19 ก.พ. เวลา 11:56 • การศึกษา

“โลกนี้ ไม่มี.. ความบังเอิญ..“

สมัยเด็ก ผู้เขียนดูหนังฝรั่ง เรื่อง.. we are no angel.. กล่าวถึงนักโทษแหกคุก ที่ไม่มีศรัทธา.. ไม่เชื่อในพระเจ้า.. ต่อมา ศรัทธา หันมาบวชเป็นบาทหลวง..
วันหนึ่ง ตกลงไปในแม่น้ำ กำลังจะจมน้ำตาย เพราะว่ายน้ำไม่เป็น.. รูปปั้นพระแม่มารีย์ ที่ตกน้ำลงไปด้วย.. ลอยเข้ามา ราวกับยื่นมือมาให้จับ..
เขาจับมือรูปปั้น ลอยขึ้นมายังผิวน้ำได้.. เขาว่า.. ไม่ใช่บังเอิญ แต่เป็น miracle ปาฏิหารย์..
แนวทางแบบนี้ ก็ยังมีหนังอีกหลายเรื่อง.. ล้อตามๆกันมา..
เหตุบังเอิญ.. ในภาษากฎหมาย จะเรียกว่า.. เหตุสุดวิสัยก็ได้.. ชาวบ้าน จะเรียกว่า อุบัติเหตุก็ได้..
แต่ชาวพุทธที่เชื่อหลักกรรมจะบอกว่า.. ไม่มีอะไรบังเอิญ.. ทุกอย่างล้วนเกิดแต่กรรม.. ทั้งเรื่องใหญ่ เรื่องเล็ก..
ผู้เขียนนึกถึงตอนเด็ก.. ยืนรอรถเมล์จะกลับบ้าน ที่ป้ายรถเมล์ หน้าโรงเรียน.. พอรถมาจอด นักเรียนก็กรูแย่งกันขึ้น ต่างคนจะรีบกลับบ้านให้เร็ว..
ผู้เขียน ไม่ชอบแข่งขันแก่งแย่งกับใคร.. ได้แต่ยืนมองเขาแย่งกัน..
คันแล้วคันเล่า.. รอจนคนเบาบาง.. ไม่มีการแย่งกันแล้ว.. ผู้เขียนจึงได้ขึ้นรถเมล์กลับบ้าน.. บางที ก็เกือบ 6 โมงเย็นโน่น..
แบบนี้ เป็นวิบากกรรมเก่าใช่มั้ย.. ที่ทำให้ผู้เขียนต้องกลับบ้านช้า..
บางคนบอกว่า.. กรรมเก่าน่ะ ต้องเป็นเรื่องสำคัญ เรื่องใหญ่ๆ.. กะอีแค่กลับบ้านช้า.. ไม่ใช่ผลกรรม.. นี่ละบังเอิญล่ะ..55
ในพระไตรปิฏก พระพุทธเจ้าใกล้ปรินิพพาน ในระหว่างเดินทาง.. เจ็บป่วยอยู่ด้วย.. แดดร้อน หิวน้ำเป็นกำลัง.. เดินต่อไปก็ไม่ไหว.. จึงบอกพระอานนท์ผู้ดูแลว่า..
“อานนท์.. เธอช่วยไปตักน้ำมาให้เราหน่อย.. ข้างหน้ามีแม่น้ำอยู่..”
พระนั้น ปกติจะไม่เอ่ยบอกร้องขอกับใคร.. ห้ามขอสิ่งของจากฆราวาส เว้นแต่ เขาปาวรนาตัวว่า ให้เรียกใช้ได้เท่านั้น..
พระอานนท์ เร่งไปข้างหน้า.. สักพักก็กลับมา มือเปล่า.. ไม่มีน้ำ..
“กระผมไปที่แม่น้ำแล้ว.. มีฝูงวัวกำลังข้ามแม่น้ำ.. น้ำน่าจะขุ่น ฉันไม่ได้ขอรับ..”
พระพุทธเจ้า บอกพระอานนท์ไปอีกหลายครั้ง.. ก็ไม่ได้น้ำมา.. แต่สุดท้าย ก็ตักน้ำมาให้พระองค์ดื่มจนได้..
พระองค์เล่า กรรมชั่วของพระองค์ในอดีตว่า เคยเป็นโคบาล นายฮ้อย ต้อนฝูงโค.. เดินทางไกล มาถึงแม่น้ำ.. เกรงว่าน้ำขุ่น กินไม่ได้.. เลยบังคับฝูงโคไม่ให้กินน้ำ..
“นี่ คือวิบากกรรมของเราเอง..”
นั่นแหนะ.. เห็นมั้ย.. เจตนาดีนะ.. ไม่อยากให้โคกินน้ำขุ่นนะ.. ยังเป็นกรรม.. เพราะกระทำโดยประสงค์ต่อผล เจตนาไม่ให้โคกินน้ำอยู่ดี..
ไปเทียบกับ กรณีฆ่าด้วยความกรุณานะ.. (Euthanasia, Mercy Killing).. ว่า ฆ่าเพราะสงสารอยากให้เขาพ้นทุกข์ทรมาน.. จะเป็นบาปกรรมมั้ย..
พระไตรปิฏกให้ความรู้ว่า.. สิ่งที่เกิดขึ้น แม้เรื่องเล็กน้อย.. ก็เป็นวิบากกรรมได้.. ไม่ใช่เหตุบังเอิญ..
ถ้างั้น.. ในแง่พุทธ.. อุบัติเหตุ จึงไม่มีอยู่จริง.. ใช่มั้ย..
ชาวศาสนาเชน.. ที่เป็นชีเปลือย ที่ทรมานตนเอง.. เชื่อว่า วิบากกรรมทำให้เราได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน.. เชื่อว่าไม่มีความบังเอิญเหมือนกัน..
เขาจึงทรมานตนเอง เพื่อให้วิบากกรรมเก่าหมดไปโดยเร็ว.. เมื่อไม่เหลือกรรมชั่วมาตามสนอง.. ก็จะได้หลุดพ้นไปนิพพานได้..
พระพุทธเจ้าบอกว่า.. วิบากกรรมเก่านั้น มีจริง.. แต่ความเชื่อว่า ทรมานตน จะช่วยแก้กรรมเก่า ชดใช้ให้หมดไปเร็วขึ้นนั้น.. ผิด.. เป็นมิจฉาทิฐิ..
“กรรมเก่ามีผล.. แต่กรรมปัจจุบัน ก็ส่งผลด้วยเช่นกัน.. กรรมเก่าทำให้เราเดือดร้อน..
แทนที่เราจะทำกรรมดีในตอนนี้.. กลับทำกรรมใหม่ด้วยการทรมานตนให้เดือดร้อนต่อไปอีก.. แบบนี้ไม่ถูก..”
พระไตรปิฏกกำลังสอนว่า..
“เมื่อวิบากกรรมเก่ามาสนอง ให้รับรู้ด้วยสติ ให้ยอมรับว่า นี้ทุกข์..
โดยอย่าเอาใจไปปรุงแต่งให้ทุกข์มากขึ้น.. แล้วเอามาพิจารณาให้เห็นอริยสัจ 4.. แล้วตั้งใจละชั่ว.. ทำกรรมดีต่อไป.. จะเป็นประโยชน์..
นั่นคือ กรรมปัจจุบัน ก็มีผลเช่นเดียวกัน.. เราไม่ได้เกิดมาเพื่อชดใช้กรรมให้หมดไป.. ”
(เพราะกรรมชั่วกรรมดีในอดีต.. มีมากมาย ชดใช้กันไม่หมด)..
ย้อนกลับไปในวัยเด็ก.. ตอนรอรถเมล์กลับบ้าน..
การที่ผู้เขียนตั้งใจรอจนคนขึ้นรถเบาบาง.. ทำให้การกลับถึงบ้านช้านั้น..
ศาสนาเชน อาจมองว่า ดีแล้ว ทรมานตนเองให้เดือดร้อน ยืนรอจนเมื่อยแข้งนั้น.. เป็นการชดใช้วิบากกรรมเก่าที่ทำให้รีบกลับบ้านไม่ได้.. ทนต่อไปเถิด กรรมเก่าหมดแล้ว ก็จะได้ขึ้นรถเมล์กลับบ้านได้เร็วขึ้น..
แต่ศาสนาพุทธไม่ได้เห็นแบบนั้น.. มองว่า การกลับบ้านช้า เป็นกรรมในปัจจุบัน เป็นกรรมใหม่ที่ผู้เขียนเพิ่งก่อขึ้นเอง..
แล้วถ้าวันนั้นโดนพ่อแม่ตีนี่..
จะไม่ยอมรับผิดว่า.. จะโยนบาปว่า ที่กลับบ้านช้าเป็นเพราะเวรกรรมในอดีต.. ไม่ใช่นะครับ.. เป็นเพราะกรรมใหม่ของเราเอง..
กรรมชั่วนั้น.. เมื่อทำแล้ว แก้ไขไม่ได้ จะส่งผลชั่วแน่นอน..
เว้นแต่ มีกรรมดีมาแทรกแซง ส่งผลทำให้กรรมชั่วบางเบา หรือกลบมิดได้..
เช่น การบรรลุธรรม..
ชาวพุทธจึงไม่ได้เกิดมาเพื่อชดใช้กรรมเก่าอย่างเดียว..
แต่เกิดมาเพื่อทำความดี เพื่อทำกรรมดีใหม่ด้วย..
กรรมชั่ว กรรมดี จึงอาจหักล้าง เจือจาง แทรกแซงกันและกันได้ตลอด..
ท่านจึงสอนว่า อย่าประมาท.. ในกรรมดีและกรรมชั่ว.. แม้เพียงเล็กน้อย..
ความบังเอิญ.. จึงไม่มีอยู่.. จริงๆ..
โฆษณา