Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รายการ ต้นรู้ โลกรู้ BY : Anurak News
•
ติดตาม
20 ก.พ. เวลา 06:19 • ข่าวรอบโลก
ซื่อสัตย์ - จริยธรรมตามกฎหมาย
จากกรณีข่าวของนายกคนที่ 30 ของประเทศไทย ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 ให้เศรษฐา ทวีสิน พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากขาดคุณสมบัติ ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จากปมทูลเกล้าฯ แต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทั้งที่พิชิตเคยต้องคำพิพากษาจำคุกหกเดือนฐานละเมิดอำนาจศาล
ศาลรัฐธรรมนูญแจงว่า เศรษฐา ทวีสินย่อมรู้หรือควรรู้ได้ว่าพิชิต ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามในการเป็นรัฐมนตรี แต่ยังดึงดันเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรี รวมถึงการไปพบทักษิณ ชินวัตรก่อนเสนอชื่อ ทำให้เศรษฐา มีพฤติกรรมขาดความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์และฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง
ผลของคดีนี้ เมื่อเศรษฐาขาดคุณสมบัติ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีจึงสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) และยังส่งผลสืบเรื่องให้รัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะตามมาตรา 167 วรรคหนึ่ง (1) โดยให้นำมาตรา 168 วรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต่อไป
ความหมายตามราชบัณฑิตยสถาน
นอกจากนั้นยังปรากฏเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ตามคำปรารภว่า รัฐธรรมนูญวางกลไกป้องกันตรวจสอบ ป้องกันการทุจริต และประพฤติมิชอบเข้มงวดเด็ดขาด เพื่อไม่ให้ผู้บริหารปราศจากคุณธรรมจริยธรรม ธรรมาภิบาล เข้ามาปกครองบ้านเมือง หรือใช้อำนาจตามอำเภอใจ จึงบัญญัติคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 เป็นคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมจากลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส.
ตามมาตรา 98 สอดคล้องเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ บุคคลมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ต้องมีคุณสมบัติสูงกว่า สส. เพราะรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานทางบริหาร และการปกครองประเทศ ความแตกต่างของคุณสมบัติตามมาตรา 160 (4) (5) นั้น เป็นกรณีความซื่อสัตย์สุจริตในภาพรวมทั่วไปที่ปรากฏในสังคม ส่วน (5) กรณีเฉพาะเจาะจงกำหนดในมาตรฐานทางจริยธรรมฯ
การพิจารณาว่าบุคคลใดมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ตาม 160 (4) และไม่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติตามจริยธรรม 160 (5) นั้น เป็นดุลยพินิจของนายกฯ จะต้องเป็นผู้พิจารณาในฐานะผู้รับผิดชอบในการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี และรับสนองพระบรมราชโองการดังกล่าว โดยผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ต้องรับผิดชอบ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามที่มีผู้ถวายคำแนะนำ
ความซื่อสัตย์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้
โดยนายกฯ มีความรับผิดชอบ 3 ประการ ได้แก่ 1.ความรับผิดชอบตามแบบพิธี 2.ความรับผิดชอบในข้อความของเอกสารที่นำกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย 3.ความรับผิดชอบในสารัตถะที่ถูกต้อง และความชอบของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายพิชิต เคยต้องโทษตามคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จาก “คดีถุงขนม 2 ล้านบาท” ซึ่งอาจเชื่อมโยงเป็นประโยชน์กับจำเลย (ทักษิณ ชินวัตร” คดีที่ดินรัชดาภิเษกที่อยู่การพิจารณาของศาลฎีกาฯ การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดอำนาจศาล และน่าจะมีมูลความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน หรือความผิดอื่นต่อเจ้าพนักงาน
นอกจากนี้นายพิชิต ประกอบอาชีพทนายความ และที่ปรึกษากฎหมายย่อมตระหนักดีว่า การกระทำดังกล่าวส่งผลเสียต่อสถาบันศาลยุติธรรม ส่งผลให้ จึงลงโทษสถานหนักลงโทษนายพิชิต และผู้ถูกกล่าวหาอื่นรวม 3 คน จำคุกคนละ 6 เดือน
ต่อมาในปี 2552 สภาทนายความฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่นายพิชิตถูกลงโทษละเมิดอำนาจศาล เป็นการกระทำไม่เคารพอำนาจศาล ทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาล และกระทบความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมไทย ผิดข้อบังคับสภาทนายความฯ ข้อ 6, 18 จึงสั่งลบชื่อนายพิชิต และผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องออกจากทะเบียนความ
ต่อมามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ นายเศรษฐา เป็นนายกฯ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2566 และโปรดเกล้าฯ ครม.ในวันที่ 1 ก.ย.2566 โดยไม่ปรากฏนายพิชิตเป็นรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อวันที่ 27 เม.ย.2567 นายเศรษฐา ได้กราบบังคมทูลเพื่อปรับปรุงรัฐมนตรีบางตำแหน่ง และปรากฏชื่อนายพิชิต เป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ จึงมีมูลต้องพิจารณาว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา นายกฯ สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เพราะไม่ซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ และไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ อย่างร้ายแรงจากการเสนอชื่อนายพิชิตเป็นรัฐมนตรีหรือไม่
โดยตามคำชี้แจงของนายเศรษฐา กล่าวอ้างนั้น เห็นว่า นายเศรษฐา ควรรู้ว่านายพิชิต ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ตามมาตรา 160 (4) (5) เนื่องจากนายพิชิตเคยถูกจำคุก 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล และถูกสภาทนายความลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ แม้คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า พ้นโทษเกิน 10 ปี ได้รับข้อยกเว้น ไม่เป็นลักษณะต้องห้ามเป็นรัฐมนตรี แต่ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว ให้ความเห็นคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 (6) (7) เท่านั้น ไม่รวมถึงลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 (4) (5)
เมื่อพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ เมื่อ 22 ส.ค.2566 และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ครม. เมื่อ 1 ก.ย. 2566 ไม่ปรากฏนายพิชิต เป็นรัฐมนตรี แต่ภายหลังเมื่อ 27 เม.ย. 2567 ปรากฏนายพิชิต ได้รับแต่งตั้งเป็น รมต.สำนักนายกฯ จึงมีปัญหาข้อเท็จจริงพิจารณาว่า นายเศรษฐารู้ข้อเท็จจริงว่านายพิชิต มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
มาตรา 71 ตามรัฐธรรมนูญ
นายเศรษฐา ย่อมต้องทราบประวัติ และลักษณะต้องห้ามของนายพิชิต จากเอกสารการตรวจประวัติที่เลขาธิการ ครม. เสนอมา และการชี้แจงของนายเศรษฐา ชี้แจงว่า นายพิชิตเคยได้รับโทษตามคำสั่งศาลฎีกาฯ ฐานละเมิดอำนาจศาลในปี 2551 และถูกลบชื่ออกจากสภาทนายความตั้งแต่ปี 2552 มาพิจารณาด้วย ประกอบกับไม่มีพฤติการณ์หรือกระทำอื่นใดที่นายพิชิตมาโต้แย้ง รวมถึงไม่พบว่านายพิชิตกระทำอะไรเป็นพิเศษ ไม่ถูกฟ้องคดีอาญา ทำให้นายเศรษฐาใช้วิจารณญาณวินิจฉัยว่า นายพิชิต ไม่ได้ขาดคุณสมบัติเป็นรัฐมนตรี
สอดคล้องกับเลขาธิการ ครม.ที่ว่า เมื่อตรวจสอบในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม จึงรายงานต่อนายเศรษฐา และนายเศรษฐาให้สำนักเลขาธิการ ครม.หารือคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว รับฟังได้ว่า นายเศรษฐา รู้หรือควรรู้พฤติการณ์ของนายพิชิต ที่ถูกกล่าวหาว่า มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 ไม่ว่าอนุมาตราใดมาตราหนึ่ง ก่อนเสนอตัดสินใจแต่งตั้งนายพิชิตเป็นรัฐมนตรี เมื่อนายเศรษฐารู้หรือควรรู้พฤติการณ์นายพิชิตแล้ว แต่ยังเสนอชื่อแต่งตั้งเป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นกรณีที่นายเศรษฐา ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต และฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 160 (4) หรือไม่
เห็นว่า พฤติการณ์ที่นายพิชิตถูกลงโทษ และถูกลบชื่อทนายความ เป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีเกียรติคุณของทนายความอย่างมาก เป็นการไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือไม่ เพราะซื่อสัตย์สุจริตไม่ใช่แค่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบเท่านั้น แต่ต้องเชื่อมั่นศรัทธา เชื่อถือได้ ให้วิญญูชนทราบว่า ยอมรับว่าเป็นคนซื่อสัตย์ หากเห็นว่าไม่เป็นเช่นนั้นย่อมถือว่า ไม่ใช่มีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์
ข้อเท็จจริงต้องยุติแล้ว ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้อีก เมื่อนายพิชิตมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 140 วรรคหนึ่ง (4) การที่นายเศรษฐา เสนอชื่อนายพิชิตเป็นรัฐมนตรี ย่อมปฏิบัติไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะเสนอบุคคลที่ไม่สมควรได้รับการแต่งตั้ง ให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
รายละเอียดการตรวจสอบต่อศาสรัฐธรรมนูญ
มาตรฐานทางจริยธรรม-คำปรารภรัฐธรรมนูญมัดแน่นต้านคนไม่มีคุณธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์ในเวลา 15.00 น. แถลงคำวินิจฉัยในคดีที่ 40 สว. ยื่นคำร้องผ่านประธานวุฒิสภาให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้ถอดถอนเศรษฐา ทวีสิน กรณีที่เศรษฐาเคยทูลเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้อยู่แล้วหรือควรรู้ว่าพิชิตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากพิชิตเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกฐานละเมิดอำนาจศาลจากกรณีหิ้วถุงขนมใส่เงินสดสองล้านบาทไปมอบให้เจ้าหน้าที่ธุรการศาลในช่วงที่มีการพิจารณาคดีที่ดินรัชดา ของทักษิณ ชินวัตร ในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
การที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาในคดีนี้มีที่มาจากกลุ่ม 40 สว. ชุดพิเศษ ที่อ้างว่าการที่พิชิตเคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งให้จำคุกหกเดือนฐานละเมิดอำนาจศาล ถือว่าพิชิตเป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริตและมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีทั้งของเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะต้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบ มาตรา 160 (4) และ (5)
หากจะสำรวจจากอดีตนายกรัฐมนตรีที่อยู่ไม่ครบวาระ
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมายให้ จิรนิติ หะวานนท์ วิรุฬห์ แสงเทียน อุดม สิทธิวิรัชธรรม และปัญญา อุดชาชน เป็นผู้อ่านคำวินิจฉัย โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย แจกแจงตามประเด็นได้ ดังนี้
รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 160 กำหนดคุณสมบัติของรัฐมนตรี (4) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และ (5) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง และมาตรา 170 (1) บัญญัติว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อ (4) คือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160
รายละเอียดศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากมาตรฐานทางจริยธรรมแล้วยังมีคำปรารภของรัฐธรรมว่า รัฐธรรมนูญนี้วางกลไกป้องกัน ตรวจสอบและขจัดการทุจริต และประพฤติมิชอบ ที่เข้มงวด เด็ดขาด เพื่อมิให้ผู้บริหารที่ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมือง หรือใช้อำนาจตามอำเภอใจ จึงบัญญัติคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไว้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 เป็นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมจากลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98
ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 (7) และ (8) คือไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ
เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทความผิดลหุโทษหรือความผิดฐานหมิ่นประมาท และ ไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือมาตรา 187 มาแล้วยังไม่ถึงสองปีนับถึงวันแต่งตั้ง สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสูงกว่าบุคคลที่จะเป็น สส. เนื่องจากรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานทางบริหารและทางการปกครองประเทศ
กรณีของถุงขนมกับเงิน 2 ล้านบาท
ความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และ (5) นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) เป็นกรณีความซื่อสัตย์ในภาพรวมทั่วไปของบุคคลที่ปรากฎต่อสังคม ส่วนกรณีตามมาตรา 160 (5) เป็นกรณีเฉพาะเจาะจงที่กำหนดไว้ในมาตรฐานทางจริยธรรม การพิจารณาว่าบุคคลใดมีคุณสมบัติตามมาตรา 160 (4) และ (5) เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี จะต้องเป็นผู้พิจารณาในฐานะผู้รับผิดชอบในการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลเป็นรัฐมนตรี และเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการดังกล่าว
โดยผู้รับสนองพระบรมราชโองการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการที่ตนลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั้นเสมอ เพราะมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามที่มีผู้ถวายคำแนะนำ ความรับผิดชอบดังกล่าวประกอบด้วย 3 ประการคือ ความรับผิดชอบในความถูกต้องตามแบบพิธีหรือกระบวนการได้มาโดยถูกต้องและสมบูรณ์ ความรับผิดชอบในข้อความของเอกสารที่นำขึ้นกราบบังคมทูลฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และความรับผิดชอบในสารัตถะที่ถูกต้องและความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน
ศาลรัฐธรรมนูญที่ลงคะเเนนเสียงโหวตถอดถอนนายกเศรษฐาจากตำเเหน่ง
ชี้เศรษฐาต้องรู้หรือควรรู้ว่าพิชิตมีลักษณะต้องห้าม
ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าในคำร้องของฝั่งผู้ร้อง (ประธานวุฒิสภา) ระบุว่า เศรษฐาต้องรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าพิชิตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือไม่ แม้ว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีความเห็นว่าการถูกลงโทษตามคำสั่งศาลให้จำคุกในกรณีดังกล่าวได้พ้นโทษเกิน 10 ปีแล้ว
ไม่เป็นลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการให้ความเห็นเฉพาะกรณีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (6) ประกอบมาตรา 98 (7) มาตรา 160 (7) เท่านั้น ไม่รวมถึงมาตรา 160 (4) (5)
จากการไต่สวนเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพบว่าก่อนจะนำชื่อบุคคลที่จะได้รับการโปรดกล้าฯ เป็นรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงโปรเกล้าฯ นั้น จะต้องมีกระบวนการขั้นตอนในการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้นอย่างละเอียดแล้ว ศาลพิจารณากระบวนการตรวจสอบดังกล่าว
แล้วเป็นที่แน่ชัดว่านายกรัฐมนตรีจะย่อมต้องทราบถึงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของพิชิต ชื่นบาน จากกระบวนการตรวจสอบของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ข้อเท็จริงดังกล่าวข้างต้นจึงรับฟังได้ว่านายกรัฐมนตรีได้รู้หรือควรรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของพิชิต ตามที่ถูกกล่าวหาว่าอาจมีลักษณะต้องห้ามก่อนที่จะเสนอแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี
#ข่าวรอบโลก #เศรษฐา #การเมือง #นายก30 #ประเทศไทย #ศาลรัฐธรรมนูญ
เรียบเรียงโดย อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม
ข่าวรอบโลก
การเมือง
ประเทศไทย
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย