4 มี.ค. เวลา 05:00 • สิ่งแวดล้อม

ปิด ‘โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์’ เปิดใช้เพียง 11 ปี ไม่คุ้มทุน สู้โซลาร์เซลล์ไม่ได้

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อิวานปาห์ เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในปี 2014 บนพื้นที่ของรัฐบาลกลางประมาณ 5 ตารางไมล์ใกล้ชายแดนแคลิฟอร์เนีย-เนวาดา แม้ว่าโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะได้รับการยกย่องว่าเป็นก้าวสำคัญสำหรับพลังงานสะอาดในขณะนั้น แต่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ก็ยังต้องแข่งขันกับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์อื่น ๆ ที่มีราคาถูกกว่า
ในตอนนี้ Pacific Gas & Electric ผู้จัดหาแก๊สธรรมชาติและไฟฟ้า และ บริษัทพลังงาน NRG Energy Inc ผู้เป็นเจ้าของร่วม ตกลงที่จะยุติสัญญาโรงไฟฟ้าอิวานปาห์ หากหน่วยงานกำกับดูแลอนุมัติข้อตกลงดังกล่าว จะส่งผลให้โรงไฟฟ้า 2 แห่งจากทั้งหมด 3 แห่งปิดตัวลงในปี 2026 โดยสัญญาคาดว่าจะมีผลบังคับใช้จนถึงปี 2039
โรงไฟฟ้าอิวานปาห์ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า “พลังงานแสงอาทิตย์แบบรวมความเข้มข้น” หรือ CSP (Solar-Concentrated Solar) เป็นระบบที่สร้างพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยใช้กระจกหรือเลนส์เพื่อรวมแสงอาทิตย์เป็นบริเวณกว้างเข้าสู่ตัวรับ ซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งนี้มีแผ่นกระจกขนาดเท่าประตูโรงรถราว 350,000 บาน คอยสะท้อนแสงแดดไปยังหม้อน้ำบนหอคอยสูงเกือบ 140 เมตร เมื่อพลังงานจากดวงอาทิตย์เข้มข้นมากพอ จะเปลี่ยนน้ำนี้ให้เป็นไอน้ำซึ่งจะขับเคลื่อนกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า
ปัญหาใหญ่ที่สุดสำหรับของโรงไฟฟ้าแห่งนี้คือ นวัตกรรมที่เรียกว่า “แผงโซลาร์เซลล์” ที่มีราคาถูกกว่ามากและใช้งานได้ดี เพราะตอนที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ถูกสร้างขึ้น ไม่มีใครคิดว่าแผงโซลาร์เซลล์จะมีราคาถูกขนาดนี้ แต่ตอนนี้ในบางประเทศแผงโซลาร์เซลล์มีราคาถูกพอ ๆ กับรั้วบ้าน และจะมีแบตเตอรี่ที่จุไฟได้มากขึ้น
1
แม้ว่าโรงไฟฟ้าจะตั้งอยู่ในทะเลทรายโมฮาวีที่กว้างใหญ่และมีแสงแดดสาดส่องตลอดเวลา แต่ทะเลทรายแห่งนี้ก็ยังเป็นที่อยู่อาศัยของเต่าทะเลทรายที่ใกล้สูญพันธุ์อีกด้วย ถึงผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าจะตกลงใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อปกป้องและย้ายสัตว์เหล่านี้ไปอยู่ที่อื่น นักสิ่งแวดล้อมหลายคนเชื่อว่าไม่ควรอนุมัติโรงงานแห่งนี้
นอกจากนี้ แสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากกระจกแผ่นใหญ่เป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ปีกหลายพันตัวถูกเผาตาย อีกทั้งยังทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชพันธุ์ในทะเลทรายที่หายากอีกจำนวนมาก
โฆษณา