Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Cashury
•
ติดตาม
วันนี้ เวลา 07:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อัตราส่วนทางการเงิน ที่เราควรติดตามอยู่สม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพการเงินที่ดีขึ้น
เชื่อว่าหลายคนคงจะฝันว่าอยากมีสุขภาพการเงินที่แข็งแกร่งและมั่นคง แต่สิ่งนี้จะเป็นไม่เป็นจริงถ้าเราไม่ติดตามการเงินของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
วันนี้เรามาแชร์ “อัตราส่วนทางการเงิน” ที่ทุกคนควรติดตามอย่างสม่ำเสมอ จะจดไว้ใน Excel หรือในสมุดก็ได้ เลือกตามที่สะดวกได้เลย
ซึ่งอัตราส่วนเหล่านี้จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของสถานะการเงินของตนเองชัดขึ้น มองเห็นการเงินในด้านที่แข็งแรงและด้านที่อ่อนแอที่ต้องปรับปรุง
1. อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน (Basic Liquidity Ratio)
วิเคราะห์สินทรัพย์สภาพคล่องที่มีอยู่สามารถเอาเงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้กี่เดือนถ้าเราตกงานหรือขาดรายได้
วิธีคิด : สินทรัพย์สภาพคล่อง ÷ ค่าใช้จ่ายต่อเดือน
เกณฑ์มาตรฐาน : 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
2. อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องต่อความมั่งคั่งสุทธิ
หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เราสามารถเอาสินทรัพย์สภาพคล่องที่มีอยู่สามารถแปลงเป็นเงินสดเพื่อนำไปชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน หากต่ำกว่าเกณฑ์แสดงว่ามีสินทรัพย์สภาพคล่องที่น้อยเกินไป
วิธีคิด : สินทรัพย์สภาพคล่อง ÷ ความมั่งคั่งสุทธิ
เกณฑ์มาตรฐาน : 15%
3. อัตราหนี้สินต่อสินทรัพย์
อัตราส่วนที่บอกว่า ตอนนี้เรามีหนี้สินคงค้างมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมด
วิธีคิด : หนี้สินรวม ÷ สินทรัพย์รวม
เกณฑ์มาตรฐาน : น้อยกว่า 50%
4. อัตราส่วนแสดงการชำระคืนหนี้สินจากรายได้
แสดงให้เห็นว่า ในทุกๆ เดือน เราต้องผ่อนจ่ายหนี้เป็นสัดส่วนเท่าไหร่เมื่อเทียบกับรายได้ที่หาได้ในแต่ละเดือน หากคำนวณแล้วต่ำกว่าเกณฑ์ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากๆ แต่ถ้าเกินเกณฑ์ก็ควรจะระวังมากๆ เพราะเป็นสัญญาณที่บอกว่าเราหาเงินมาเท่าไหร่ก็ต้องเอาไปผ่อนหมดและจะทำให้ไม่มีเงินเหลือไปใช้ทำอย่างอื่นที่สำคัญ
วิธีคิด : เงินผ่อนชำระคืนหนี้ต่อเดือน ÷ รายรับรวมต่อเดือน
เกณฑ์มาตรฐาน : ไม่เกิน 35-45%
5. อัตราส่วนการออมและการลงทุน
การออมและการลงทุนของตัวเองในแต่ละเดือนเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ ยิ่งมีการออมและการลงทุนก็มีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้ง่ายมากขึ้น
วิธีคิด : เงินออมและลงทุนต่อเดือน ÷ รายรับรวมต่อเดือน
เกณฑ์มาตรฐาน : อย่างน้อย 10-25% ของรายได้ต่อเดือน
6. อัตราส่วน Lifestyle Inflation
Lifestyle Inflation คือ การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายเมื่อเรามีรายได้มากขึ้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมการใช้เงินเพื่ออัปเกรดไลฟ์สไตล์ของตัวเอง หลายคนมักติดกับดักนี้แบบไม่รู้ตัว ดังนั้นอัตราส่วน Lifestyle Inflation จะแสดงให้เห็นว่า การใช้จ่ายของเราเพิ่มขึ้นเท่าไหร่เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น
วิธีคิด : จำนวนเงินรายจ่ายที่เปลี่ยนแปลง ÷ จำนวนเงินรายได้ที่เปลี่ยนแปลง
เกณฑ์มาตรฐาน : ไม่เกิน 1
การลงทุน
การเงิน
ความรู้รอบตัว
บันทึก
4
1
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย