Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
14 ก.พ. เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
ประดู่แดง บานเด่นเต็มต้น
ประดู่แดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-12 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เรือนยอดแผ่กว้างกิ่งลู่ลง
เป็นไม้ผลัดใบ ใบเป็นรูปมนรีออกเป็นคู่ สลับกันตามลำต้นลักษณะของใบปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีสีเขียว
ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสีแดงสดดอกจะบานไม่พร้อมกัน จะทยอยกันบานไล่ขึ้นไปตั้งแต่โคนก้านช่อจนถึงปลายช่อ เวลาบานจะแดงสะพรั่งทั้งต้น เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อยเมล็ดแบนมีถิ่นกำเนิดในประเทศกัวเตมาลา ทวีปอเมริกาใต้
ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งเป็นกระจุก 3-5 ช่อ กลีบเลี้ยงสีแดง ดอกสีแดงเข้ม ออกดอกเดือน มกราคม- กุมภาพันธ์
ผล เป็นฝักแบนรูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย เมล็ดแบน
ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สูงประมาณ 20 เมตร ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำและความชื้นน้อย ชอบดินร่วนซุยระบายน้ำได้
ประโยชน์
- เปลือกต้นมีรสฝาดจัด มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย
- แก่นเนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้เสมหะ
- รากใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษไข้
- ใบนำมาตากแห้งใช้ชงกับน้ำร้อนเป็นชาใบประดู่ นำมาดื่มจะช่วยบรรเทาอาการระคายคอได้
- ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง
- ยางไม้ประดู่มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “Gum Kino” สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสียได้
- ไม้ประดู่เป็นไม้ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป
ที่มา : สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 นครสวรรค์
#ประดู่แดง #กรมอุทยานแห่งชาติ
ดอกไม้
อุทยานแห่งชาติ
ธรรมชาติ
บันทึก
5
2
5
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย