Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ONE MORE LINK วันมอร์ลิงค์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม
•
ติดตาม
18 ก.พ. เวลา 01:38 • สิ่งแวดล้อม
ONE MORE LINK CO.,LTD. (บริษัท วันมอร์ลิงค์ จำกัด)
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้า พ.ศ. 2567
วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา: 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
วันที่มีผลบังคับใช้: 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
เนื้อหาสำคัญ:
1. ได้ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2547
2. ให้คำจำกัดความของคำว่า “โรงไฟฟ้า” “โรงไฟฟ้าเก่า” “โรงไฟฟ้าใหม่” “โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง” “เชื้อเพลิงชีวมวล” และ “ก๊าซชีวภาพ”
3. กำหนดให้อากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าเก่า ต้องมีค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศแต่ละชนิด ตามตารางในประกาศฉบับนี้
4. กำหนดให้อากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าใหม่ ต้องมีค่าปริมาณสารเจือปนไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ ตามตารางในประกาศฉบับนี้
5. กำหนดให้อากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าเก่า หรือโรงไฟฟ้าใหม่ ต้องมีค่าปริมาณสารเจือปนไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ ตามตารางในประกาศฉบับนี้
6. ให้ค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าเก่า ตามข้อ 4 (1) ของประกาศฉบับนี้ มีผลใช้บังคับได้ไม่เกิน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2575 จากนั้นให้ใช้ค่าปริมาณ
สารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าใหม่ตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้บังคับแทน
7. กรณีโรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงร่วมกันตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป ให้คำนวณค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศจากผลรวมของค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศของเชื้อเพลิงแต่ละประเภท
คูณกับสัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ของเชื้อเพลิงประเภทนั้น ๆ
ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ = AU + BV + CW + DX + EY + FZ
เมื่อ
A = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว
B = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว
C = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว
D = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว
E = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว
F = ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเมื่อใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว
U = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน
V = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน
W = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติ
X = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล
Y = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทก๊าซชีวภาพ
Z = สัดส่วนของความร้อน (Heat Input) ที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทขยะ
8. การวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศแต่ละชนิดที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้า ให้วัดอากาศที่ระบายออกจากปล่องในขณะประกอบกิจการโรงงาน
9. การตรวจวัดค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศแต่ละชนิดที่ระบายออกจากปล่องโรงไฟฟ้าให้ใช้วิธี ตามประกาศฉบับนี้กำหนด
10. การคำนวณผลการตรวจวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ ให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือ 760 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ที่สภาวะแห้ง
(Dry Basis) โดยมีปริมาตรออกซิเจนส่วนเกิน (Excess Oxygen) ในการเผาไหม้ร้อยละ 7
ข้อมูลเพิ่มเติม…
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/57370.pdf?fbclid=IwY2xjawIakilleHRuA2FlbQIxMAABHYKGSCmjHTJQoWN67cYBiJkzfrHSk6SI8ryp5VkYhTj3rwkp9Mbv4qhbUA_aem_XhBLEZO19TLr_4CUEtnQ4w
CR.
https://onemorelink.co.th/blog/
#onemorelink #สิ่งแวดล้อม #ฝุ่นพิษ #กากอุตสาหกรรม #บริการรับกําจัดกากอุตสาหกรรม #บริษัทกำจัดกากอุตสาหกรรม #EcoFactory
ธุรกิจ
ประวัติศาสตร์
ข่าวรอบโลก
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย