12 ก.พ. เวลา 02:30 • ปรัชญา

ธรรมเริ่มจากใจ ไม่ต้องลึก ก็มีความสุขได้…

วันนี้วันพระ ก็ขอเขียนสักหน่อยแล้วกัน
ไม่ได้เขียนเรื่องพวกนี้มานานแล้ว
ไม่นานมานี้ เราคงเห็นข่าวกัน
ถึงการถกเถียงของฆราวาสที่สอนธรรมะ
กับบรรดาพระต่างๆ
แล้วก็ลามมาถึงบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ตั้งป้อมมาต่อว่ากัน
อวดโอ่ความเป็นผู้รู้ลึกในเชิงธรรมะกันผ่านสื่อ
หนักเข้า ถึงขั้นเป็นคดีความ ก่อนเงียบกันไปในที่สุด
งัดกัน ชั้นเชื่อถูก เธอเขื่อผิด จนหลังๆกลายเป็นไม่ถูกกันไปเลย
…ทำไมเป็นแบบนั้น ก็ชาวพุทธทั้งคู่ ตำราคนละเล่มงั้นเหรอ…
คำตอบคือ ความเชื่อตามลักษณะของเถรวาทนั้น
มีชื่อเรียกอีกแบบ ว่า อาจารวาท
หรือ เน้นการเชื่อตามคำสั่งสอนของอาจารย์มากจนเกินไป
ในลักษณะแบบนี้ สิ่งที่พึงกระทำอย่างการ ปุจฉา-วิสัชนา
เพื่อถกเถียงทางสู่ปัญญา จะถูกแปรเปลี่ยนเป็น
เพียงการถาม เพื่อให้ผู้เป็นอาจารย์ชี้ถูกชี้ผิด
แล้วก็เชื่อไปตามนั้น จนกลายเป็นความยึดติด
ตามความเชื่อจากการตีความของอาจารย์
มากกว่าจะนำมาตรองต่อด้วยเหตุผลของตนเอง
…เมื่อนับถือเป็นคำอาจารย์ ใครเถียงก็โกรธ ไม่ฟังเหตุผล…
…อีอาจารย์เองก็ช่างเถียงทั้งสองฝ่าย ทั้งพระทั้งฆราวาส…
…เถียงกันไป แขวะกันไป หนักๆก็หยาบคายไป…
…แล้วก็งัดเอาคำบาลียากๆ เท่ๆ มาอวดโอ่ตัวตนแข่งกัน…
…เนี่ยเหรอคนสอนธรรมะ คนฟังก็ยังจะเชื่อถือน่ะนะ…
…ดูๆ ก็ตลกดี ทั้งพระทั้งโยมนั่นแหละ…
ปัจจุบันสังคมมันวุ่นวาย คนเราจึงปฏิบัติธรรมกันมากขึ้น
หาครูบาอาจารย์มาสั่งสอนตัวเอง ไกลแสนไกลก็ไป
ด้วยเขื่อว่าสิ่งเหล่านั้น จะช่วยให้ตัวเองพ้นทุกข์ และบรรลุได้
แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ทำให้เราห่างไกล
จากธรรมมากขึ้นเสียมากกว่า
…ไกลความวิเวก จึงไกลการพิจารณาจิตใจตัวเอง…
…ก่อให้เกิดความอยาก ที่จะไปเข้าสังคม…
…ก่อให้เกิดความหลง หลงกับความคิดว่าตนมีความรู้
ในธรรมและหลงไปกับหน้าตาของการที่ถูกคนบอกว่า
เป็นคนธรรมะธัมโม ….
…มันเพื่ออะไร ใช่ในสิ่งสิ่งที่ศาสนาพุทธสอนงั้นเหรอ…
กลายเป็นว่ายิ่งปฏิบัติ ยิ่งเกิดอัตตา ว่าตนเหนือกว่าคนอื่น
…กลายเป็นคนใจแคบ มองคนไม่เป็นคนในที่สุด…
คนจำนวนมากเชื่อ และถูกสั่งสอนว่า
ธรรมจะรู้ได้ด้วยการปฏิบัติโดยเริ่มจากกายกรรม
จะนั่งสมาธิ เดินจงกรม ถือศีลหรืออะไรก็เถอะ
เรียกว่าใช้กายปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงสภาวะจิตทั้งนั้น
ทั้งที่ความจริงแล้ว มันไม่ควรเป็นแบบนั้น
ธรรมที่แท้ต้องเริ่มจากใจ จากมุมมองของเรานี่แหละ
เมื่อมุมมองเรารู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักยอมรับ ปล่อยวาง
นั่นแหละ คือเราเริ่มเข้าสู่สภาวะธรรมแล้ว
ประโยชน์อะไร ถ้าคุณจะไปนั่งสมาธิอย่างสงบนิ่งได้นานๆ
เพียงเพื่อออกมาหงุดหงิดกับสิ่งที่ต้องเจอในโลกความเป็นจริง
เพราะจิตคุณยังไม่ยอมรับอะไร ในสภาวะของโลก
และไม่มีประโยชน์ ถ้าคุณจะจดจ่อกับธรรม จนเสียความสามารถในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆในชีวิตอย่างเข้าใจ
จนกลายเป็นคนใจลอย เพ้อฝันกับสภาวะจากการปฎิบัติ
จนไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ในชีวิตจริง
…สุดท้าย คือแยกไม่ออกระหว่างโลก และโลกในอุดมคติ….
…สร้างปัญหาให้กับตัวเองและคนรอบตัว…
คนจำนวนมาก เพราะมีวิธีคิดแบบที่ว่ามาทั้งหมด
จึงกลายเป็นว่า การปฏิบัติธรรมนั้น
ไม่ได้ช่วยให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้นเลย
ว่าตรงๆ คนพวกนี้ทุกข์กว่าคนทั่วไปเสียด้วยซ้ำ
เพราะแน่นอนว่าในโลกโลกีย์แห่งความเป็นจริง
มันไม่มีอะไรที่เห็นแล้วเขารู้สึกว่าถูกต้องตามหลักธรรม
ด้วยจิตที่ไม่รู้จักปล่อยวาง ด้วยอัตตาว่าข้าเหนือกว่า
มันจึงทำให้พวกเขาไม่มีความสุข
ลองคิดใหม่ครับ กับธรรมง่ายๆแค่สี่คำ แล้วท่านจะมีความสุข
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
1
ธรรมง่ายๆ แค่นี้แหละ ท่านทำได้ รับรองว่ามีความสุข
ผมเชื่อว่าทุกท่านทราบว่าแปลว่าอะไร
มันตรงไปตรงมา ไม่ต้องไปตีความอะไรหรอก
เมื่อคุณมองคนอื่นด้วยความหวังดี เข้าใจ
รับได้กับสิ่งไม่ได้ดังใจ ไม่คาดหวัง คุณก็ย่อมมีความสุข
มันดีกว่าที่อยู่ๆจะไปท่องบาลียากๆ เคี่ยวกรำตัวเอง
กับสิ่งที่ไม่จำเป็นเลยในชีวิต
…เพียงเพื่อจะออกมานั่งมองโลกที่ไม่มีทางเป็นไปอย่าง
ที่ใจท่านต้องการทุกอย่าง ด้วยใจขุ่นมัว….
…ลองดูครับ….
ธรรมะก็เหมือนกับสิ่งอื่นๆ คือต้องมีพื้นฐานที่ดี
และไม่ควรลัดขั้นตอน
คนเราถ้ากับเรื่องง่ายๆ ยังละวางไม่ได้
จะไปเรียนธรรมะชั้นสูงเพื่อการหลุดพ้น มันเป็นไปไม่ได้หรอก
…ชีวิตไม่มีสุข จิตมันก็มีแต่ห่วง ไม่มีทางหลุดพ้น…
…แม้จะตายคาอาสนะนั่งสมาธิโดยนั่งท่องพุทโธก็ตาม….
โฆษณา