14 ก.พ. เวลา 13:52 • ครอบครัว & เด็ก

“กราบไหว้พระพุทธรูป ผิดมั้ย..”

หลายคนบอกว่า ศาสนาพุทธห้ามไหว้รูปเคารพ.. และไม่สร้างพระพุทธรูป.. การสร้างพระพุทธรูปมาจากวัฒนธรรมกรีก หลังปรินิพพานหลายร้อยปี..
ในพระไตรปิฏกกล่าวว่า..
“เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านสอนว่า ให้นับถือ เชื่อฟัง และเคารพ ปฏิบัติตามพระธรรม และพระวินัยแทนองค์ท่าน”
ท่านบอกว่า.. ไม่มีพระผู้สร้าง ผู้ทำลาย มีแต่ธรรมชาติ.. เทพเจ้า สิ่งศักดิ์ไม่ใช่ที่พึ่ง..
มีเพียงพระรัตนตรัยเท่านั้น.. ที่ประเสริฐสุด เหมาะที่จะเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก..
ท่านไม่ได้สอนว่า ให้สร้างให้กราบไหว้พระพุทธรูป.. และไม่สั่งห้ามปั้นพระพุทธรูปใดๆ..
เข้าใจว่า เป็นความเชื่อในศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ที่ห้ามไหว้รูปปั้น รูปเคารพ..
แต่น่าแปลกที่ในพระไตรปิฏกหลายแห่ง ปรากฎคำว่า “พระปฏิมา” และ “เรือนพระปฏิมา”..
ราวกับว่า ในยุคพระพุทธเจ้า ก็มีการสร้างพระพุทธรูปบูชาอยู่แล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาสร้างสมัยกรีกนิยม ภายหลังปรินิพพาน..
เข้าใจว่า ในยุคก่อนศาสนาพุทธ.. ก็คงมีการนับถือผี นับถือธรรมชาติ นับถือเทพเจ้าโบราณมาก่อน.. คงจะมีการปั้นดิน แกะสลักไม้ เป็นรูปเคารพเทพเจ้าต่างๆกันอยู่บ้าง..
จนกระทั่ง กำเนิดศาสนาพุทธ.. ก็อาจมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นการภายในกันเอง.. แต่เพราะพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ใช่เทพเจ้าที่ไม่มีตัวตน.. เมื่อท่านปรินิพพานแล้ว ไม่มีจิตที่จะสิงสถิตย์ที่ใดๆได้..
หลังปรินิพพาน จึงไม่นิยมสร้างรูปปั้นพระพุทธเจ้าเพื่อบูชา..
เพราะท่านสอน ให้ทำตามสิ่งที่สอน แทนองค์ท่าน..
“ไม่มีอะไร มาบันดาลอะไร ให้ใครได้.. มีแต่ตัวเราทำสิ่งดี สิ่งชั่ว และรับผลสิ่งนั้นเอง.. ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก..”
จึงมีเพียงการสร้างสัญลักษณ์ เช่น..
“รูปธรรมจักร.. รอยพระบาท.. และบัลลังก์ที่ว่างเปล่า แทนการระลึกในพระคุณ และธรรมของท่าน..
เพื่อเน้นย้ำว่า พระนิพพานนั้น ไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้..”
สัญลักษณ์เหล่านี้ นิยมสร้างในพุทธศาสนายุคต้น เช่น ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ตอนนั้นที่มีเพียงเถรวาทเป็นพุทธแท้.. นิกายมหายาน ยังไม่แพร่หลาย..
คงไม่ใช่สร้างในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อกราบไหว้บูชา และขอพร เป็นที่พึ่งแบบศาสนาพราหม์ฮินดูในยุคนั้น..
แต่ต่อมา ยุคนิกายมหายานแพร่หลายซึ่งรวบเอาความเชื่อฮินดูมาผสม เป็นศาสนาพุทธดัดแปลง เพื่อให้ศาสนาพุทธอยู่รอด..
พระพุทธเจ้า ก็เลยมีฐานนะคล้ายเทพเจ้า มีความศักดิ์สิทธิ์ มีหลายองค์.. และมีตัวมีตน..
เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูป.. เพื่อการบูชา ขอพร เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แบบศาสนาอื่น.. ทั้งที่ขัดต่อหลักการคำสอนของพระพุทธเจ้า..
โดยสรุป.. การสร้างพระพุทธรูปอาจมีตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ายังอยู่ หรือเพิ่งนิยมสร้างหลังปรินิพพานตามอย่างรูปปั้นเทพเจ้ากรีกก็ตาม..
นั่นไม่ใช่สาระสำคัญ.. เพราะเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์..
ปัจจุบัน การที่ไทยเรานิยม สร้างพระพุทธรูปบูชา.. จะแตกต่างจากยุคแรกที่สร้างเพียงสัญลักษณ์.. ถ้าถือว่าเป็นรูปปั้นศักดิ์สิทธิ์ จะขัดต่อความเป็นพุทธแท้หรือไม่..
การสร้างพระพุทธรูป น่าจะไม่ขัดคำสอนของพระพุทธเจ้า..
ที่สำคัญกว่านั้น คือ .. เรามีความคิด ความเชื่อ ความเห็นที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธรูปหรือไม่..
“พุทธแท้” ดูตรง ที่เรามีความคิด ความเห็น ความเชื่อในการปฏิบัติตนที่สอดคล้องกับหลักการคำสอน.. นั่นคือ มีสัมมาทิฐิ..
ถ้าเราสร้างพระพุทธรูป เพื่อเอามาเสกคาถาเสกให้ขลัง ผ่านพิธีความเชื่อแบบพราหม์ฮินดู.. จะได้กราบไหว้ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อการบูชา วิงวอน ร้องขอพรให้ร่ำรวย ถูกหวย พ้นทุกข์ได้..
นั่นเป็น มิจฉาทิฐิ.. เพราะเป็นแนวทางของความเชื่อนอกศาสนา..
แต่ถ้าเราสร้างพระพุทธรูป เพื่อกราบไหว้บูชา เป็นสัญญลักษณ์แทนความดีงามที่ท่านสร้าง.. แทนบารมีที่ท่านสะสม.. แทนองค์คุณแห่งพระรัตนตรัย..
เพื่อเอามายึด เป็นกำลังใจในการปฏิบัติให้ตรงตามคำสอนของท่าน..
แบบนี้ ไม่ผิด.. เป็นสัมมาทิฐิ..
โฆษณา