Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธเนศเล่าขาน "ทานทางปัญญา"
•
ติดตาม
12 ก.พ. เวลา 10:25 • ประวัติศาสตร์
“หมอบรัดเลย์” แรกเห็นบางกอกสมัย ร.3 ทำไมถึงกับหดหู่ใจ?
-------------------
แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley) หรือ “หมอบรัดเลย์” มิชชันนารีชาวอเมริกัน เดินทางถึงบางกอกเมื่อ พ.ศ. 2378 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ช่วงแรกเขาพำนักที่บ้านของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้วัดเกาะ แถวสำเพ็ง ก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปอยู่แถวกุฎีจีน
เมื่อแรกสัมผัสผืนดินบางกอก หมอบรัดเลย์ได้บันทึกเล่าถึงสภาพแวดล้อมและบ้านเรือนที่พบเห็นไว้ดังนี้
“เช้าวันแรกข้าพเจ้าตื่นขึ้นในบางกอก ข้าพเจ้าเหลียวไปเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวแล้วอดที่จะรู้สึกสลดหดหู่ใจเสียมิได้ ข้าพเจ้านึกในใจว่าทิวทัศน์ธรรมชาติของที่นี่กับที่สิงคโปร์ช่างแตกต่างกันเหลือเกิน ที่พักของมิชชันนารีที่นี่ช่างซอมซ่อเมื่อเทียบกับบ้านอันน่าอยู่ที่เราเคยพักอาศัยบนเกาะงดงามนั้น และบ้านของบรรดาเพื่อนบ้านก็ล้วนดูสกปรกมอซอเสียนี่กระไร
ไม่มีอะไรที่มองดูรื่นรมย์เลยสักนิด เว้นแต่ภาพแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งถูกบดบังอยู่จนเห็นแต่เพียงนิดเดียว ถ้าไม่เดินออกไปดูตรงทางเท้าอันไม่ชวนเดินซึ่งทอดไปถึงแม่น้ำนั้น ไม่เห็นภูขาเลยแม้แต่น้อยไม่ว่าจะมองไปทางทิศใด
ที่ที่บ้านพักมิชชันนารีตั้งอยู่ เป็นที่ลุ่มมีน้ำขังเฉอะแฉะอยู่ท้ายตลาดใหญ่และดูจะเป็นส่วนที่ต่ำที่สุดในบริเวณนั้นจริงๆ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่แถบนั้นเป็นที่ที่กานับพันๆ ตัวมาเกาะนอนยามค่ำคืน เสียงร้อง “กากา-กากา” ที่มันร้องจ้อกแจ้กกันตอนเช้าตรู่และตอนพลบค่ำเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่เคยคิดฝันมาก่อนเลย...
ถ้ามีเพียงเสียงกาอย่างเดียวข้าพเจ้าคงพอจะอดทนไม่บ่นสักคำ แต่พอปนเปไปกับเสียงประดังกันอย่างไม่หยุดหย่อนของพวกจิ้งหรีด กบ เขียด เสียงเห่าหอนของสุนัข เสียงขู่ฟ่อของแมวแล้ว ข้าพเจ้าขอสารภาพว่าบ้านพักมิชชันนารีของเราออกจะเลวร้ายเต็มทนอยู่ชั่วระยะหนึ่ง”...
หากหมอบรัดเลย์ข้ามภพได้มาเห็นบางกอก(กรุงเทพฯในปัจจุบัน) จะหดหู่ใจ หรือตื่นตาตื่นใจกันแน่หนอ
ภายใน 1-2 สัปดาห์แรกที่หมอบรัดเลย์แรกเห็นบางกอก หมอบรัดเลย์และคณะได้จัดตั้ง “โอสถศาลา” ขึ้นในที่พักชั่วคราว และเปิดทำการ 2 ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึง 9 โมงเช้า และอีกช่วงคือตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม
ถึงจะเป็นการแพทย์แบบตะวันตกที่ชาวสยามส่วนมากไม่คุ้นชิน แต่ก็มีคนไข้มารับการรักษาแบบที่เรียกว่า “แน่นขนัด” ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก คนไข้มีจำนวนมากเสียจนหมอบรัดเลย์บันทึกว่า บางทีแค่ตอนเช้าวันเดียวต้องรักษาคนไข้มากกว่า 100 คน และในการรักษา หมอบรัดเลย์ได้มอบข้อความสั้นๆ จากพระคัมภีร์ให้คนไข้ด้วย
บันทึกของหมอบรัดเลย์อีกตอนเล่าว่า “ปีแรกที่ข้าพเจ้าอยู่ในสยาม โอสถศาลาของเรารักษาคนไข้มากกว่า 3,500 คน มีอายุตั้งแต่ 10 ขวบขึ้นไปจนถึงอายุ 100 ในสมุดที่ข้าพเจ้าลงรายการไว้มี 180 โรค โรคที่เป็นกันมากที่สุดได้แก่ โรคแผลเกี่ยวกับผิวหนัง รองลงมาคือโรคเกี่ยวกับตา”
แม้เมื่อแรกเดินทางถึงบางกอก หมอบรัดเลย์จะมองด้วย “แว่น” แบบชาวตะวันตก แต่ต่อมาเมื่อหมอ
บรัดเลย์ใช้ชีวิตอยู่ในสยามนานเข้าก็พยายามปรับตัวและทำความเข้าใจวิถีแบบชาวสยาม...
https://www.silpa-mag.com/history/article_148030
การศึกษา
ความรู้
เรื่องเล่า
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย