Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บันทึกของผู้หลงรักน้ำหมึก
•
ติดตาม
12 ก.พ. เวลา 14:56 • การศึกษา
วันนี้มานำเสนอแนวคิดการทำ แผนที่ความคิดแบบประเด็น (Bullet Point Mind Mapping)
แผนที่ความผิด (Mind Mapping) [*] นั้น ผมรู้จัก Mind Mapping มาตั้งแต่ช่วงเรียนอยู่มหาวิทยาลัยแห่งแรกตอนปี ๒ (ปี ๒๕๔๘) ตอนนั้นเป็นสิ่งที่ใหม่มาก ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก ผมรู้จักจากการซื้อหนังสือในร้านหนังสือ Se-Ed
.
ผมเป็นคนชอบทำ Mind Mapping มาก โดยใช้มือเขียนบนกระดาษ A4 สมัยก่อนยังไม่ค่อยมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยทำสักเท่าไร มีอยู่บ้างทั้งที่ไม่เสียเงินและที่เสียเงิน ที่ไม่เสียเงินก็เช่น โปรแกรม Free Mind, X-Mind (มีมาทีหลัง) ส่วนที่เสียเงินก็เช่น Mind Manager
.
Mind Mapping นั้น มุ่งเน้นการเขียนหรือวาดในรูปแบบแผนผังความสัมพันธ์ของคำสำคัญ (Keyword) โดยใช้เส้นเชื่อมความสัมพันธ์จากกึ่งกลาง แล้วแตกประเด็นกระจายออกเป็นรัศมี จากหัวข้อเรื่อง เป็นหัวข้อรอง และเป็นหัวข้อย่อย เป็นชั้น ๆ ออกไม่มีที่สิ้นสุด ให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ของคำสำคัญ ไม่จดเป็นย่อหน้า หรือข้อความยาว ๆ
.
ต่อมาผมประสบปัญหาว่า Mind Mapping ที่เขียนเองหรือที่วาดจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ จะได้ผลลัพท์เป็นไฟล์รูปภาพหรือไฟล์เอกสารอ่านอย่างเดียว (PDF) ทำให้มีปัญหาในการนำรูปมาใส่ในเอกสาร การจัดวาง ขนาดของไฟล์เอกสาร ขนาดพื้นที่การเก็บไฟล์เอกสาร และการจัดทำใช้ระยะเวลามาก ซึ่งผมจะชอบพิมพ์ หรือเขียน เป็นข้อความตัวอักษรมากกว่าการทำรูป ซึ่งใช้พื้นที่น้อยกว่า และมีปัญหาน้อยกว่า รวมทั้งมีความรวดเร็วในการจัดทำมากกว่า
.
ดังนั้น ผมจึงขอเสนอรูปแบบใหม่ โดยเรียกว่า แผนที่ความคิดแบบประเด็น (ฺBullet Point Mind Mapping) ซึ่งเป็นรูปแบบการเขียน Mind Mapping อย่างง่ายใช้เพียงตัวอักษรและสัญลักษณ์ โดยมีการใช้สัญลักษณ์เพียง ๒ ชนิด คือ ยัติภังค์ (-) และเครื่องหมายทับ (/) ดังนี้ (ตัวอย่างอยู่ด้านล่าง)
.
๑. กรอบแนวคิด (Concept) คือ ประเด็นหลักด้านซ้าย แตกประเด็นเป็นประเด็นย่อยด้านขวา หากมีหลายประเด็นให้คั่นด้วยเครื่องหมายทับ (/) หรือเครื่องหมายทับคู่ (//)
.
๒. ประเด็นหลักด้านซ้าย ให้เริ่มด้วยเครื่องหมาย ยัติภังค์ (-) แล้วตามด้วยชื่อประเด็นหลัก แล้วตามด้วยเครื่องหมายยัติภังค์ ๓ ขีด (- - -) ซึ่งเว้นวรรคระหว่างขีด แล้วตามด้วยประเด็นย่อยด้านขวา โดยยัติภังค์ ๓ ขีด เป็นเส้นแสดงความสัมพันธ์การแตกประเด็นจากประเด็นหลักเป็นประเด็นย่อย เช่น
- เนื้อสัตว์ - - - หมู/ เนื้อวัว/ ไก่
.
๓. หากประเด็นย่อยใดมีเครื่องหมายทับ (/) อยู่ในข้อความด้วย การคั่นระหว่างประเด็นย่อยให้ใช้เครื่องหมายทับคู่ (//) ทั้งประเด็นย่อยนั้น เช่น
- มาตราวิชาพยานที่น่าสนใจ - - - ม.๘๔// ม.๘๔/๑// ม.๙๕/๑
.
๔. หากต้องการขยายความประเด็นย่อยหรือแตกประเด็นย่อยออกไปอีก ให้นำประเด็นย่อยนั้นมาขึ้นเป็นประเด็นหลักอีกประเด็นหนึ่ง แล้วดำเนินการตามรูปแบบเดิม
.
ผมลองใช้เขียน Mind Mapping แล้วด้วยตนเอง รู้สึกทำง่าย ไม่ซับซ้อนหรือยุ่งยากมาก ลองใช้กันดูได้นะครับ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นำไปประยุกต์ใช้กับการเขียนในกระดาษ หรือพิมพ์โดยเครื่องพิมพ์ดีดก็ได้ครับ ส่วนผมนั้นใช้เป็นปกติในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และ Tablet ขอให้สนุกกับการทำ Mind Mapping ครับ
.
ตัวอย่าง
- ชาบูที่ผมกิน - - - น้ำซุป/ น้ำจิ้ม/ เนื้อสัตว์/ ผัก/ น้ำ/ ขนม/ ผลไม้/ ของกินเสริม/ ของทอด/ กินวันที่ เวลา สถานที่/ จัดทำ
- น้ำซุป - - - ดำ/ แต่มีใสกับต้มยำด้วย/ มาคนเดียวเลือกได้ ๑ ชนิด/ มา ๒ คนขึ้นไปเลือกได้ ๒ ชนิด
- น้ำจิ้ม - - - พอนสึ/ สุกี้/ งาญี่ปุ่น/ ผมกินทั้ง ๓ อย่าง
- เนื้อสัตว์ - - - เนื้อวัว/ หอยตลับ
- เนื้อวัว - - - เนื้อวัวนุ่ม/ เนื้อเซอร์ลอยน์ (Sirloin)/ เนื้อฮารามิ (Gyu Harami)
- ผัก - - - กะหล่ำปลีซอย/ ผักกว้างตุ้ง/ ผักบุ้งจีน
- น้ำ - - - พันซ์/ ฝรั่ง/ เอสโคล่า (ดำ)
- ขนม - - - สลัดผลไม้/ ไอศกรีม
- ผลไม้ - - - แตงโม/ สับปะรด
- ของกินเสริม - - - กิมจิ/ ปูอัด/ ยำสาหร่าย
- ของทอด - - - กุ้งทอดเทมปุระ/ ลูกชิ้นกุ้งทอด
- กินวันที่ เวลา สถานที่ - - - ๑๑ ก.พ. ๖๘/ ๑๘.๓๐ น./ Big C วงศ์สว่าง
- จัดทำ - - - ๑๒ ก.พ. ๖๘/ ๑๕.๐๕ น./ ร้านกาแฟ Nestcafe
- - - - - - - - - - - - - -
เชิงอรรถ
[*] มีผู้แปลเป็นภาษาไทยใช้หลายคำ เช่น แผนที่ความคิด, แผนผังความคิด, ผังความคิด, แผนภูมิความคิด
#แผนที่ความคิดแบบประเด็น
#BulletPointMindMapping
#Bullet_Point_Mind_Mapping
#MindMapping
เรื่องเล่า
ความรู้รอบตัว
ไลฟ์สไตล์
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย