10 ก.พ. เวลา 11:16 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

กองทัพเรือไทย (Royal Thai Navy: RTN) จะจัดหาเครื่องบินลำเลียง เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือ

สำหรับนาวิกโยธินไทย จำนวน 2 เครื่อง
ในปีงบประมาณ 2568 วงเงิน 3,770 ล้านบาท ($110 million) โดยคาดว่าจะจัดหา Airbus C-295W แบบเดียวกันกับที่มีใช้ในกองทัพบกไทย (RTA)
สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ได้ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
รหัสแผนจัดซื้อจัดจ้าง P๖๗๑๑๐๐๑๖๘๓๒ ซึ่งเป็นโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียง สำหรับภารกิจการปฏิบัติการทางเรือ จำนวน 2 เครื่อง วงเงิน 3,770 ล้านบาท ($110 million) หรือเฉลี่ยลำละ 1,885 ล้านบาท ($55 million) ซึ่งคาดว่าจะประกาศจัดซื้อจัดจ้างได้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2568
การจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ในครั้งนี้ จะนำมาใช้ในภารกิจเครื่องบินลำเลียงที่ใช้ในทางยุทธการสนับสนุนภารกิจส่งทางอากาศของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และสามารถใช้ในทางธุรการได้ทั้งทางทหาร และพลเรือน โดยหลักสูตรส่งทางอากาศนาวิกโยธินไทยนั้น จะได้รับการสนับสนุนการฝึกโดดร่มจากเครื่องบินลำเลียงแบบ Fokker F-27 MK-400 จำนวน 2 เครื่อง ที่ประจำการอยู่ ณ ฝูงบิน 201, กองบิน 2, กองเรือยุทธการของกองทัพเรือไทย แต่เครื่องรุ่นนี้นั้น ได้เข้าประจำการมาตั้งแต่พ.ศ. 2530 และได้ปลดประจำการลงในช่วงสิ้นปีพ.ศ. 2566
Fokker F-27 MK-400
ที่ผ่านมา กองทัพเรือจึงต้องเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียง สำหรับการปฏิบัติการทางเรือ เพื่อสนับสนุนนาวิกโยธินไทย และนำมาใช้งานธุรการด้านอื่น ๆ
โดยนาวิกโยธินไทย ได้รับการสนับสนุนการฝึกโดดร่มจากเครื่องบินลำเลียงแบบ Airbus C295W ของกองทัพบกไทย (RTA) จึงเป็นไปได้สูงมากที่กองทัพเรือไทย จะเลือกเครื่องบินลำเลียงรุ่นนี้ เพราะกองทัพบกไทยเองก็มีประจำการแล้วจำนวน 3 เครื่อง และต้องการจัดหาอีก 1 เครื่อง หากกองทัพเรือไทยจัดหามา 2 เครื่อง รวม 2 เหล่าทัพก็จะมี 6 เครื่อง ทำให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงในประเทศไทย
Airbus C295W การฝึกโดดร่ม โดย นาวิกโยธินไทย
เนื่องจากบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด (Thai Aviation Industries: TAI) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับบริษัท Airbus ผู้ผลิต เพื่อสำรวจการพัฒนาขีดความสามารถ ด้านการให้บริการบำรุงรักษา ซ่อมแซม และยกเครื่องอากาศยาน (Maintenance, Repair and Overhaul หรือ MRO) สำหรับฝูงบินแอร์บัสของรัฐบาลในประเทศไทย
Airbus C295W
นอกจากนี้ในอนาคต เราอาจยังได้เห็น C295 MPA/ASW ในกองทัพเรือไทย โดยใช้สำหรับภารกิจเป็นเครื่องบินลาดตะเวนทางทะเล (Maritime Patrol Aircraft: MPA) และภารกิจในสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ และเรือผิวน้ำ (Anti-Submarine Warfare: ASW and Anti-Surface Warfare: ASuW)
Airbus C295 MPA drop mk 54
เนื่องจากกองทัพเรือไทยยังมีความต้องการในเครื่องบินประเภทนี้ เพื่อทดแทนเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล และปราบเรือดำน้ำแบบ P-3T Orion ที่ปลดประจำการไปจำนวน 3 เครื่อง ในปีพ.ศ. 2557
P-3T Orion RTN
🔻ข้อมูลทั่วไปของ Airbus C-295W
- ความจุ: ทหาร 71 นาย, เปลหาม 24 เตียง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์สูงสุด 7 คน, พาเลทขนาดมาตรฐาน 108 นิ้ว 5 พาเลท หรือยานพาหนะขนาดเล็กอย่าง Land Rover จำนวน 3 คัน
- ขนาดห้องโดยสาร: 12.69 × 1.90 × 2.70 เมตร (41.63 x 6.23 x 8.858 ฟุต)
- ความยาว: 24.50 เมตร (80 ฟุต)
- ความยาวปีก: 27.59 เมตร (91 ฟุต)
- ความสูง: 8.66 เมตร (28 ฟุต)
- น้ำหนักบรรทุกสูงสุด: 9,000 กิโลกรัม (19,842 ปอนด์)
- น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด: 23,200 กิโลกรัม (51,147 ปอนด์)
- น้ำหนักลงจอดสูงสุด: 23,200 กิโลกรัม (51,147 ปอนด์)
- ความจุน้ำมันเชื้อเพลิง: 7,500 ลิตร (2,000 แกลลอนสหรัฐฯ)
- ประเภทเครื่องยนต์: 2 x Pratt & Whitney Canada PW127G
- กำลังเครื่องยนต์: 2,645 แรงม้า (1,972 กิโลวัตต์)
🔻ประสิทธิภาพ
- ความเร็ว: 260 นอต หรือ 482 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (299 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- ระยะการบินสูงสุด: 5,750 กิโลเมตร (3,573 ไมล์)
- พิสัยบรรทุกขนาด 3,000 กิโลกรัม (6,614 ปอนด์): 5,000 กิโลเมตร (3,107 ไมล์)
- พิสัยบรรทุกขนาด 6,000 กิโลกรัม (13,228 ปอนด์): 3,704 กิโลเมตร (2,302 ไมล์)
- เพดานบินให้บริการ: 7,620 เมตร (25,000 ฟุต)
- เพดานบินสูงสุด: 9,145 เมตร (30,003 ฟุต)
- ระยะทางวิ่งขึ้น: 670 เมตร (2,198 ฟุต) ระดับน้ำทะเล, ISA
- ระยะลงจอด: 320 เมตร (1,050 ฟุต) ระดับน้ำทะเล, ISA
- จุดแข็งสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์: 6 จุด (3 จุด ใต้ปีกแต่ละข้าง)
- ความจุจุดแข็ง: ด้านในสุด 800 กิโลกรัม (1,764 ปอนด์), ตรงกลาง 500 กิโลกรัม (1,102 ปอนด์) และด้านนอกสุด 300 กิโลกรัม (661 ปอนด์)
#ทร
#กองทัพเรือ
#กองทัพเรือไทย
#RTN
#Navy
#RoyalThaiNavy
#เครื่องบินลำเลียง
#Airbus
#AirbusC295
#C295W
โฆษณา