Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชตระกูล ศรีสวัสดิ์
•
ติดตาม
16 ก.พ. เวลา 13:33 • ประวัติศาสตร์
สหรัฐอเมริกา
บีเวอร์ตัวน้อยผู้ก่อสงคราม
บีเวอร์ตัวน้อยก่อสงคราม ชนเผ่าอเมริกาเหนือต่อสู้เพื่อบีเว่อร์ แต่ชาวยุโรปกลับได้ประโยชน์จากชาวพื้นเมือง.... บีเวอร์ทำได้ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งมุกในการสงบศึก(ในการสร้างเขี่อน)ที่รัฐบาลและกองทัพที่ถกเถียงมาเป็นเวลากว่า 7 ปี
3
บีเวอร์ ( beaver) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมฟันแทะในเขตฮอลอาร์กติก มีสองชนิดที่เหลือรอดอยู่คือ พันธุ์ยูเรเชีย (C. fiber) กับ พันธุ์อเมริกาเหนือ (C. canadensis)
บีเวอร์เป็นสัตว์ฟันแทะที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากแคพิบารา(capybara) มีศีรษะใหญ่ ร่างกายที่แข็งแรง ฟันหน้าคล้ายสิ่ว ขนสีน้ำตาลหรือเทา
capybara
เท้าหน้าคล้ายมือ เท้าหลังมีลักษณะแบนและเป็นผังพืด มีหางเป็นเกล็ด
แต่ พันธุ์ยูเรเชียจะมีกระโหลกที่ยาวกว่า โพรงจมูกในกระโหลกมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม หางแคบและขนสีอ่อนกว่า สามารถพบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป
เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ ลำธารและสระน้ำ กินพืช เปลือกไม้ พืชน้ำและกกเป็นอาหาร
บีเวอร์สร้างเขื่อนและที่อยู่อาศัยโดยใช้กิ่งไม้ หินและโคลน พวกมันตัดต้นไม้เพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เขื่อนที่กั้นน้ำทำหน้าที่เป็นที่อาศัยและที่หลบซ่อน
โครงสร้างพวกนี้ทำให้เกิดเป็นที่ชุ่มน้ำที่เอื้อเฟื้อและส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศ ทำให้บีเวอร์ถูกจัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตหลักในการอนุรักษ์น้ำ
1
ตัวผู้และตัวเมียโตเต็มวัยจะอาศัยเป็นคู่เดียวร่วมกับลูกของพวกมัน เมื่อลูกพวกมันโตพอ มันจะช่วยซ่อมเขื่อนและที่อยู่อาศัย(รวมทั้งยังช่วยเลี้ยงดูน้อง ๆ ที่พึ่งเกิด) ด้วย
1
2
บีเวอร์ทำเครื่องหมายอาณาเขตโดยใช้ ร่องรอยเนินโคลน เศษซากและคาสโตเรียม (สารคล้ายปัสสาวะที่ผลิตจากต่อมข้างก้น) บีเวอร์สามารถจำแนกญาติโดยสารจากต่อมข้างก้นนี้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ดินแดน ศาสนา ทองคำ และน้ำมันล้วนเป็นส่วนผสมของสงคราม
1
แต่ สาเหตุของ(บาง)สงครามของมนุษย์ในบางครั้งอาจดูไม่ธรรมดา
สัตว์เล็กๆ อาจจุดชนวนสงครามได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น สงครามอิโรควัวส์( Iroquois Wars )ที่ปะทุขึ้นในอเมริกาเหนือในศตวรรษที่ 17 (ในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1609 ) นั้นที่ดันไปเกี่ยวข้องกับบีเวอร์
สงครามนี้กับบีเวอร์ เรียกอีกอย่างว่า "สงครามบีเวอร์" เป็นสงครามที่กินเวลาหลายปี
และนำภัยพิบัติร้ายแรงมาสู่อเมริกาเหนือมากมาย เช่น...
1
ปฐมบท 1. การค้าขนสัตว์ ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 16
นักสำรวจชาวฝรั่งเศสมาที่อเมริกาเหนือและเริ่มค้าขายกับชาวอินเดียนแดงในท้องถิ่น สินค้าหลักของการค้าคือขนสัตว์ในอเมริกาเหนือ
ซึ่งชาวยุโรปชื่นชอบมาก
เนื่องจากอิทธิพลของสงครามศาสนากลางเมือง กระบวนการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสในอเมริกาเหนือจึงถูกขัดจังหวะ
หลังสงคราม ประเด็นเรื่องการตั้งอาณานิคมโพ้นทะเลก็กลับมาอยู่ในวาระอีกครั้ง
ในปี 2151 นายซามูเอล เดอ แชมเพลน(Champlain)ชาวฝรั่งเศสได้ก่อตั้งอาณานิคมของควิเบกในอเมริกาเหนือ
ด้วยการตั้งถิ่นฐานที่จัดตั้งขึ้นก่อนหน้านี้ถูกทำลายไปจนหมดสิ้น
และไม่มีผู้อยู่อาศัยหลงเหลืออยู่เลย
1
ชนพื้นเมืองอเมริกาเหนือ หรือ อินเดียนแดง
ในขณะที่เผ่าอิโรควัวส์ก็ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการค้าขนสัตว์ระหว่างชาวพื้นเมืองทางตอนเหนือและชาวฝรั่งเศส
ขณะนั้น แชมเพลนเป็นพันธมิตรกับ มงตากิวเน็ตส์, อัลกอนควินส์ และฮูรอน ( Montaguenets, Algonquins & Hurons )ทั้งหมดเพื่อสร้างพันธมิตรกับ Iroquois
แต่ต่อมาในปี 2152 แชมเพลนกลับเริ่มการต่อสู้ครั้งแรกกับอิโรควัวส์
1
ในปี 2153 แชมเพลนและพันธมิตรของเขาเอาชนะทีมจู่โจมอิโรควัวส์ที่มีขนาดใหญ่ได้
ในปี 2158 เขาได้เข้าร่วมทีมจู่โจมของเผ่า Huron และเข้าร่วมในการล้อมเมือง Iroquois แต่การโจมตีก็ล้มเหลวในที่สุด
ชนพื้นเมืองอเมริกาเหนือ หรือ อินเดียนแดง
และ Champlain ก็ได้รับบาดเจ็บในสงครามเช่นกัน
ต่อมาตั้งแต่ปี 2153 ถึง 2157 ชาวดัตช์ได้จัดตั้งเสาการค้าตามฤดูกาลขึ้นในพื้นที่ฮัดสันและเดลาแวร์ ซึ่งทำให้อิโรควัวส์ไม่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสและชนเผ่าพันธมิตรอีกต่อไป
ที่สำคัญ ชาวดัตช์ยังได้มอบปืนให้กับ โมฮอว์ก( Mohawks ) และ Iroquois และชนเผ่าอื่น ๆ
ชนเผ่าเหล่านี้จึงเริ่มล่าสัตว์กันแบบขนานใหญ่และเริ่มซื้อขายกับชาวดัตช์เพื่อตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
เป็นผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และชนเผ่าพื้นเมืองในท้องถิ่น อันเนื่องมาจากการค้าขายขนสัตว์
1
บทที่ 2. มาที่... สงครามบีเวอร์ กันจริงๆซะที..
ในปี 2171 ด้วยความช่วยเหลือของชาวดัตช์ ชนเผ่าอิโรควัวส์จึงได้รับชัยชนะเหนือชนเผ่าที่อยู่รายรอบจำนวนมาก
ด้วยเหตุนี้จึงขยายขอบเขตของดินแดนของตนและค่อยๆ ผูกขาดการค้ากับชาวดัตช์ ในช่วงปี 2173 ชาว Iroquois จึงได้ครอบครองอาวุธและอุปกรณ์สไตล์ยุโรปอย่างเต็มที่
แต่ ด้วยการขยายตัวของการค้าขนสัตว์ จำนวนบีเว่อร์ในพื้นที่จึงลดลงอย่างรวดเร็ว จน ในปี 2183 สัตว์ดังกล่าวได้หายตัวไปจากหุบเขาฮัดสัน
1
เมื่อจำนวนของบีเวอร์ที่ Iroquois จับได้มีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ
ชนพื้นเมืองอเมริกาเหนือ หรือ อินเดียนแดง
ศูนย์กลางการค้าขนสัตว์ก็ค่อยๆ เคลื่อนตัวขึ้นเหนือไปยังบริเวณที่หนาวเย็นทางตอนใต้ของออนแทรีโอแทน...
แต่ ที่สำคัญ....พื้นที่นี้ถูกควบคุมโดย Hurons ที่เป็นโปรชาวฝรั่งเศส
ในปี 2184 เผ่า Mohawks ที่ร่วมในชนเผ่า Iroquois ได้ยื่นข้อเสนอสันติภาพกับชาวฝรั่งเศส(ซึ่งพันธมิตรของพวกเขาคือ Hurons)
และหวังว่าชาวฝรั่งเศสจะเข้ามาตั้งด่านการค้าในเขต Iroquois แต่ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธเพราะฝรั่งเศสไม่ต้องการ
เมื่อเห็นว่าชาวฝรั่งเศสไม่เต็มใจที่จะร่วมมือ Iroquois จึงโจมตีหมู่บ้าน Huron และขัดขวางการค้ากับชาวฝรั่งเศส
1
ในปี 2188 ฝรั่งเศสจึงได้เจรจากับอิโรควัวส์
โดยอนุญาตให้พวกเขาค้าขายกับตนเองโดยมีเงื่อนไขว่าพันธมิตรของพวกเขาจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการค้า
และปฏิเสธที่จะทำการค้าโดยตรงกับอิโรควัวส์ แต่เงื่อนไขนี้ทำให้อิโรควัวส์รู้สึกอับอายขายหน้า และสงครามก็ปะทุขึ้นในไม่ช้า
1
ทั้งสองฝ่ายที่เข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ คือฝรั่งเศสและพันธมิตรของเผ่า Huron เนเธอร์แลนด์และเผ่า Iroquois ที่สนับสนุน
ในปี 2191 ชาวดัตช์ก็ลอบขายปืนให้กับอิโรควัวส์ ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการรบของอิโรควัวส์อย่างมาก
อิโรควัวส์เข้าโจมตี
หลังจากนั้น อิโรควัวส์ก็โจมตีเผ่า Huron อย่างรุนแรง ทำลายหมู่บ้านจำนวนมาก และทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก
แม้ว่า Iroquois จะหยุดขยายตัวในภายหลัง แต่ก็ยังควบคุมพื้นที่(ขายขนสัตว์)จำนวนมาก
ในปี 2203 การรุกรานของอิโรควัวส์คุกคามอำนาจฝรั่งเศสในอเมริกาเหนืออย่างจริงจัง ทหารอิโรควัวส์ 160 นายโจมตีมอนทรีออลและจับกุมชาวอาณานิคมฝรั่งเศสไป 17 คน
ในปีถัดมา อิโรควัวส์ยังคงโจมตีฝรั่งเศสและพันธมิตรต่อไป แต่โดยธรรมชาติ....ชาวฝรั่งเศสจะไม่ยอมแพ้อย่างเด็ดขาด
ในปี 2208 ทีมเล็ก ๆ ที่ประกอบด้วยกองทหารฝรั่งเศสประจำการมายังอเมริกาเหนือเพื่อต่อสู้ ด้วยความช่วยเหลือของกองกำลังนี้
1
บีเวอร์ตัวน้อยผู้เริ่มเริ่มสงคราม
ฝรั่งเศสจึงเริ่มการโต้กลับอย่างมีประสิทธิภาพ การต่อสู้พลิกกลับและฝรั่งเศสค่อย ๆ ยึดครองดินแดนของชนเผ่า Iroquois
ในความสิ้นหวังนี้ Iroquois จำต้องขอให้ฝรั่งเศสสงบศึก
หลังจากบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับฝรั่งเศส ทาง อิโรควัวส์ก็ยังคงขยายตัวต่อไป และจะเห็นได้ว่าพวกเขาพยายามที่จะควบคุมดินแดนของชนเผ่าอื่นๆ
เนื่องจากอิทธิพลของเหตุการณ์ต่างๆ ในยุโรป ทำให้ชาวดัตช์ได้มอบสิทธิ์ของตนในอเมริกาเหนือให้แก่สหราชอาณาจักรในเวลานั้น
และสหราชอาณาจักรก็กลายเป็นผู้สนับสนุนอิโรควัวส์ ด้วยการสนับสนุนจากอังกฤษ Iroquois ได้ขยายอาณาเขตของตนอย่างไร้ยางอาย
สงครามแองโกล-ดัตช์
และการแข่งขันกับฝรั่งเศสยังคงเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งสองคงไว้ซึ่งความสงบเพียงผิวเผินเท่านั้น...(ซึ่งหมายความว่าสงครามจะต้องเกิดขึ้นอีกครั้ง)
แน่นอนว่าในปี 2224 ชาวฝรั่งเศสได้ยกเลิกการห้ามขายปืนให้กับชนเผ่าพื้นเมืองในอเมริกาเหนือ
งานเข้าล่ะสิ....ภายใต้การนำของฝรั่งเศส หลายชนเผ่าจึงได้รวมตัวกันเพื่อโจมตีอิโรควัวส์
แม้ว่า Iroquois จะต่อต้านอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก หมู่บ้านจำนวนมากถูกทำลายและผู้อยู่อาศัยจำนวนนับไม่ถ้วนถูกสังหาร
2
แน่นอน....ฝรั่งเศสเป็นผู้ชนะสงครามครั้งนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
บทที่ 3. สันติภาพอันยิ่งใหญ่ของมอนทรีออล
เมื่ออังกฤษไม่สามารถปกป้องอิโรควัวส์ และอิโรควัวส์จึงถูกบังคับให้เจรจากับฝรั่งเศส การเจรจาเบื้องต้นจึงเริ่มดำเนินการในปี 2241 และ ปี 2242
แต่การเจรจาเหล่านี้ไม่ได้ผลที่สอดคล้องกัน ภายใต้การแทรกแซงของอังกฤษ ในปี 2243 ฝรั่งเศสและอิโรควัวส์ได้จัดการเจรจาครั้งอีกครั้งแต่นี่เป็นครั้งสำคัญ
1
และชนเผ่าท้องถิ่นอื่นๆ ก็ส่งผู้แทนเข้าร่วมด้วย
สัญญาฉบับสุดท้ายก็จบลงในปี 2244 ซึ่งเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ว่า "ข้อตกลงสันติภาพมอนทรีออล"
สงครามแองโกล-ดัตช์
ซึ่งหนึ่งในนั้นคือชนเผ่าในท้องถิ่นต้องการรักษาสันติภาพระหว่างสงครามระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส
บทบัญญัตินี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชาวอะบอริจิน และเป็นเครื่องหมายแห่งการฟื้นฟูสันติภาพในภูมิภาคเกรตเลกส์
หลังจากการลงนามในสนธิสัญญา กิจกรรมทางการค้าและกิจกรรมผจญภัยที่เดิมถูกขัดจังหวะด้วยสงครามก็กลับมาดำเนินการอีกครั้ง ซึ่งเอื้อต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในท้องถิ่น
ในที่สุด.... ต้นตอของสงครามคือกำไร
สงครามเนื่องจากผลประโยชน์ทางการค้าไม่ใช่เรื่องแปลกในประวัติศาสตร์
1
2
สาเหตุหลักของการระบาดของสงครามอิโรควัวส์ คือการแสวงหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ของผู้คนอย่างไม่มียางอาย..
1
และแก่นแท้ของสงครามคือความโลภของมนุษย์ จนในทุกวันนี้การประกาศบริการสาธารณะที่เป็นที่นิยมก็คือ...
"ถ้าไม่มีของขาย ก็ไม่มีการฆ่า ถ้าไม่มีคนเสพ ก็ไม่มียาขาย"
2
แต่การฆ่าครั้งนี้เป็นเพียงการฆ่าเผ่าพันธุ์อื่นโดยมนุษย์จริงหรือ? แน่นอนว่าไม่...
เพื่อผลประโยชน์....มนุษย์จะไม่ลังเลที่จะเริ่มต้น.
สำนักงานของเนทันยาฮูเผยแพร่ภาพเพจเจอร์สีทองที่นายกรัฐมนตรีอิสราเอลมอบให้กับทรัมป์เป็นของที่ระลึกจากการดำเนินการกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน
การแสวงหาผลประโยชน์ไม่ใช่เรื่องผิด
แต่สุภาพบุรุษควรรักเงินและรับมันมาอย่างถูกวิธี
จงอย่าปล่อยให้ความมั่งคั่งถูกปกคลุมไปด้วยเลือด...
1
ความรู้รอบตัว
ประวัติศาสตร์
การเงิน
1 บันทึก
10
14
3
1
10
14
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย