เมื่อวาน เวลา 05:29 • การเมือง

ถึงเวลาแล้วที่ “ยุโรป” ต้องคิดนอกกรอบ?

สื่อด้านนโยบายต่างประเทศอย่าง Foreign Policy ได้เผยแพร่บทความที่น่าสนใจเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2025 หรือเป็นวันที่ฝั่งตัวแทนของสหรัฐกับฝั่งตัวแทนของรัสเซียได้คุยเจรจากันไปเป็นรอบแรก โดยไม่มียูเครนและยุโรปเข้ามาอยู่ในภาพของการเจรจา ชื่อเรื่องบทความคือ “It’s Time for Europe to Do the Unthinkable” เขียนโดย กิชอร์ มาห์บูบานี นักการทูตและที่ปรึกษาด้านภูมิรัฐศาสตร์ชาวสิงคโปร์ และเคยเป็นอดีตผู้แทนถาวรของสิงคโปร์ประจำสหประชาชาติ
ขอสรุปเป็นประเด็นสำคัญเลยจากในบทความดังกล่าว ผู้เขียนต้นเรื่องเขาโต้แย้งว่ากลุ่มผู้นำยุโรปได้กลายมาเป็นคนน่าสมเพชมากเพราะเชื่อฟังวอชิงตันนานเกินไปจน “พวกเขาประจบคนที่ทำร้ายพวกเขาเอง” เขาโต้แย้งแนวความคิดเชิงยุทธศาสตร์แบบเด็กๆ ของยุโรปที่ว่าสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรที่ไว้วางใจได้โดยสิ้นเชิง แม้จะมีหลักฐานมากมายที่บ่งชี้ว่าสหรัฐฯ ไม่น่าไว้วางใจเลยก็ตาม
1
เขาแนะนำให้กลุ่มผู้นำชาวยุโรปพิจารณาทางเลือกแบบหลุดกรอบสามทางเพื่อฟื้นฟูสถานะทางภูมิรัฐศาสตร์ของตนดังต่อไปนี้
1. ยุโรปควรประกาศด้วยความเต็มใจไปเลยว่าจะถอนตัวออกจากนาโต
ส่วนงบการใช้จ่ายทางการทหาร 5% นับเป็นมูลค่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเขากล่าวว่ามากกว่าการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศของสหรัฐฯ ยุโรปควรเก็บเงินไว้และไม่ควรให้ไปเปล่าๆ กับสหรัฐฯ ทำไมยุโรปจึงควรทุ่มเงินหลายล้านล้านดอลลาร์สำหรับอาวุธของสหรัฐฯ ในเมื่อสามารถใช้เงินนั้นเพื่อค้ำจุนเศรษฐกิจของตนเองได้
1
2. หันไปทำข้อตกลงเชิงยุทธศาสตร์ครั้งใหม่กับรัสเซีย
เขาโต้แย้งว่ารัสเซียไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อสหภาพยุโรป ดังนั้นควรประนีประนอมกับรัสเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านจะดีกว่า
2
3. จัดทำข้อตกลงเชิงยุทธศาสตร์ฉบับใหม่กับจีน
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและจีน เขาเขียนว่า “ชาวยุโรปเชื่ออย่างโง่เขลาว่าการภักดีต่อลำดับความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของอเมริกาอย่างไม่ลดละจะนำไปสู่ผลตอบแทนทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มั่งคั่งสำหรับพวกเขา” แต่กลับกลายเป็นว่า “พวกเขากลับโดนทำร้ายเสียเอง”
สรุปแล้วคือ คำถามมีอยู่ว่ายุโรปจะยังทะนุถนอมความสัมพันธ์ที่ดีกับทางสหรัฐอยู่เหมือนเดิมหรือไม่
อ้างอิงบทความต้นเรื่องได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
21st Feb 2025
  • อ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Gregori Saavedra / The Economist>
โฆษณา