17 ก.พ. เวลา 03:44 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Smog Tower กรณีศึกษานวัตกรรมที่ล้มเหลว

ในปี 1998 บริษัทออกแบบ และที่ปรึกษาชั้นนำอย่าง IDEO ได้ออกแบบรถเข็นช็อปปิ้งที่ล้ำยุคมากๆ และได้ไปออกรายการ ABC Nightline – The Deep Dive” (1999)
ในตอนนั้น ผมได้ดูรายการนี้ และก็ประหลาดใจกับความสามารถในการคิดนอกกรอบ คนก็อวยกันสุดขั้วว่าเจ๋งอย่างโน่นอย่างนี้ เป็นการฟังเสียงลูกค้าอย่างแท้จริง บลา บลา ทางทีมก็เอาเคสนี้ไปเป็น sales pitch กันอยู่หลายปี
ยี่สิบกว่าปีผ่านไป กระแสเรื่องนี้อาจจะค่อยๆ หายไป แต่ก็มีคนหยิบยกมาเล่ากันเสมอๆ ถึงความเจ๋งของรถเข็นนี้ และมักจะบอกว่า ไอเดียเจ๋ง แต่ยังไม่มีการนำมาใช้จริง เพราะมันล้ำยุคเกินไป แต่ 27 ปีผ่านไป มันก็ยังไม่มีใครเอามาใช้จริงจัง สงสัยมันจะล้ำยุคไปจริงๆ จนวันนี้คนหันไปช็อปออนไลน์กันแทนแล้ว
แต่มิวาย ไอเดียของ IDEO ในเวลานั้น ก็ยังถูกเอามาทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เพื่อขายโครงการให้กับผู้ประกอบการ โดยไม่ได้เรียนรู้ว่ามันล้มเหลว และมันล้มเหลว เพราะอะไร
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ เวลามีอะไรใหม่ๆ เจ๋งๆ คนทำก็มักจ่ายเงินออกสื่อ สื่อก็ช่วยกันกระพือจนดัง แต่เวลาล้มเหลว กลับไม่มีคนพูดถึงมากนัก นานๆ ไป แม้คนออกไอเดียเองอย่าง IDEO ยังอาย ตอนผมไปเยี่ยม IDEO ที่ญี่ปุ่น เขายังหยิบเรื่องนี้มาพูดว่าเป็นกรณีศึกษาว่าทำไมไอเดียถึงล้มเหลวได้แทน ตอนนั้นยังมีหน้าเว็บของ IDEO พูดถึงความสำเร็จอยู่เลย แต่ในตอนนี้หน้านั้นถูกแทนที่ด้วยหน้าที่เขียนว่า Design failed! Our bad แทน
Smog Tower ก็ไม่ต่างกัน ไอเดียเริ่มจาก Daan Roosegaarde ที่ออกแบบสร้าง Smog Free Tower ในเมือง Rottedam ประเทศ Netherlands ในปี 2015 และฮือฮากันอีกที เมื่อเมือง Xian ประเทศจีนสร้าง Smog Tower สูงกว่า 60 เมตรในปี 2018 ส่วนประเทศอินเดียก็มีโครงการติดตั้ง Smog Tower เพื่อกำจัด PM 2.5 เช่นกัน
ในเมืองไทย ก็ไม่เว้น มีบริษัทหลายแห่งติดตั้ง Smog Tower หลากหลายเทคโนโลยี เช่น
แต่ที่บอกได้เลย ก็คือ พอมีฝุ่นมาทีไร คลิป หรือข้อมูลเรื่องนี้ก็จะถูกหยิบยกมาพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า และใช้ในการกล่าวหาว่า ทำไมรัฐบาลไม่ติดตั้งอะไรแบบนี้บ้าง ไม่สนใจสุขภาพประชาชนเลย
แต่น้อยคนจะรู้ความจริงที่ว่า Smog Tower เกือบทั้งหมด แทบไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัด PM 2.5 ใน scale ขนาดใหญ่เลย ที่อ้างว่าจะลดได้เท่านั้นเท่านี้ ความเป็นจริงห่างไกลมาก สิ้นเปลืองค่าดูแล และค่าพลังงานมากกว่าประโยชน์ที่ได้มากนัก หลายๆ ที่เขาก็ยกเลิกโครงการไปแล้ว เพราะมันไม่ได้ผลจริง
นี่แหล่ะเป็นสิ่งที่เขาเรียกกันว่า hype bias
โฆษณา