Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Principle4biz
•
ติดตาม
12 ก.พ. เวลา 04:53 • ธุรกิจ
BITCOIN มันจะกลายเป็นเงินจริงหรือ!
BICOIN จะเป็นอนาคต ที่มันจะเข้ามาทำหน้าที่ เป็นเงินให้เราใช้จ่ายกันได้จริงหรือไม่ !
ผมก็มีคำถามกับมัน โดยพยายามที่จะหาคำตอบในเรื่องอยู่เหมือนกัน
ในบทต้นๆของหนังสือก็พูดถึง การเกิดของมัน ว่ามาจาก Mr. Satoshi Nakamoto ในปี 2008 เขาได้ส่ง e-mail ถึงกลุ่มนักเข้ารหัส เพื่อประกาศว่าเขาได้สร้าง ระบบการเงินสดแบบใหม่ในรูป Electronic ที่เป็น Peer to peer (บุคคลถึงบุคคล) และ Bitcoin ก็ได้เกิดขึ้นบนโลกนี้ ในปี 2008 จากนั้นก็เจริญเติบโตขึ้นมา :
>Oct 2009 : Bit-coin มีมูลค่าเมื่อเทียบกับ USD : 1006 bit-coin : 1 USD
>June 2010 : มีคนนำเอาเงิน 10,000 Bit-coin ไปซื้อพิซ่าที่มีมูลเท่ากับ 25 USD.
นั้นก็เท่ากับว่า Bitcoin เกิดมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาถึง 40 % ได้ในช่วงเวลาแค่ไม่ถึง 1 ปี
(10,000 Bit-coin /25 USD = 400 bit-coin : 1 USD)
>Sep 2017 : มูลค่าของ Bi-coin ก็กลายเป็น 1 Bit-coin : 7000 USD ผ่านไป 7 ปี มันเติบโตอย่างมโหฬาร
คำถามที่สำคัญต่อจากนี้ ก็คือ
Q : ถ้าค่าเงิน USD มันตกต่ำลง แล้วมูลค่าของ Bitcoin จะเป็นอย่างไร !!!
พวกเขาสร้าง BITcoin จากอะไร ? เขาบอกว่า สร้างมันขึ้นมาโดยใช้พลังงานไฟฟ้า !!
Q : ถ้าอย่างนั้น คนที่มีพลังงานไฟฟ้าเยอะๆ ก็สามารถรวยได้ง่ายๆสิ !!
ผมจะยังตอบคำถามนี้ไม่ได้ แต่ขอนำเสนอแนวคิดของหนังสือเล่มนี้ ให้ศึกษากันครับ
เรากำลังพูดว่า Bitcoin ว่ากำลังจะกลายมาเป็นเงินสกุล มาให้เราใช้กัน !!
ก่อนที่เราจะมีเงินให้ใช้ซื้อของกัน เราใช้อะไรกันในอดีต
ในอดีตนั้น มนุษย์เราก็ไม่ได้มีเงินใช้กัน แต่เราใช้วิธีการแลกเปลี่ยนของกัน ที่เราเรียกว่า Barter
พูดง่ายๆว่า เราเอาของมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อตอบสนองกันแบบ บุคคลต่อบุคคล
แต่การเอาของมาแลกกัน มันจะมีข้อจำกัด ที่จะทำให้ไม่สะดวก ที่เราเรียกว่า ความไม่สอดคล้อง (Coincidence)
ซึ่งผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้สรุปเอาไว้ 4 ข้อ ที่ได้แก่ :
1.ความต้องการที่ไม่สอดคล้อง (Coincidence of wants) เช่น ผมมีเป็ด อยากเอาไปแลกเป็นไก่ เมื่อไปที่ตลาดแล้ว มีคนเอาไก่มาที่ตลาดเหมือนกัน แต่เขาต้องการเอาไก่มาแลกเป็นปลาเท่านั้น ซึ่งผมไม่มีปลา การแลกก็จะไม่เกิดขึ้น
2.ความไม่สอดคล้องในเชิงขนาดและปริมาณ (Coincidence of Scales) เข่น ผมมีบ้าน 2 หลัง อยากได้แค่รองเท้า 1 คู่ ถ้าจะเอาบ้านไปแลกเป็นรองเท้า ผมก็จะได้รองเท้าเป็น พันๆคู่เลย ซึ่อผมก็ไม่ได้มีความการรองเท้าเยอะขนาดนั้น
3.การขาดความสอดคล้องทางช่วงเวลา (coincidence in time fames) เช่น ถ้าผมอยากได้รถสักคัน ผมจะต้องใช้ทุเรียน 500 ลูกไปแลก แต่ผมผลิตทุเรียนได้ปีละ 100 ลูก ผมจะต้องเก็บสะสมทุเรียนถึง 5 ปี ซึ่งมันก็คงทำไม่ได้ เพราะทุเรียนที่เก็บไว้คงเสียไป ก่อนที่จะรวบรวมมันได้ครบ
4.การขาดความสอดคล้องทางสถานที่ (Coincidence of location) : ผมจะเอาบ้านไปแลกเป็นสิ่งของ แต่มีปัญหาคือ ผู้ที่รับแลกเปลี่ยน ไม่ต้องการบ้านที่อำเภอของผม แต่เขาต้องการให้ผมส่งมอบบ้านผม มาให้เขาที่อำเภอของเขา ซึ่งมันก็เป็นไปไม่ได้
เมื่อการแลกเปลี่ยน (Barter) มีข้อจำกัด !!
ดังนั้นมนุษย์จึงต้องหาของบ้างอย่าง ที่จะมาช่วยแก้ปัญหานี้ นั้นก็คือ ตัวกลาง ที่ถูกกำหนดค่าขึ้นมา
ที่ได้แก่ เปลือกหอย / ก้อนหินรูปร่างพิเศษ / โลหะต่างๆ (เงิน,ทอง และอื่นๆ) / ธนบัตร พวกมันได้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อ เอามาใช้แลกเปลี่ยนกับสิ่งของที่เราต้องการ แล้วเราก็เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า เงิน (Money)
แต่สิ่งจะเอามาทำเป็นเงินนั้น จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ที่เรียกว่า ศักยภาพในการแลกเปลี่ยน ที่ได้แก่
A.เชิงปริมาตร (Salability across scales) : สามารถแตกเป็นหน่วยย่อยๆ และก็รวบรวมกันหน่วยใหญ่ๆได้ง่าย
แน่นอน เปลือกหอย และก้อนหิน ย่อมไม่เหมาะสม ก็เหลือแต่ โลหะ และธนบัตร ที่ทำหน้าที่นี้ได้ดี
B.เชิงระยะทาง (Salability across space) : สามารถสะดวกที่จะพกพา
แน่นอน เปลือกหอยและก้อนหิน และโลหะ ย่อมไม่เหมะสม แต่ธนบัตรสามารถทำหน้าที่นี้ได้ดี
C.เชิงกาลเวลา (Salability across time) : มันจะไม่เสื่อมในมูลค่าไปตามกาลเวลา โดยง่าย และมันหมายถึง การที่มันสามารถ เก็บรักษามูลค่า เอาไว้ได้ดีแค่ไหน ซึ่งมีประเด็นเรื่อง Demand & supply เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
C1.แน่นอน เปลือกหอย และก้อนหิน และโลหะอื่นๆ ถ้าพวกมันสามารถหาได้ง่ายบนโลกนี้ ก็จะทำให้มูลค่าของมันลดลงไปโดยปริยาย (เข้ากฎของ Demand & Supply ) ซึ่งอย่างที่เรารู้กันว่า บนโลกนี้ เราก็เลิกใช้พวกมันเป็นตัวกลางไปนานแล้ว
C2. ในพวกโลหะนั้น มีที่ยกเว้น ก็คือ ทองคำ (Gold) เพราะมันเป็นแร่ธาตุที่หาได้ยาก แต่มันก็มีปริมาณที่มากพอที่จะนำมาใช้เป็นตัวกลางได้ มันจึงมีคุณสมบัตินี้
หมายเหตุ : ในกลุ่มโลหะนั้น มีกลุ่มแร่หายาก (Rare earth) ด้วย มันหาได้ยาก ซึ่งทำให้ปริมาณของมันก็น้อยเกินไป และมันมีประโยชน์ในเชิงอุตสหกรรมที่มากกว่า ที่จะเอาไปทำหน้าที่เป็น ตัวกลางในการแลกเปลี่ยน และการทำหน้าที่เชิงปริมาณก็ยาก เช่น การหลอมละลายให้เป็นรูปร่าง แต่ทองคำสามารถทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี
C3.แล้วธนบัตรล่ะ มันมีคุณสมบัตินี้ ได้ดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อถือของผู้ที่ออกธนบัตรนั้น แน่นอนวิธีการที่ดีที่สุด ที่จะทำให้ธนบัตรนั้นน่าเชื่อถือ ก็โดยเอาการออกธนบัตรนั้นมาผูกโยงกับทองคำในมือของผู้ออกธนบัตร
ดังนั้นเกือบทุกประเทศบนโลกนี้ ก็จะพิมพ์ธนบัตรออกมาตามมูลค่าทองคำที่ตัวเองถืออยู่ ก็เท่ากับ ปริมาณของธนบัตรนั้นก็อิงกับปริมาณทองคำนั้นล่ะ สรุปว่า ธนบัตรก็มีค่าเหมือนทองคำ
Extra topic : แล้วมีประเทศไหนที่พิมพ์ธนบัตร โดยไม่อ้างอิงปริมาณทองคำในมือ ? แล้วมูลค่าของธนบัตรของเขาเป็นอย่างไรบ้าง ?
มีประเทศหนึ่งที่พวกเราน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุด นั้นก็คือ สหรัฐอเมริก USA นั้นล่ะ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐกลายเป็นผู้นำโลก ที่มีอิทธิพลทางการทหาร และการเงิน ไปทั่วโลก จึงทำให้เขากล้าที่ออกนโยบายที่ท้าทายโลกออกมา โดยในปี 1971 ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐฯได้ออกมาประกาศยกเลิกการใช้ทองคำหนุนหลังธนบัตร (เท่ากับว่าจะพิมพ์เท่าไรก็ได้ ตามที่ต้องการ)
การพิมพ์ธนบัตร โดยไม่มีทองคำหนุนหลัง แล้วทำไมคนทั้งโลกถึงยังเชื่อมั่นใน USD !!
เพราะการทำแบบนั้น มันขัดกับหลักคิดในเรื่อง เชิงกาลเวลา ( Salability across time) : ความสามารถในการ เก็บรักษามูลค่าเอาไว้ได้ ภายใต้กฎของ Demand & Supply (เพราะถ้าพิมพ์มามาก เกินความต้องการของตลาด ก็เท่ากับเป็นการด้อยค่าเงินตัวเอง)
แต่เหตุผลที่ เงิน USD ยังคงเก็บรักษามูลค่าไว้ได้ ! ก็เพราะเขาสร้าง Demand เทียมขึ้นมา !!!
โดยสหรัฐได้ใช้อิทธิพลทำข้อตกลงกับกลุ่มประเทศโอเปกเมื่อปี 1971 ให้การซื้อขายน้ำมันโลกใช้เงินดอลลาร์เพียงสกุล เดียว เท่ากับทุกประเทศในโลกนี้ ที่ต้องการน้ำมัน จะต้องหาเงิน USD มาถือไว้ในมือ เอาไว้ซื้อน้ำมันมาใช้
และนี้จึงทำให้เงิน USD ยังคงมีความต้องการในตลาด (แต่มันเก็บรักษามูลค่าไว้ได้แค่ไหน มันคนละประเด็น)
นับจากนโยบายยกเลิกการใช้ทองคำหนุนหลังธนบัตร ถูกนำออกมาใช้ สหรัฐก็ค่อยๆสะสมปัญหาทางเศรษฐกิจขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้ !
>ในปี 2008 เกิดวิกฤติอสังหา (Subprime) แตกในสหรัฐ และ FED ก็ได้พิมพ์เงินดอลลาร์ ออกมาใช้มากกว่าระดับปกติถึง 3 เท่าตัว เพื่อเป็นเครื่องมือในการแทรกแซงเศรษฐกิจ เพราะรัฐบาลเองประสบปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถใช้นโยบายการคลังอุ้มได้แล้ว
>ในปี 2023 การใช้จ่ายที่เกินตัว จากการพิมพ์เงิน /ออกตราสารออกขายไปทั่วโลก จนเกิดหนี้สาธารณะขึ้นมากมาย (Public Debt) ในปี 2023 มีเท่ากับ 35 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 1,250 ล้านล้านบาท
(เยอะขนาดไหนก็ มากกว่า GDP สหรัฐอีก GDP ของเขาจะอยู่ที่ 27 ล้านล้านดอลลาร์ )
>หลายประเทศเริ่ม ลดการใช้ USD ลง (เท่ากับลดความเชื่อถือลงไปด้วย) เช่น กลุ่ม BRICS ก็ซื้อขายกันเอง ด้วย local Currency ถึง 65% แล้ว / ประเทศในกลุ่ม AEC หลายประเทศก็เริ่มใช้ Local Currency แล้ว แน่นอนอนาคตของ USD ดูไม่ค่อยจะดี
จากข้อมูลข้างบนนี้ น่าจะสรุปได้ว่า แนวคิดในการใช้ธนบัตรโดยไม่มีทองคำหนุนหลัง เป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะก่อให้เกิดการใช้จ่ายที่เกินตัว (เพราะเราพิมพ์เงินง่ายกว่า การหาทองคำนี่)
Conclusion : ศักยภาพในการแลกเปลี่ยน ทั้ง 3 ข้อ (A/B/C) นั้น ในปัจจุบันนี้ ทองคำ ดูจะเหมาสมที่สุด แต่มันจะยังคงเหมาะสมไปได้ถึงเมื่อไหร่ล่ะ
เพราะปริมาณทองคำที่หาได้ จะเพียงพอหรือไม่ เพราะว่า ปริมาณเงินตราก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นเข่นกัน ความสมดุลจะอยู่ตรงไหน ?
แล้ว Bitcoin จะเข้าแทนที่ทองคำ ด้วยคุณสมบัติอะไร ?
ผมคงต้องใช้เวลาอีกพักหนึ่งถึงจะเข้าใจ และตอบคำถามนี้ได้ครับ
ขอบคุณผู้เขียน The BITCOIN Standard by Saifedean Ammous
ขอบคุณผู้แปล คุณพิริยะ สัมพันธารักษ์ และ คุณพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว
ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
ความรู้รอบตัว
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย