12 ก.พ. เวลา 17:04 • บันเทิง

ว่าด้วยเรื่องการวางแผน

ทุกคนคิดว่าตัวเองวางแผนเพื่ออนาคต แต่หลายครั้งเราแค่คาดหวังในอนาคต เรามองเห็นภาพอนาคตที่สดใสทุกอย่างเป็นไปตามคาด แต่มองข้ามสิ่งที่จะขัดขวางแผนเรา ลืมเป้าหมายย่อยๆที่ช่วยให้เราปรับตัวเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ลืมมองตัวเลือกอื่นๆ ทำให้แผนใช้งานไม่ได้ และไม่สามารถปรับตัวเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง
เพื่อสร้างแผนที่ใช้งานได้จริง ผมจะเล่าเรื่อง แผนดูแลขบวนกีฬาสีที่ผิดพลาดของผม
และวิเคราะห์สิ่งที่ผมควรทำรวมถึงแก่นของการวางแผน เพื่อให้แผนของพวกเราในอนาคตประสบความสำเร็จ
เก็บข้อมูล:เราต้องรู้ว่าเราต้องการทำอะไร และต้องรู้อะไรบ้างทำให้วางแผนได้ดี โดยข้อมูลที่รับมาต้องชัดเจน ครอบคลุม เจาะจง
อย่าหาทำตาม : วันที่ 7/1/25 ช่วงบ่าย ผมเช็คขวดแอมโมเนียและจำนวนไม้สำลีที่เหลือ จากนั้นผมถามเพื่อนถึงจำนวนคนลงขบวนพรุ่งนี้ เพื่อเช็คว่าไม้สำลีเพียงพอไหม เพื่อนตอบ 67 คน ผมตอบน่าจะพอ(ไม้สำลีเหลือ 46) แต่ผมไม่ได้ถามจำนวนคนที่น่าจะต้องใช้ไม้สำลีชุบแอมโมเนีย ซึ่งมีคนเตรียมลงขบวนทั้งคืนและไม่ได้นอนกว่า 43 คน
ต่อมาผมถามหารูปขบวนเพื่อนตอน 22:41 น. ของคืนนั้น เพื่อใช้วางตำแหน่งสวัสดิการ ซึ่งการที่ไม่มีข้อมูล กำหนดการ จุดพัก เส้นทางการเดินขบวน ทำให้ผมมองไม่เห็นข้อจำกัดและวางแผนไม่สมบูรณ์
ทำสิ่งนี้ : ผมควรรู้ตัวเองว่ามีเป้าหมายที่จะดูแลคนในขบวนให้เดินต่อได้โดยไม่กังวล เมื่อมีอาการกระหายน้ำ หรือหน้ามืดจะต้องมีสตาฟช่วยเหลือทันที จากนั้นผมต้องถามตัวเองว่า “ผมต้องรู้อะไรในการวางแผน?” ผมจะได้คำตอบดังนี้ รูปขบวน จำนวนคน เส้นทางการเดินขบวน จุดพัก กำหนดการเดินขบวน จำนวนน้ำที่เหลือ ไม้สำลีชุบแอมโมเนีย ยาอื่นๆ จากนั้นค่อยเริ่มถามข้อมูลขบวนจากเพื่อน เช็คเสบียง ดูรูปขบวนของจริง ทำให้พร้อมวางแผน
## ตั้งเป้าหมาย:
เราต้องมีเป้าหมายมากกว่า 1 แบบเพื่อให้เราคิดได้หลายวิธีและประเมินแต่ละวิธี
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมาย : ณ ห้างแห่งหนึ่ง มีการเก็บข้อมูลและพบว่า ลูกค้าที่ต่อแถวนานจะเริ่มเบื่อและลดของที่จะซือหรือยกเลิกการซื้อของ ทางห้างเลยมีเป้าหมายที่จะทำให้ลูกค้าต่อแถวได้เร็วขึ้น เพิ่มจำนวนช่องชำระสินค้า เปลี่ยนรุ่นเครื่องคิดเงินหวังให้คิดเงินเร็วขึ้น
,แต่คุณรู้ไหมว่า หากคุณตั้งเป้าหมายเป็นแก้เบื่อให้ลูกค้า คุณจะได้วิธีแก้ปัญหาง่ายๆ เช่น ติดตั้งทีวีเปิดรายการให้ลูกค้าดูแก้เบื่อ จัดพรีเซนต์สินค้าที่น่าสนใจ นอกจากทำการโฆษณาแล้วยังแก้เบื่อให้ลูกค้าได้ นั่นคือผลลัพธ์ของการตั้งเป้าหมาย
---
อย่าหาทำ : ผมตั้งเป้าหมายให้สวัสดิการต้องสามารถช่วยเหลือคนในขบวนได้ทันที ทำให้ผมคิดได้แต่วิธีการที่กระจายคนให้ครอบคลุมขบวนโดยที่ให้สวัสดิการแต่ละคนพกไม้สำลีจุ่มแอมโมเนียบรรจุในถุงซิปล็อกและให้พกถุงพลาสติกใส่น้ำคนละ 3-4แก้ว โดยที่เสบียงจำพวกน้ำ ยาปฐมพยาบาลต้องเคลื่อนที่อยู่กลางขบวนเพื่อให้สตาฟที่อยู่ต้นและท้ายขบวนเติมเสบียงได้ง่าย
หาทำ : คุณต้องมีเป้าหมายใหญ่มากกว่า 1 ทางเพื่่อหามากกว่า 1 วิธี เพื่อนผมรู้รูปขบวน เส้นทาง กำหนดการ จึงมองว่าเราไม่จำเป็นต้องให้สตาฟประกบซ้ายขวากระจายทั่วขบวน และวางเป้าหมายให้สตาฟพร้อมใช้งานเมื่อจำเป็น ทำให้สตาฟเราเดินประกบขบวนฝั่งเดียวกระจายทั่วขบวน กระติกน้ำให้เคลื่อนตามขบวนอยู่ตรงกลาง กล่องปฐมพยาบาลอยู่ข้างหน้า
เป้าหมายที่เปลี่ยนไปทำให้วิธีการเปลี่ยนแปลง การมีเป้าหมายที่มากจะทำให้คิดได้หลายวิธี
## ระบายไอเดีย :
อย่าหาทำ :
หลังจากที่ผมได้รูปขบวน ผมใช้เวลาคิดอีกนาน หมกมุ่นกับไอเดียในหัวตัวเองที่อยู่ในสภาพอ่อนล้าและอยากนอนเมื่อได้ไอเดียสมบูรณ์ ผมสรุปลงในรูปขบวน ตอน 0:10 ของวันที่ 8 แผนของผม “ เหมือนจะดี “แต่ยังมีปัญหาอื่นๆที่ทำให้แผนใช้การไม่ได้
หาทำ : ระบายไอเดียที่คิดออกมา เมื่อคุณเขียนหรือพูด ความคิดที่มองไม่เห็นจะชัดเจน จากนั้นคุณต้องจินตนาการว่าเมื่อใช้งานจริงๆจะเกิดอะไรขึ้น อย่างสมจริง จะทำให้เรามองเห็นจุดอ่อนในไอเดียตัวเองและสามารถหาตัวเลือกอื่นที่แก้จุดอ่อน
เช่น ผมอยากให้สวัสดิการพกถุงพลาสติกใส่แก้วบรรจุน้ำ คนละ 3-4 แก้ว เมื่อคนขบวนต้องการน้ำ จะได้ขอจากสวัสดิการใกล้ๆ ทีนี้เมื่อจินตนาการต่อไปจะเกิดคำถามว่า หลังจากดื่มน้ำแล้วจะทิ้งยังไง ? เบื้องต้นสามารถทิ้งใส่ถุงเดียวกันที่เอาน้ำออกมา แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นจะใส่น้ำเพิ่มไปยังไง มันจะทำให้ผมรู้ตัวว่า ผมต้องมีถุงขยะ ที่สวัสดิการสามารถทิ้งขยะและเติมน้ำกลับถุงตัวเองได้
## ขั้นตอนแยกย่อย:
ก่อนนอนผมได้แผนว่า จะให้สวัสดิการทุกคน มารับซองซิปล็อกบรรจุสำลีชุบแอมโมเนีย ถุงพลาสติกใส่แก้วบรรจุน้ำ3-4แก้วต่อถุง และประจำตำแหน่งที่ขบวนแบบสลับฟันปลาเพื่อดูแลได้ทั่ว ตั้งกระติกน้ำเคลื่อนที่กับกล่องพยาบาลไว้ที่กลางขบวน
จากนั้นผมเข้านอนและผมตื่นสาย ทำให้ไม่ได้เตรียมตัว สุดท้ายได้มาเห็นกับตาตัวเองว่า ตำแหน่งสวัสดิการที่ผมวางแผนไว้ ยากที่จะทำได้ เพราะความแคบของที่เดินและความจำเป็นของแผนผมหายไปเพราะ เริ่มเดินขบวนตั้งแต่เช้าตอนที่แดดยังไม่ลง ทำให้ไม่มีใครเป็นลมแดดต้องหามส่งห้องพยาบาลแบบที่ผมคาดไว้ จุดพักขบวนเป็นจุดที่หลบแดด สวัสดิการเดินตามขบวนในแนวเดียวกันโดยพกกระติกเล็กที่สะดวกเคลื่อนที่ตาม และเติมเสบียงจากกระติกใหญ่ที่วางดักขบวนไว้แทน สรุปก็คือ แผนผมไม่ได้ใช้งานเลยล้มเหลว
ควรหาทำ : คุณต้องรู้ขั้นตอนย่อยๆก่อนที่จะถึงผลลัพธ์ที่คาดหวัง เพื่อไม่ประมาทแบบผม ต้องทำอะไร ตอนไหน ทำนานแค่ไหน ถ้าผมเตรียมข้อมูลเสร็จแต่บ่ายผมสามารถวางแผนเสร็จก่อน 2ทุ่มและไม่นอนดึก ทำให้ตื่นเช้าพอที่จะเตรียมตัวและสามารถใช้แผนการบางส่วนได้
## ปรับตัว
แผนการเป็นการคาดการณ์ที่มีตัวแปรคงที่ ผิดกับชีวิตจริงที่มีความไม่แน่นอน เมื่อเกิดเหตุทำให้ไม่สามารถทำตามแผนได้ ผมแนะนำ 2 สิ่ง 1 เปลี่ยนวิธีการแต่เป้าหมายเหมือนเดิม โดยที่คุณต้องรู้เป้าหมายว่าเปลี่ยนเพื่ออะไรทำให้ปรับตัวได้ง่าย เช่น ไม้สำลีชุบแอมโมเนียไม่พอแต่มีเป้าหมายให้พร้อมดูแลคนหน้ามืด จึงต้องเอายาดมหงส์ไทยทดแทน เพื่อลดการใช้แอมโมเนีย และยาดมหงส์ไทยใช้งานกับขบวนส่วนที่ จัดการง่าย ยืนกระจายกัน ทำให้ยาดม 1 ขวดสามารถดูแลคนได้ 5-6 คน
2 เปลี่ยนเป้าหมาย ถ้าผมมีเป้าหมายการดูแลตลอดรอดฝั่ง ไม่แปลกถ้าผมจะมีรูปแบบการเดินประกบ สลับฟันปลาและพกถุงน้ำกับซองแอมโมเนียไป แต่ถ้าเปลี่ยนเป้าหมายเป็น ดูแลแค่เฉพาะที่จำเป็น จะทำให้ได้รูปแบบที่เพื่อนผมใช้งานในวันจริง
## สรุป
การวางแผนที่ดี เริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลที่จำเป็น วางเป้าหมายที่ดี ทั้งขนาดใหญ่สุดและแยกย่อยโดยเป้าหมายควรมีมากกว่า 1 เพื่อคิดวิธีจัดการมากกว่า 1 วิธี เมื่อได้วิธีการคุณต้องจินตนาการถึงการใช้งานจริงโดยละเอียดเพื่อมองหาจุดอ่อนในวิธีการและแก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้น ควรวางแผนสำรองเพราะสถานการณ์จะไม่เป็นไปดั่งคาดหวังแน่นอนและเตรียมใจที่จะปรับตัวต่อสถานการณ์ที่พังแผนคุณทุกอย่าง ด้วยการเปลี่ยนเป้าหมายหรือไม่ก็เปลี่ยนวิธีการ
โฆษณา