19 ก.พ. เวลา 03:27 • ข่าว

ห๋า! ใช้ร้านอาหารทำเป็นโบสถ์ยิว แล้วจ้างคนไทยดูแล กฎหมายไทยทำได้หรือ?

....จากที่มีกระแสสื่อ HAARETZ อิสราเอล รายงานว่ามีชาวยิวที่พักจากการสู้รบในสงครามเขตกาซา ปาเลสไตน์ และเลบานอน แห่เดินทางมาไทย และมุ่งไป "ตั้งถิ่นฐานบ้านใหม่" ที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ติดชายแดนเขตกองกำลังว้า เมียนมาร์
ต่อมาสื่อไทยหลายแห่ง รายงานว่า ในไทยมี "โบสถ์ยิว" จำนวน 7 แห่ง โดยหนึ่งในนั้นอยู่ที่ อ.ปาย ชื่อว่า Chabad เฮ้าส์ปาย ซึ่งเป็นร้านอาหารกึ่งโบสถ์ชาวยิว ตั้งอยู่ด้านหลัง สภ.ปาย มีประตูและรั้วมิดชิด ติดกล้องวงจรปิดรอบบริเวณ มีการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด
8
โดยจะจัดกิจกรรมศาสนา ในเวลา 18.30-22.00 น. ทุกวันศุกร์-เสาร์ ซึ่งในแต่ละครั้ง จะมีชาวยิวอิสราเอลร่วมกิจกรรมประมาณ 100-180 คน เรื่องนี้แปลกมาก เพราะกฎหมายไทย การครอบครองที่ดิน หรือเป็นเจ้าของร้านอาหารในท้องถิ่น "ต้องเป็นชาวไทยเท่านั้น"
ร้านอาหาร นั้นจะต้องจดทะเบียนวัตถุประสงค์เพื่อขายอาหาร และได้รับอนุญาตจากทางราชการในท้องถิ่น น่าสงสัยว่า ร้านอาหารนั้นเป็นของชาวไทย หรือชาวยิวอิสราเอล เป็นเจ้าของกันแน่? ส่วนโบสถ์ยิว จะไปจะไปผนวกรวมอยู่ในร้านอาหารได้อย่างไร? เพราะคนละวัตถุประสงค์กันชัดเจน
2
สติ๊กเกอร์ทหาร IDF อิสราเอล ติดตามสถานที่สาธารณะ ใน อ.ปาย
ปัจจุบัน กฎหมายไทย อนุญาตให้ทุกคนนับถือศาสนา ปฏิบัติหรือประกอบกิจทางศาสนาใดก็ได้ตามที่ต้องการ ตราบใดที่มิได้ “เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ” โดยมีกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม รับผิดชอบจดทะเบียนกลุ่มศาสนาต่างๆ
แต่เฉพาะกลุ่มพุทธมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดูแล เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี โดยราชการไทย รับรองกลุ่มศาสนา 5 กลุ่มอย่างเป็นทางการ ได้แก่ กลุ่มพุทธ กลุ่มมุสลิม กลุ่มพราหมณ์-ฮินดู กลุ่มซิกข์ และกลุ่มคริสต์
2
สติ๊กเกอร์ทหาร IDF อิสราเอล ติดตามสถานที่สาธารณะ ใน อ.ปาย
"ด้วยนโยบายแล้ว รัฐบาลไทย จะไม่รับรองกลุ่มศาสนาใหม่ใดๆ อีกนอกจาก 5 กลุ่มหลักข้างต้น" จึงไม่พบการรับรองศาสนาอื่นใด เช่น ยูดาห์ (ยิว) , ลัทธิ Chabad , กลุ่มศาสนาที่ทางราชการรับรองทั้ง 5 กลุ่ม มีสิทธิขอจดทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์จากรัฐ
เช่น ได้รับเงินอุดหนุน ได้รับยกเว้นภาษีทรัพย์สินและภาษีเงินได้ และได้รับการพิจารณาวีซ่าพักอาศัยเป็นพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติ ส่วนการจดทะเบียนนิกายใหม่นอกจาก 5 กลุ่ม ดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้
สติ๊กเกอร์ทหาร IDF อิสราเอล ติดตามสถานที่สาธารณะ ใน อ.ปาย
.....1. มีสาวกทั่วประเทศอย่างน้อย 5,000 คน (ชาวไทย)
2. มีหลักคำสอนอันเป็นเอกลักษณ์ในทางศาสนศาสตร์
3. ไม่ได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
4. ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ จากที่ประชุมซึ่งกรมการศาสนาจัดขึ้น โดยมีตัวแทนจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องและกลุ่มศาสนาที่ทางราชการรับรองทั้ง 5 กลุ่ม
ที่ผ่านมา จึงไม่พบว่ามีศาสนาอื่นใดผ่านหลักเกณฑ์นี้ เพราะแค่คุณสมบัติข้อ 1 กับข้อ 4 ก็ไม่ผ่านเสียแล้ว
ประชากรไทยราว นับถือศาสนาพุทธ 93% , มุสลิม 5% ส่วนที่เหลือนับถือคริสต์ และอีกสัดส่วนเล็กน้อย เป็นกลุ่มที่นับถือภูตผี ลัทธิขงจื๊อ ฮินดู ซิกข์ และลัทธิเต๋า
ศาสนายูดาห์ ชาวอิสราเอล จะเรียกว่า"ธรรมศาลา" (bet knesset) หมายถึงสถานที่ชุมนุม รวมตัวได้ครบองค์ประชุม ผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะแล้วจำนวน 10 คน เรียกว่า "องค์คณะสิบ" หรือ "มินยัน" ก็สามารถประกอบพิธีได้
ธรรมศาลา ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น เช่น สถานที่จัดเลี้ยง โรงเรียนสอนศาสนา ห้องสมุด ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเวลากลางวัน และครัวโคเชอร์
2
.....ที่ อ.ปาย มีชุมชนชาวไทยมุสลิม และอยู่อย่างสงบกับชาวไทยพุทธ คริสต์ และศาสนาที่ทางราชการรับรอง การมีโบสถ์ยิว ขึ้นมา ได้ทำประชาพิจารณ์ชาวไทยในอำเภอปาย ว่าพวกเขาเห็นด้วยหรือไม่?
อย่าลืมว่า ชาวปาเลสไตน์ เป็นชาวมุสลิม พวกเขาย่อมมีการสื่อสารถึงกัน กับชาวมุสลิมทั่วโลกกว่า 1,600 ล้านคน และเมื่อ "มีชาวยิวที่ไหน ก็เรียกแขกที่นั่น" เหตุความขัดแย้งต่างๆ ย่อมจะนำมา ชาวยิวไปเที่ยวที่ ปาย มีการก่อเหตุ คุกคามหมอในโรงพยาบาล และกับชาวบ้านร้านค้า
ในเมื่อราชการไทยรับรองศาสนาแค่ 5 กลุ่มดังกล่าว แล้ว ศาสนายูดาห์ หรือ ลัทธิ Chabad ขออนุญาตสร้างโบสถ์ หรือ ธรรมศาลา มากถึง 7 แห่งในไทยได้อย่างไร? เพราะชาวต่างชาติ ไม่อาจขอจดทะเบียนนิกาย หรือศาสนาในไทย ยิ่งการที่จะมีทะเบียนสาวกคนไทยในประเทศกว่า 5,000 คน
และต้องได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ จากที่ประชุมซึ่งกรมการศาสนา จัดขึ้น โดยมีตัวแทนจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มศาสนาที่ทางราชการรับรองทั้ง 5 กลุ่ม เป็นสิ่งที่ไม่พบมาก่อน...ถ้าฝ่าฝืนแล้วจัดเป็น “อันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ” หรือไม่?
>>> ตอนต่อเนื่อง
⏩😁 ดูวิดีโอที่เกี่ยวข้องกดที่ลิ้ง👇👇
⏩ ติดตามทางยูทูป ⤵️
👇👇กดรูปหัวใจ/แชร์ไปได้เลย ⤵️⤵️
โฆษณา