถถังหลัก M60A3 ที่ผ่านการปรับปรุงใหม่ มีความแม่นยำในการยิงสูงขึ้น.
m60a3
⭐รถถังเบาแบบ Textron Marine & Land Systems Commando Stingray จำนวน 106 คัน
สติงเรย์ (Stingray) หรืออีกชื่อ “คอมมานโด สติงเรย์ - Commando Stingray” เป็นรถถังเบา (Light Tank) ที่ผลิตโดยบริษัท Textron Marine & Land Systems (เดิมชื่อ Cadillac Gage) ของสหรัฐฯ
รถถังเบาชนิดนี้ ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้ชิ้นส่วนประกอบจากยานเกราะการรบแบบต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการลดต้นทุน โดยสติงเรย์เป็นโครงการร่วมทุนของเอกชน ที่มุ่งเป้าไปที่ต่างประเทศ และในปีพ.ศ. 2563 บริษัท Textron ยังคงจดทะเบียนชื่อ Stingray ไว้ และถูกส่งออกให้กองทัพบกไทย (RTA) ซึ่งเป็นผู้ใช้งานเพียงรายเดียวในโลก
สติงเรย์ได้รับการพัฒนาในช่วงทศวรรษที่ 1980s โดยเป็นโครงการร่วมลงทุนของเอกชน โดยบริษัท Cadillac Gage Textron ซึ่งรถต้นแบบคันแรก ได้สร้างเสร็จในปี 1985 (พ.ศ. 2528) ต่อมาในปีพ.ศ. 2531 กองทัพบกไทยได้สั่งซื้อรถถังเบาแบบสติงเรย์ เข้าประจำการจำนวน 106 คัน
stingray tank
โดยสัญญาดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ $150 million โดยบริษัท Cadillac Gage Textron ได้ให้ความช่วยเหลือในการซ่อมแซมบางส่วน หลังจากได้รับรายงานจากกองทัพบกไทยว่าตัวถังแตกร้าว จากการทดสอบ เพราะตอนทดสอบพลขับรถถังได้ทำการขับกระโดดข้ามเนินด้วยความเร็วสูง ทำให้เกราะหน้าเกิดรอยร้าว หลังจากนั้นบริษัทได้ทำการแก้ไข โดยย้ายตำแหน่งล้อกดสายพานใหม่ ทำให้ไม่เกิดปัญหาขึ้นอีก
โดย Stingray รุ่นแรก เป็นรุ่นดั้งเดิมที่กองทัพบกไทยใช้งาน มีปืนใหญ่ยาวขนาด 105 มม. ความเร็วในการขับเคลื่อน 44 ไมล์ต่อชั่วโมง (71 กิโลเมตร/ ชั่วโมง) เกรดสูงสุดคือ 60% ระยะแนวตั้งสูงสุดที่สามารถขยายได้คือ 2.7 ฟุต (82 เซนติเมตร) สามารถลุยน้ำได้ลึกถึง 3.5 ฟุต (107 เซนติเมตร) และสามารถขนส่งทางอากาศได้ด้วยเครื่องบินลำเลียงแบบ C-130
stingray tank rta
⭐ ยานเกราะพาหนะล้อยางบรรทุกทหารราบแบบ M1126 Infantry Carrier Vehicle (Stryker IVC 8x8) จำนวน 130 คัน วงเงิน 9,125 ล้านบาท
Stryker IVC 8x8
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 DSCA ได้ออกประกาศว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ได้ตัดสินใจอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายยานพาหนะบรรทุกทหารราบ Stryker จำนวน 60 คัน ในรูปแบบ Foreign Military Sale (FMS) ให้กับประเทศไทย พร้อมอุปกรณ์ และการสนับสนุน มูลค่าประมาณ 175 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (5,400 ล้านบาท)
Stryker IVC 8x8
โดยรัฐบาลไทย ได้ขอซื้อยานพาหนะขนส่งทหารราบสไตรเกอร์ (ICV) 60 คัน และปืนกลหนักขนาด 12.7 มม. แบบ M2 Flex .50 cal 60 กระบอก นอกจากนี้ ยังรวมถึงอะไหล่, รายการปัญหาพื้นฐาน (BII), ส่วนประกอบของรายการสุดท้าย (COEI), รายการที่ได้รับอนุญาตเพิ่มเติม (AAL), รายการเฉพาะสำหรับการดำเนินงาน และการบำรุงรักษา, เครื่องมือพิเศษ และอุปกรณ์ทดสอบ (STTE), คู่มือทางเทคนิค, การแยกกระบวนการของ OCONUS, การบริการ, เครื่องยิงลูกระเบิดควัน M6 (4 เครื่องต่อคัน) และอะไหล่ที่เกี่ยวข้อง,
กล้องขยายมุมมองเวลากลางคืนสถานีพลขับแบบ AN/VAS-5 Driver's Vision Enhancer (DVE), ระบบสื่อสารระหว่างยานพาหนะ AN/VIC-3, ผู้รับเหมาที่ให้การฝึกอบรม และตัวแทนบริการภาคสนาม (FSR) และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
AN/VAS-5 Driver's Vision Enhancer (DVE)
องค์ประกอบของโลจิสติกส์ และการสนับสนุนโปรแกรม ค่าใช้จ่ายรวมของโปรแกรมโดยประมาณอยู่ที่ $175 million ต่อมาในการจัดหาจริง กองทัพบกไทย ได้จัดหายานเกราะแบบ Stryker ทั้งหมด 3 ล็อต แบ่งเป็น ล็อตที่ 1 จัดหาในปีงบประมาณ 2562 รวมทั้งสิ้นจำนวน 70 คัน เป็นการจัดหาโดยใช้งบประมาณการของรัฐบาล วงเงิน 2,860 ล้านบาท จำนวน 37 คัน และจัดหาโดยใช้งบประมาณของกองทัพบกวงเงิน 850 ล้านบาท จำนวน 10 คัน รวมเป็นงบประมาณ 3,710 ล้านบาท รวมถึงการช่วยเหลือจากทางกองทัพสหรัฐฯ อีกจำนวน 23 คัน พร้อมระบบอาวุธ
Stryker IVC 8x8
ล็อตที่ 2 จัดหาในปีงบประมาณ 2563 รวมทั้งหมด 50 คัน วงเงิน 4,515 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่ได้ถูกเลื่อนหรือตัดงบประมาณออกไปเนื่องจากภาวะโควิด-19 และดำเนินการจัดหาต่อเนื่องในปีงบประมาณนี้ และล็อตที่ 3 จัดหาในปีงบประมาณ 2564 รวมทั้งหมด 10 คัน วงเงิน 900 ล้านบาท รวมการจัดหายานเกราะ Stryker ทั้งหมด 3 ล็อต 130 คัน (3 กองพันทหารราบยานเกราะ) คิดเป็นวงเงินรวม 9,125 ล้านบาท ($248 million) หรือ 70 ล้านบาทต่อคัน
⭐ ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้งลากจูงแบบ Rock Island Arsenal M198 ขนาด 155 มิลลิเมตร จำนวน 116 กระบอก
m198 howitzer
ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้งลากจูงแบบ Rock Island Arsenal M198 หรือปกค. 25 เป็นปืนใหญ่ขนาด 155 มม. ที่กองทัพบกไทย จัดหาเข้าประจำการที่หน่วยกองพันทหารปืนใหญ่ กองพลทหารปืนใหญ่ จำนวน 62 กระบอก เมื่อปีพ.ศ. 2525 เรียกว่าปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้งแบบ 25 (ปกค.๒๕) โดยนับเป็นปืนใหญ่ที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพบกไทยในยุคนั้น และทันสมัยที่สุดของกองทัพบกอาเซียน ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากในด้านอำนาจการยิงของปืนใหญ่สนามที่เหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม เป็นผลให้สถานการณ์ทางด้านชายแดนตะวันออก และอีสานใต้ดีขึ้นมาก
m198 howitzer
เนื่องจากสามารถต่อต้านปืนใหญ่ของฝ่ายรุกรานแบบ M-46 ขนาด 130 มิลลิเมตร ด้วยระยะยิงที่ไกลกว่า ซึ่งปืนใหญ่ M198 ของ พล.ป. ได้ปฏิบัติราชการสนามตั้งแต่ พ.ศ. 2527 - 2531 ตามแนวชายแดนของประเทศในเขตของกองทัพภาคที่ 1 และ กองทัพภาคที่ 2 ต่อมาได้ปรับโอนปืนใหญ่นี้ให้กับกองพันทหารปืนใหญ่ช่วยส่วนรวม ของกองพลทหารราบ
ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 กองทัพบกไทย ได้รับมอบปืนใหญ่ M198 เพิ่มเติมจำนวน 54 กระบอก ที่สั่งซื้อไปก่อนหน้า วงเงิน 850 ล้านบาท โดยได้ลำเลียงปืนใหญ่ทั้ง 54 กระบอก กระจายไปยังหน่วยรบในกองทัพภาคที่ 1 จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดชลบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี
โดยการจัดซื้อปืนใหญ่ M198 ในครั้งนี้ เพื่อทดแทนปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง M114 A1 ขนาด 155 มม.ที่ ใช้งานมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2503 ตามแผนพัฒนากองทัพบก
ในการปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ และเติมกำลังรบในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก โดยเป็นการจัดซื้อผ่านโครงการความช่วยเหลือทางทหาร Foreign Military Sale (FMS) ปืนใหญ่ M198 เป็นปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง รางปืนแบบแยกราง ยิงทีละนัด เครื่องลั่นไกชนิดดึงต่อเนื่อง เครื่องปิดท้ายแบบควงเกลียวเซาะร่อง เครื่องรับแรงสะท้อนถอยหลังแบบไฮโดรนิวเมติด (ของเหลวร่วมกับแก๊ส) ใช้ยิงโดยวิธีเล็งตรง และเล็งจำลองเคลื่อนที่ลากจูงไปด้วยรถยนต์บรรทุก 5 ตัน
m198 howitzer
⭐ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ Eurocopter UH-72 Lakota (ปัจจุบัน Airbus Helicopters) จำนวน 5 เครื่อง วงเงิน 2,400 ล้านบาท
UH 72 Lakota
ในเดือนตุลาคมปีพ.ศ. 2556 ครม. มีมติอนุมัติให้กองทัพบก จัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ UH-72 Lakota จำนวน 6 เครื่อง วงเงินรวม $77 million หรือ 2,400 ล้านบาท (ลำละ 400 ล้านบาท) ทั้งนี้ได้ประสบอุบัติเหตุตกจำนวน 1 เครื่อง ในเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2559 เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน
UH 72 Lakota
⭐เฮลิคอปเตอร์โจมตีเบา/ ลาดตระเวนติดอาวุธ (Light Attack/ Armed Reconnaissance Helicopter) แบบ Boeing AH-6i Little Bird จำนวน 8 เครื่อง วงเงิน 3,342 ล้านบาท
AH 6 i little bird
ในปีพ.ศ. 2562 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกเอกสารลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562 ยืนยันการอนุมัติขายเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ AH-6i ของบริษัท Boeing จำนวน 8 เครื่อง พร้อมอาวุธ และอุปกรณ์เสริมให้กับไทย รวมมูลค่า $400 million หรือประมาณ 12,000 ล้านบาท
โดยในสัญญาระบุว่า รัฐบาลไทยมีความต้องการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบด้วย
เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ AH-6i จำนวน 8 เครื่อง,
อาวุธนำวิถีอากาศสู่พื้นแบบ AGM-114R Hellfire จำนวน 50 ลูก
AGM-114R hellfire missile
จรวดที่ใช้กับระบบนำวิถีความแม่นยำสูงแบบ Advance Precision Kill Weapon System (APKWS) จำนวน 200 ลูก
Advance Precision Kill Weapon System (APKWS)
ระบบปืน M134 Minigun จำนวน 10 กระบอก
M134 Minigun
แท่นปล่อยอาวุธนำวิถีแบบ M299 Longbow Hellfire Launcher จำนวน 10 ชุด
M299 Longbow Hellfire
ระบบ AN/APN-209 Radar Altimeter จำนวน 10 ชุด
AN/APN-209 Radar Altimeter
ปืนกล GAU-19/B ขนาด .50 จำนวน 4 เครื่อง,
GAU-19/B .50 Cal
จรวด Hydra 70 จำนวน 500 ลูก
Hydra 70
ระบบนำทาง LN-251 Inertial Navigation System/Global Positioning System (EGI) จำนวน 10 ระบบ
LN-251 Inertial Navigation System/Global Positioning System (EGI)
กล้อง WESCAM MX-10Di จำนวน 8 ชุด
WESCAM MX-10Di
โดยสนนราคาทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เอกสารระบุว่า การขายอาวุธครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนนโยบายต่างประเทศ และเป้าหมายด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ผ่านทางการช่วยยกระดับความมั่นคงของพันธมิตรสำคัญที่ไม่ใช่ NATO ในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก โดยที่ไทยเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่มีพันธกิจในการส่งเสริมความมั่นคงของภูมิภาคดังกล่าว
นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ยังย้ำว่า การขายเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ AH-6i ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีของกองทัพไทย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันประเทศ และสกัดภัยคุกคามระดับภูมิภาค สัญญามูลค่า 3,342.58 ล้านบาท หรือ $103.77 million จากกองทัพบกไทย
สำหรับการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ AH-6i ถูกประกาศโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยกองทัพบกไทย เป็นลูกค้าส่งออกรายที่ 2 สำหรับเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ AH-6i โดยซาอุดีอาระเบียมีประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ AH-6SA (ตามการกำหนดแบบในประจำการของซาอุดีอาระเบีย) ในกองกำลังรักษาดินแดนของตน
ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ (ฮ.ลว./อว.๖) AH-6i สำหรับกองทัพบกไทย จะมีกำหนดการส่งมอบตามสัญญาในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568 โดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ยืนยันการขายเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ AH-6i จำนวน 8 เครื่อง แก่กองทัพบกไทย (RTA) โดยการแจ้งสัญญาที่เกี่ยวข้องได้ถูกเผยแพร่ในปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566
ซึ่งกองบัญชาการระบบอากาศนาวีของกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้เปิดเผยว่าตนได้ประกาศสัญญากับบริษัท BAE Systems เพื่อจะบูรณาการจรวดอากาศสู่พื้นนำวิถี APKWS (Advance Precision Kill Weapon System) ที่ถูกรวมในเอกสารแจ้งเดิมของสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ (Defense Security Cooperation Agency: DSCA)
โดยเป็นที่ยืนยันแล้วว่ากองทัพบกไทย จะนำเอาเฮลิคอปเตอร์โจมตีเบา/ ลาดตระเวนติดอาวุธ (Light Attack/ Armed Reconnaissance Helicopter) แบบ “Boeing AH-6i Little Bird” ทั้ง 8 เครื่อง มาทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบที่ 1 หรือ Bell AH-1F Cobra ทั้ง 7 เครื่อง ที่จะหมดอายุการใช้งานลง “เพื่อใช้งานทดแทนไปก่อน“หลังจากที่ก่อนหน้านี้ กองทัพบกไทยได้ตั้งโครงการที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ จำนวน 6 เครื่อง วงเงิน 8,800 ล้านบาท แต่ได้เปลี่ยนเป็นการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแทน
เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ AH-6i เหล่านี้ มอบขีดความสามารถในการลาดตระเวน และโจมตีเบาสำหรับการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดแก่หน่วยปฏิบัติการพิเศษ, หน่วยทหารราบยานเกราะล้อยาง Stryker และหน่วยป้องกันชายแดน ซึ่งกองทัพบกไทย ยังเป็นผู้ใช้งานส่งออกต่างประเทศรายแรกสำหรับยานเกราะล้อยางลำเลียงพลแบบ Stryker ICV 8x8 จำนวน 130 คัน ที่ประจำการ ณ กรมทหารราบที่ ๑๑๒ กองพลทหารราบที่ ๑๑
กรมทหารราบที่ ๑๑๒ กองพลทหารราบที่ ๑๑
โดยเป็นที่ยืนยันแล้วว่า เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ Boeing AH-6i ใหม่ของกองทัพบกไทย จะได้รับการติดตั้งจรวดนำวิถีแบบ AGR-20 Advanced Precision Kill Weapon System (APKWS) ด้วย
Boeing AH-6 เป็นชุดของเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธขนาดเล็ก ที่มีพื้นฐานมาจากตระกูล MH-6 Little Bird และ MD 500 พัฒนาโดย Boeing Rotorcraft Systems ซึ่งรวมถึงเครื่องสาธิต Unmanned Little Bird (ULB), เครื่องสาธิต A/MH-6X Mission Enhanced Little Bird (MELB), AH-6I และ AH-6S ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา บริษัท Boeing ผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์โจมตีเบา/ ลาดตระเวนติดอาวุธ (Light Attack/ Armed Reconnaissance Helicopter) แบบ “Boeing AH-6i Little Bird” ให้กับกองทัพบกไทย (Royal Thai Army: RTA)
ได้ประกาศว่า เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ AH-6i ของกองทัพบกไทย ได้ประสบความสำเร็จในการบินทดสอบครั้งแรกในเมือง Mesa รัฐ Arizona ก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 เฮลิคอปเตอร์ทั้ง 8 เครื่อง ได้ทำการสร้างขึ้นมาแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ
Ah6 little bird
เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธแบบ AH-6i ลำแรกของกองทัพบกไทย ได้ติดตั้งระบบกล้อง EO/IR แบบ WESCAM MX-10D จากบริษัท L3Harris เพื่อใช้สำหรับการกำหนดเป้าหมาย และกำหนดทิศทางทางอากาศ รวมทั้งการถ่ายภาพ/ วิดีโอทางอากาศทั้งกลางวัน และกลางคืน ด้วยความละเอียดระดับ HD
⭐ ปืนใหญ่เรือแบบ 5-inch/54-caliber Mark 45 Mod 2 ขนาด 127 มม. จำนวน 2 กระบอก
mk 45 mod 2 (RTN)
เป็นปืนใหญ่ขนาด 127 มม. ติดตั้งอยู่บนเรือหลวงนเรศวร (FFG-421) และเรือหลวงตากสิน (FFG-422) มีความสามารถในการระดมยิงชายฝั่งสูงกว่าปืนใหญ่เรือแบบอื่น ๆ ที่ประจำการอยู่ในกองทัพเรือ ASEAN
⭐ระบบแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแนวดิ่งแบบ Lockheed Martin Mark 41 Vertical Launching System (Mk 41 VLS) จำนวน 3 แท่น 24 ท่อยิง
MK-41 VLS ( HMS นเรศวร )
Mk 41 VLS เป็นระบบยิงขีปนาวุธแนวดิ่งจากเรือ ซึ่งให้ความสามารถในการยิงที่รวดเร็ว เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่ไม่เป็นมิตร โดยสามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น (ต่อต้านเรือ และโจมตีภาคพื้นดิน) รวมทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือดำน้ำ ซึ่งกองทัพเรือไทย มีระบบแท่นยิงแนวดิ่งแบบ Mk 41 VLS ติดตั้งอยู่บนเรือ 3 ลำ โดยติดตั้งลำละ 1 แท่น 8 ท่อยิง (cell) ได้แก่ เรือหลวงนเรศวร (FFG-421), เรือหลวงตากสิน (FFG-422) และเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (FFG-471) รวม 3 แท่น 24 ท่อยิง
MK-41 VLS
⭐ อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง (Medium Range Surface-to-Air Missile) แบบ Raytheon RIM-162B Evolved SeaSparrow Missile (ESSM) จำนวน 25 นัด (ทดสอบยิงไปแล้ว 3 นัด) วงเงิน 1,481 ล้านบาท
RIM 162 ESSM
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ RIM-162 Evolved SeaSparrow Missile (ESSM) ได้รับการพัฒนามาจากอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ RIM-7 Sea Sparrow ใช้เพื่อปกป้องเรือ รวมถึงกองเรือ จากการถูกจู่โจมทางอากาศอันได้แก่ เครื่องบินรบ, อากาศยานไร้คนขับ, เฮลิคอปเตอร์, ขีปนาวุธร่อน รวมไปถึงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ
ในปีพ.ศ. 2555 สหรัฐได้อนุมัติการขายอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ RIM-162 Evolved SeaSparrow Missile (RIM-162 ESSM) รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ชิ้นส่วน การฝึกอบรม และการสนับสนุนด้านลอจิสติกส์ให้กับรัฐบาลไทย โดยใช้วิธีความช่วยเหลือทางทหารแบบ Foreign Military Sales (FMS) หรือโครงการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เพื่อขายอาวุธให้กับประเทศพันธมิตร
โดยในสัญญานั้นประกอบไปด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ RIM-162 ESSM จำนวน 9 นัด, ชุดบรรจุอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ MK25 จำนวน 3 ชุด และชุดบรรจุสำหรับการขนส่ง MK783 จำนวน 4 ชุด รวมมูลค่าทั้งสิ้น $18 million (540 ล้านบาท)
โดยการขายในครั้งนี้ได้สร้างความสนใจให้กับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก ซึ่งใน ASEAN มีเพียงกองทัพเรือไทยเท่านั้น ที่เป็นผู้ใช้เพียงหนึ่งเดียว
และในปีพ.ศ. 2558 สหรัฐได้อนุมัติการขายอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ RIM-162 Evolved SeaSparrow Missile (RIM-162 ESSM) รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ชิ้นส่วน การฝึกอบรม และการสนับสนุนด้านลอจิสติกส์ให้กับรัฐบาลไทยอีกครั้ง โดยในสัญญานั้นประกอบไปด้วยอาวุธปล่อยแบบ RIM-162 ESSM จำนวน 16 นัด, ชุดบรรจุอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ MK25 จำนวน 3 ชุด และชุดบรรจุสำหรับการขนส่ง MK783 จำนวน 10 ชุด
รวมมูลค่าทั้งสิ้น $26.9 million (941 ล้านบาท) ซึ่งทำให้กองทัพเรือไทยได้ทำการจัดหา RIM-162 ESSM ทั้ง 2 ล็อต รวม 25 นัด มูลค่ารวม 1,481 ล้านบาท ($44.9 million) หรือนัดละประมาณ 50 กว่าล้านบาท
ซึ่ง RIM-162 ESSM นั้น ได้ติดตั้งอยู่บนเรือทั้ง 3 ลำของกองทัพเรือไทย คือเรือหลวงนเรศวร (FFG-421), เรือหลวงตากสิน (FFG-422) และเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (FFG-471) โดยเรือแต่ละลำ ติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่งแบบ Mk.41 VLS ลำละ 1 แท่นยิง ซึ่ง 1 แท่นยิงมี 8 ท่อยิง และ 1 ท่อยิง (cell) สามารถบรรจุอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ RIM-162 ESSM ได้ท่อยิงละ 4 นัด รวม 32 นัดต่อแท่นยิง
⭐ระบบป้องกันระยะประชิดแบบ Raytheon Mk. 15 Phalanx CIWS Block 1B ขนาด 20 มม./99 คาลิเบอร์ 6 ลำกล้องหมุน อัตราการยิง 4,500 นัดต่อนาที จำนวน 1 ระบบ
Phalanx CIWS block 1b
Phalanx CIWS เป็นระบบอาวุธป้องกันระยะประชิดที่ใช้ปืนกลอัตโนมัติ เพื่อปกป้องเรือรบโดยอัตโนมัติจากภัยคุกคามที่เข้ามา ได้แก่ เครื่องบิน, อากาศยานไร้คนขับ, เฮลิคอปเตอร์ รวมทั้งขีปนาวุธต่อต้านเรือ และเรือขนาดเล็ก โดยระบบ Phalanx สำหรับกองทัพเรือไทยนั้น ในอดีตเคยมีติดตั้งอยู่บนเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย จำนวน 2 ระบบ แต่ในปัจจุบัน ติดตั้งอยู่บนเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 1 ระบบเท่านั้น
Phalanx CIWS
⭐ เครื่องบินโจมตีใบพัด Turboprop แบบ Beechcraft AT-6TH Wolverine จำนวน 8 เครื่อง วงเงิน 4,314 ล้านบาท
AT-6 TH
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 บริษัท Textron Aviation Defense LLC สหรัฐฯ ประกาศลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึงการได้รับสัญญาวงเงิน 4,314 ล้านบาท ($143 million) จากกองทัพอากาศไทย สำหรับระบบบูรณาการในการสนับสนุนปฏิบัติการโจมตีเบา ฝูงบิน 411 กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการสั่งจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใบพัดแบบ Beechcraft AT-6 Wolverine จำนวน 8 เครื่อง โดยสัญญารวมไปถึง อุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน, ชิ้นส่วนอะไหล่, การฝึก และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่ง AT-6 จะมาแทนที่เครื่องบินขับไล่ และฝึกแบบ บ.ขฝ.๑ Aero L-39ZA/ART Albatros ที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน
สัญญาสำหรับ AT-6 ถูกกำหนดแบบเป็นเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Beechcraft AT-6TH ในไทย สนับสนุนวัตถุประสงค์การปรับปรุงความทันสมัย และความทำงานร่วมกันในแนวหน้าของความร่วมมือด้านกลาโหมร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และไทย สัญญายังส่งเสริมการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการบินของไทย ที่มีรายละเอียดในแผนนโยบายจัดหา และพัฒนา (Purchase and Development: P&D) ระยะ 10 ปีของกองทัพอากาศไทย
ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติของประเทศไทย โดยกองทัพอากาศไทย เป็นลูกค้าต่างชาติรายแรกต่อจากกองทัพอากาศสหรัฐที่ได้รับมอบ AT-6 เข้าประจำการ สำหรับกองทัพอากาศไทยนั้น มีสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการร่วมมือของอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด หรือ TAI รัฐวิสาหกิจของกองทัพอากาศ ซึ่งจะทำหน้าที่ประกอบชิ้นส่วนเครื่องบิน
การพัฒนาระบบ Avionic การบูรณาการณ์ระบบอาวุธ และการผลิตชิ้นส่วนบางส่วนจะดำเนินการโดยบริษัท RV Connex จำกัด ของไทย และพันธมิตรจากต่างประเทศ
ซึ่งคาดว่า AT-6TH จะได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ติดตามความร้อน/ เรดาร์แบบ Diehl IRIS-T (AIM-2000) ที่เป็นจรวดอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้มาตรฐานของกองทัพอากาศในปัจจุบัน
I RIS-T (AIM-2000)
ซึ่งจะถือเป็นครั้งแรกที่ AT-6 สามารถติดตั้ง IRIS-T ได้ และจะดำเนินการหลักโดย RV Connex ที่เคยร่วมบูรณาการณ์ติดตั้ง IRIS-T บน F-5TH มาก่อน
ทั้งนี้ AT-6TH จะใช้สถาปัตยกรรมระบบภารกิจแบบเดียวกับที่ติดตั้งบนเครื่องบินโจมตีแบบ A-10C Thunderbolt II
A-10C Thunderbolt II
และใช้ชุดเซนเซอร์ที่ปรับปรุงมาจากเครื่องบินลาดตระเวนหาข่าวแบบ MC-12W Liberty
MC-12W Liberty
ห้องนักบินคาดว่าจะร่วมออกแบบโดย CMC Electronic ซึ่งเป็น Partner กับ RV Connex ของไทยในการออกแบบห้องนักบินของ Alphajet มาก่อนแล้ว การจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา AT-6 ในครั้งนี้ เพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกขับไล่ไอพ่นแบบ L-39 ZA/ART Albatros ที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 25 ปี และได้ปลดประจำการแล้ว
AT-6 ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับภารกิจการโจมตีทางอากาศ ซึ่งตรงกับความต้องการของกองทัพอากาศ นอกจากนี้ยังสามารถสนับสนุนการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ ในการบินคุ้มกันเฮลิคอปเตอร์กู้ภัย เพื่อช่วยชีวิตนักบินที่ถูกยิงตกหรือค้นหาผู้ประสบภัยด้วยตัวเองจากกล้องมองภาพในเวลากลางคืนที่ติดมากับเครื่องบินได้ มีความคุ้มค่าในการซ่อมบำรุง และค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงาน
AT 6
AT-6 มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติภารกิจบริเวณแนวชายแดน ในการลาดตระเวนติดอาวุธ อีกทั้งเป็นเครื่องบินโจมตีเบา จึงมีความเหมาะสมกับการปฏิบัติการในยุคปัจจุบันมากขึ้นเนื่องด้วยภัยคุกคามหลัก ไม่ได้มีแต่การรบเต็มรูปแบบ แต่การเผชิญกับภัยจากยาเสพติด และกลุ่มติดอาวุธก่อการร้าย เป็นภัยคุกคามต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
เครื่องบินที่นำมาใช้จึงไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ต้องการเครื่องบินที่อยู่บนฟ้าได้นาน ๆ ความเร็วไม่สูงมาก และติดอาวุธได้เพียงพอต่อการโจมตีภาคพื้นดิน ทำให้ AT-6 ที่เป็นเครื่องบินโจมตีใบพัด มีค่าใช้จ่ายในการบินต่ำ ค่าเชื้อเพลิงประหยัด จึงเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่า และเหมาะสม
AT 6 (GBU-12)
⭐ เครื่องบินฝึกใบพัดแบบ Beechcraft T-6 Texan II จำนวน 12 เครื่อง วงเงิน 5,346 ล้านบาท
T-6C TH
ในปีพ.ศ. 2563 บริษัท Textron Aviation Defense สหรัฐ ประกาศลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563 ว่าได้รับสัญญามูลค่า $162 million (5,346 ล้านบาท) จากกองทัพอากาศไทย สำหรับการสั่งจัดหาเครื่องบินฝึกใบพัดแบบ Beechcraft T-6 Texan II จำนวน 12 เครื่อง
บริษัท Textron กล่าวว่า กองทัพอากาศไทย ได้ตัดสินใจจัดหาเครื่องบินฝึก T-6C Texan II ในฐานะส่วนหนึ่งของระบบการฝึกบูรณาการสำหรับโรงเรียนการบินกำแพงแสนของตน โดยเสริมอีกว่าสัญญายังรวมถึงระบบการฝึกภาคพื้นดินสำหรับนักบิน และช่างอากาศยาน, ระบบวางแผน และสรุปผลภารกิจ, ชิ้นส่วนอะไหล่ และอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน ซึ่งสัญญางานจะได้รับการดำเนินการผลิต/ ประกอบ ณ โรงงานอากาศยานของบริษัท Beechcraft ในเครือ Textron ในเมืองวิชิต้า รัฐแคนซัส สหรัฐฯ
T-6C
โดยการฝึกสำหรับนักบิน และช่างอากาศยานของกองทัพอากาศไทยมีกำหนดจะเริ่มต้นที่นี้ในปีพ.ศ. 2565 ซึ่งเครื่องบินฝึกใบพัด T-6C จำนวน 12 เครื่อง จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยภายใต้การกำหนดแบบว่าเครื่องบินฝึกแบบ T-6TH ถูกนำเข้าประจำการในช่วงปลายปีพ.ศ. 2565 ถึงต้นปีพ.ศ. 2566
"กองทัพอากาศไทยเป็นหนึ่งในกองทัพอากาศที่ก้าวหน้าที่สุดในเอเชียแปซิฟิก และเป็นพันธมิตรความมั่นคงหลักของสหรัฐฯ การจัดหาระบบการฝึกบูรณาการ Beechcraft T-6C Texan II ของพวกเขามอบอำนาจให้แก่ศิษย์การบินของพวกเขา ด้วยความได้เปรียบทางวิทยาการ ตลอดจนการฝึกบิน และการเตรียมการพวกเขา เพื่อการเปลี่ยนแบบอากาศยานไปสู่เครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้า และเครื่องบินโจมตีที่ประความสำเร็จ" Thomas Webster ผู้อำนวยฝ่ายขายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท Textron Aviation Defense กล่าว
ปัจจุบันเครื่องบินฝึก T-6 Texan II มีบันทึกชั่วโมงบินมากกว่า 4.1 ล้านชั่วโมงบินตลอดทั้งฝูงบินทั่วโลกเกือบ 1,000 เครื่อง แต่ละปีนักบินมากกว่า 300 นายจาก 42 ประเทศ ได้สำเร็จการฝึกจาก T-6 ผ่านโครงการฝึกบิน NATO ในแคนาดา, โครงการฝึกนักบินไอพ่นร่วม NATO ยุโรป (ENJJPT) ณ ฐานทัพอากาศ Sheppard AFB ในมลรัฐแท็กซัส และโครงการผู้นำการบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ
T-6C
#ทบ
#ทร
#ทอ
#กองทัพบก
#กองทัพเรือ
#กองทัพอากาศ
#กองทัพไทย
#กองทัพบกไทย
#กองทัพเรือไทย
#กองทัพอากาศไทย
#RTA
#RTN
#RTAF
#RTARF
#Army
#Navy
#AirForce
#RoyalThaiArmy
#RoyalThaiNavy
#RoyalThaiAirForce
#RoyalThaiArmedForces
ข่าวรอบโลก
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย