Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ท่านว่า(Than-Wa)
•
ติดตาม
19 ก.พ. เวลา 04:27 • การศึกษา
ว่าด้วย นิติเหตุ
นิติเหตุ คืออะไร
นิติ = กฎหมาย, เหตุ = สาเหตุ, นิติเหตุ = สาเหตุ(ที่ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหว)ในทางกฎหมาย
นิติเหตุ เกิดได้จาก 2 กรณีนี้ คือ 1. เกิดจากธรรมชาติ 2. เกิดจากการกระทำของคน
ตัวอย่างกรณีที่เกิดจากธรรมชาติ
การเกิด : เมื่อเราคลอดและรอดเป็นทารก นั่นคือเราเริ่มมีสภาพบุคคล(ป.พ.พ. มาตรา 15) เมื่อมีสภาพบุคคล เราก็จะมีความสามารถในการมีสิทธิตามกฎหมาย เช่น สิทธิในการรับมรดก
การที่อายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ : เมื่อบุคคลอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมบรรลุนิติภาวะ(ป.พ.พ. มาตรา 19) บุคคลที่บรรลุนิติภาวะตามที่กฎหมายกำหนดนี้เอง คือบุคคลที่มีความสามารถในการใช้สิทธิได้โดยสมบูรณ์
ข้อสังเกต : สภาพบุคคลทำให้มีความสามารถในการถือสิทธิ การบรรลุนิติภาวะทำให้มีความสามารถในการใช้สิทธิโดยสมบูรณ์
ตัวอย่างกรณีที่เกิดจากการกระทำของคน แบ่งแยกไปได้อีก 2 กรณี คือ 1. ตั้งใจกระทำแต่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดผลทางกฎหมาย(แต่ผลทางกฎหมายก็เกิดอยู่ดี) 2. ตั้งใจกระทำและตั้งใจให้เกิดผลทางกฎหมาย
ตัวอย่างกรณีที่เกิดจากการกระทำของคนที่ตั้งใจกระทำแต่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดผลทางกฎหมาย(แต่ผลทางกฎหมายก็เกิดอยู่ดี)
ละเมิด(ป.พ.พ. มาตรา 420) : บุคคลได้กระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมาย และการกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิเด็ดขาดของบุคคลอื่น ตัวอย่าง แดง ไม่ชอบ ดำ แดง จึงเอาปืนไปยิง ดำ ปรากฎว่า แดง ยิงไปโดนแขน ดำ ดำ จึงไม่ตาย
กรณีดังกล่าว เข้าองค์ประกอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 บุคคลผู้กระทำ คือ แดง บุคคลอื่นผู้ถูกกระทำ คือ ดำ กรณีนี้แดงจงใจกระทำต่อดำ โดยการเอาปืนไปยิงดำ การใช้อาวุธปืนทำร้ายผู้อื่นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และการกระทำดังกล่าวกระทบสิทธิเด็ดขาดของ ดำ คือ สิทธิในชีวิตร่างกาย ดังนั้น แดง ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ดำ เห็นได้ว่าการละเมิดเป็นนิติเหตุอย่างนึง เพราะถึงแม้ แดง จะตั้งใจกระทำแต่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดผลทางกฎหมาย ท้ายที่สุดแล้วผลทางกฎหมายก็เกิดอยู่ดี คือ แดง ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ดำ
ตัวอย่างกรณีที่เกิดจากการกระทำของคนที่ตั้งใจกระทำและตั้งใจให้เกิดผลทางกฎหมาย
นิติกรรม(ป.พ.พ. มาตรา 148) : นิติกรรม คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในทางกฎหมาย ตัวอย่าง ส้ม อยากยกรถยนต์ให้นาย ขาว ส้ม จึงทำพินัยกรรมยกรถยนต์ให้ ขาว เมื่อ ส้ม ถึงแก่ความตาย รถยนต์คันดังกล่าวจะถูกโอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของ ขาว เห็นได้ว่าการกระทำของ ส้ม คือการทำพินัยกรรม โดย ส้ม ตั้งใจให้เกิดผลทางกฎหมาย คือ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าวไปให้ ขาว
ข้อสังเกต : ทุกนิติกรรมเป็นนิติเหตุ แต่มิใช่ทุกนิติเหตุเป็นนิติกรรม นิติเหตุที่เกิดจากการกระทำของคนที่ตั้งใจกระทำและตั้งใจให้เกิดผลในทางกฎหมายเท่านั้นที่เป็นนิติกรรม
อ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนังสือคำอธิบายนิติกรรมสัญญา ศ.ดร.ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
http://old-book.ru.ac.th/e-book/l/LA106(H)/la106(h)-1.pdf
กฎหมาย
ความรู้รอบตัว
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย