Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
B
Benjamin Jaris
•
ติดตาม
15 ก.พ. เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
หลวงพ่อแขก และรูปปั้นสมเด็จองค์ใหญ่ที่หายไป
เมื่อเข้าไปในอุทยานเขามอ วัดประยุรวงศาวาส เราจะได้เห็นมณฑปทรงโกธิคประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ภายใน
เป็นพระพุทธรูปปางประทับนั่งห้อยพระบาท บางคนก็สันนิษฐานว่าเป็นปางปฐมเทศนา บางคนก็สันนิษฐานว่าเป็นปางป่าเลไลยก์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้พอกทับรูปปั้นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)” หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ผู้ก่อสร้างวัดประยุรวงศาวาส
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
แล้วรูปปั้นสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่นั้นมีที่มาอย่างไร? จารึกด้านหลังหลวงพ่อแขกระบุไว้ว่า
Sacred in the memory of Somdech Chao Phya Parama Maha Payurawongse, the great erected in filing piety by Phya Bashkarawongse 1886
จารึกมณฑปโกธิค
จากจารึกนี้ สรุปได้ว่า เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ผู้เป็นบุตรคนเด็จของสมเด็จเจ้าพระยา เป็นผู้สร้างรูปปั้นนี้ เมื่อครั้งบูรณะปฏิสังขรณ์วัดประยูรในปี ค.ศ.1885-1886
รูปปั้นสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในมณฑปโกธิคนานถึง 4 ทศวรรษ ก่อนที่เจ้าจอมเลียมในรัชกาลที่ 5 ได้ชักชวนญาติพี่น้องในสกุลบุนนาคได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปศิลปะคันธาระหุ้มรูปปั้นสมเด็จเจ้าพระยาไว้ ในปี ค.ศ.1927 ภาพของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ จึงปรากฏเพียงแค่ภาพวาดครึ่งตัวแบบ 2 มิติเท่านั้น
เจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ 5
ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างใหม่นั้น ด้วยลักษณะหน้าตาคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปศิลปะแบบคันธาระที่พบในอินเดีย พระพุทธรูปนี้จึงมีชื่อว่า “หลวงพ่อแขก” จนถึงปัจจุบัน
ที่มา
-
https://www.watprayoon.com/main.php?url=news_view&id=3243&cat=A&table=news
-
https://mgronline.com/dhamma/detail/9560000052689
-
https://aongsiri15.wixsite.com/my-site/อ-ทยานเขามอ
-
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=nontree&month=02-2014&date=13&group=15&gblog=266
และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สูรยวงศ์ บุนนาค
กรุงเทพมหานคร
ฝั่งธนบุรี
พระพุทธรูป
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย