Google เผยความสำเร็จในการป้องกันแอปพลิเคชันละเมิดนโยบายจำนวน 2.36 ล้านรายการ ไม่ให้เข้าสู่แพลตฟอร์ม Google Play ในปี 2567 พร้อมกันนี้ยังได้ระงับบัญชีนักพัฒนาที่เผยแพร่แอปฯ ที่อาจเป็นอันตรายกว่า 158,000 บัญชี
ความสำเร็จนี้ มาจากการผสานกำลังระหว่างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญและอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AI ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการตรวจจับโค้ดที่เป็นอันตรายในเชิงรุก
Google ยังเน้นย้ำถึงประสิทธิภาพของบริการ Play Protect ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันอีกชั้นหนึ่งให้แก่ผู้ใช้งาน Android โดย Play Protect จะตรวจสอบแอปฯ ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์ Android กว่า 2 แสนล้านรายการทุกวัน เพื่อค้นหามัลแวร์ที่รู้จัก
รวมถึงภัยคุกคามขั้นสูง เช่น มัลแวร์ที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบตนเองได้ (Polymorphic Malware) โดยในปี 2567 Play Protect สามารถตรวจพบแอปฯ ที่เป็นอันตรายซึ่งติดตั้งจากแหล่งที่มาอื่นนอกเหนือจาก Google Play Store ได้มากกว่า 13 ล้านรายการ
ขนาดนี้แล้ว แต่ทำไมยังมีภัยร้ายแฝงตัว เพราะมีข้อสังเกตที่น่าสนใจอยู่ แม้ Google จะประกาศถึงความสามารถใหม่ๆ ของ Play Protect ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่กลับไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ว่า อาชญากรไซเบอร์เองก็มุ่งมั่นที่จะหาวิธีเจาะระบบ Android ผ่านช่องโหว่ต่างๆ อย่างต่อเนื่องเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- ความสำคัญของการติดตั้งแอปฯ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ แม้ว่า Google Play Store จะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด แต่การติดตั้งแอปฯ จากแหล่งอื่น ๆ ยังคงมีความเสี่ยงสูงที่อุปกรณ์จะติดมัลแวร์ หรือถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น APK