18 ก.พ. เวลา 03:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

เปิดเทรนด์เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกและกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ปี 2025 โดย Gartner

เทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปี 2025 และอนาคตอันใกล้ที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี AI, นวัตกรรมการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ และการทำงานประสานกันระหว่างมนุษย์กับเครีื่องจักร ซึ่งทาง Gartner ได้สรุปเทรนด์เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกและกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดผลกระทบอย่างมากในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังนั้นผู้นำด้าน IT สามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นแนวทางเพื่อวางแผนกลยุทธ์และกำหนดทิศทางขององค์กรให้พร้อมรับมือกับอนาคตได้
1. เทคโนโลยี AI : โอกาสและความเสี่ยง
เมื่อองค์กรนำ AI มาใช้งาน ความเสี่ยงต่าง ๆ ก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มกำกับดูแล AI เพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้อย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ
ในอีกด้านหนึ่งอาชญากรทางไซเบอร์ใช้ AI เพื่อเร่งการแพร่กระจายข้อมูลเท็จ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อองค์กร ลูกค้า พันธมิตร และพนักงาน ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อติดตามการแพร่กระจายของข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรของตนเอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเสริมสร้างความไว้วางใจ นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการใช้สื่อปลอม (Synthetic Media) เช่น Deepfake ที่อาจถูกนำมาใช้เจาะระบบและเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนแบบเรียลไทม์
แนวทางปฏิบัติที่แนะนำ
- นำเทคโนโลยี AI อัจฉริยะ (Agentic AI) มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการตัดสินใจขององค์กร แต่จำเป็นต้องมีแนวทางกำกับดูแล AI ที่รัดกุม โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันผลกระทบจากข้อมูลบิดเบือน เพื่อความปลอดภัยของบุคคล องค์กร และสังคม
- นำ AI Governance Platform มาใช้งานซึ่งแพลตฟอร์มนี้ช่วยบริหารจัดการ AI อย่างเป็นระบบ ทั้งด้านกฎหมาย จริยธรรม และประสิทธิภาพการทำงาน โดยเป็นส่วนหนึ่งของแนวทาง AI Trust, Risk and Security Management (AI TRiSM) ที่พัฒนาโดย Gartner
- ใช้โซลูชันป้องกันข้อมูลเท็จ (Disinformation Security) เทคโนโลยีนี้ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ป้องกันการแอบอ้าง และติดตามการแพร่กระจายของข้อมูลอันตราย เช่น Deepfake, Phishing, ข่าวปลอม และ Social Engineering ซึ่งมักถูกสร้างขึ้นโดย AI
2. นวัตกรรมการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์: โอกาสและความท้าทาย
การพัฒนาเทคโนโลยีการประมวลผลคอมพิวเตอร์ยังคงก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ก็มีความเสี่ยงบางประการ ตัวอย่างเช่น Quantum Computing ที่อาจทำให้ระบบการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันถูกทำลาย ซึ่งจะทำให้ข้อมูลสำคัญเสี่ยงที่จะถูกเปิดเผย ดังนั้นจำเป็นต้องพัฒนาระบบการเข้ารหัสใหม่เพื่อปกป้องข้อมูลของทั้งองค์กรและสังคม
นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีแท็กและเซ็นเซอร์ไร้สายขนาดเล็กที่สามารถช่วยในการติดตามและตรวจจับข้อมูลแบบเรียลไทม์ในปริมาณมาก ซึ่งสามารถเปิดโอกาสให้เกิดโมเดลธุรกิจและระบบนิเวศใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน
แนวทางปฏิบัติที่แนะนำ
- ใช้เทคโนโลยี Post Quantum Cryptography (PQC) ควรพัฒนาและนำกระบวนการที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ (Crypto-Agility) มาใช้ ซึ่งช่วยให้สามารถเปลี่ยนแปลงอัลกอริธึมการเข้ารหัสในแอปพลิเคชันได้อย่างง่ายดาย และสามารถปรับใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยกว่าในอนาคต กระบวนการนี้ต้องมีความยืดหยุ่น เพราะอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเข้ารหัสในอนาคตตามการพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
-ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Ambient Invisible Intelligence โดยการนำแแท็กและเซ็นเซอร์อัจฉริยะขนาดเล็กและต้นทุนต่ำในการติดตามและรับข้อมูลแบบเรียลไทม์ในปริมาณมาก ซึ่งสามารถทำได้ในราคาที่เหมาะสม เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้การผสมผสานระหว่างการรับรู้และปัญญาประดิษฐ์ในชีวิตประจำวันทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-ใช้เทคโนโลยี Hybrid Computing ซึ่งเป็นการผสมผสานกลไกต่างๆ เช่น การประมวลผล, การจัดเก็บข้อมูล และเครือข่าย เพื่อแก้ปัญหาด้านการประมวลผล ตัวอย่างเช่น การรวมระบบประมวลผลเชิงประสาท, ควอนตัม, ฟอโตนิกส์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การใช้กรอบการประสานงาน (Orchestration Framework) จะช่วยให้เทคโนโลยีต่าง ๆ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้สามารถสำรวจและแก้ไขปัญหาด้วยการรวมกลไกต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การประมวลผลและปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เทคโนโลยีทำงานได้เหนือขีดจำกัดปัจจุบัน
3.การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร
เทคโนโลยีกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเชื่อมโยงโลกจริงและโลกเสมือนจริงเข้าด้วยกันได้อย่างราบรื่น หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานได้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ขณะเดียวกันเทคโนโลยียังช่วยให้หุ่นยนต์เข้าใจและพัฒนาความคิด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานพร้อมการรับรู้มากขึ้น และยังมีการใช้ AI ช่วยระบุและจัดการกับปัญหาหรือเหตุการณ์ที่มนุษย์อาจมองข้าม ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น
แนวทางปฏิบัติที่แนะนำ
-การเข้ามาของการคำนวณเชิงพื้นที่ (Spatial Computing) เทคโนโลยีนี้ทำให้โลกจริงและโลกดิจิทัลเชื่อมต่อกันได้อย่างสมจริง โดยใช้ AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) ซึ่งสร้างโอกาสทางธุรกิจในอนาคต แต่ยังมีความท้าทายเกี่ยวกับ “ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล” เพราะการใช้การคำนวณเชิงพื้นที่ที่ต้องการการเก็บข้อมูลจากกล้องและเซ็นเซอร์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและการกระทำของผู้ใช้งาน
ข้อมูลเหล่านี้อาจถูกเก็บไว้ในอุปกรณ์หลายเครื่อง ดังนั้น ต้องมีการจัดการข้อมูลที่ปลอดภัยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางจริยธรรมและกฎหมาย
- จักรกลอัจฉริยะ (Polyfunctional Robots) ภายในปี 2030 หุ่นยนต์จะมีฟังก์ชันการทำงานหลายด้าน และ 80% ของมนุษย์จะมีปฏิสัมพันธ์กับหุ่นยนต์ทุกวัน เทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ทำให้สามารถทดแทนแรงงานมนุษย์ได้
องค์กรต้องพิจารณาบทบาทการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์อย่างรอบคอบ เพื่อดึงศักยภาพของทั้งสองฝ่ายออกมาให้มากที่สุด ดังนั้นการจัดทำนโยบายสำหรับการอยู่ร่วมกับจักรกล (Robotology) เป็นสิ่งที่สำคัญโดยพิจารณาว่าพนักงานขององค์กรจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับจักรกลอย่างไร และพวกเขามีแนวทางจะตอบสนองอย่างไร
- เทคโนโลยีเสริมประสิทธิภาพทางระบบประสาท (Neurological Enhancement): เทคโนโลยีนี้ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้นผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับสมอง ช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน เช่น ป้องกันอุบัติเหตุจากคนขับหลับใน หรือช่วยให้คนสูงวัยทำงานได้นานขึ้น แต่ก็ต้องระวังปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์และความกังวลด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพทางความคิด องค์กรควรเตรียมการและมีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อปกป้องจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีนี้
ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่ส่งผลกระทบทั้งในด้านธุรกิจและความปลอดภัยทางไซเบอร์ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่ต้องพัฒนาและปรับตัวทางเทคโนโลยี แต่ยังต้องใส่ใจในด้านจริยธรรมและการจัดการข้อมูลเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบและปลอดภัย โดยมีประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาดังนี้:
1. การลงทุนในทักษะและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
2. การสร้างระบบการกำกับดูแลที่แข็งแกร่ง เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างถูกต้องและมีความรับผิดชอบ
3. การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูล โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลมีมูลค่าสูงและต้องได้รับการปกป้องจากภัยคุกคามต่าง ๆ
4. การปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การเตรียมองค์กรให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
Ref : Gartner Top Strategic Technology Trends for 2025
นึกถึงเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไว้ใจ BAYCOMS
Your Trusted Cybersecurity Partner
ติดต่อสอบถามหรือปรึกษาเราได้ที่ :
Bay Computing Public Co., Ltd
Tel: 02-115-9956
#BAYCOMS #YourTrustedCybersecurityPartner #Cybersecurity
โฆษณา