9 ชั่วโมงที่แล้ว • หุ้น & เศรษฐกิจ

[ #MakeRich ] กองทุนประกันสังคมกระจายพอร์ตลงทุน 2.66 ล้านล้านบาทอย่างไร?

เปิดโครงสร้างการลงทุนของกองทุนประกันสังคมและหุ้น 10 อันดับที่กองทุนประกันสังคมลงทุนมากที่สุด
กองทุนประกันสังคมเป็นระบบสวัสดิการภาคบังคับที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองแรงงานและประชาชนในกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ว่างงาน คลอดบุตร ชราภาพ และเสียชีวิต โดยมีแหล่งเงินทุนมาจากการสมทบร่วมกันระหว่าง ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล
[ 📌 ใครต้องจ่ายประกันสังคมบ้าง และจ่ายเท่าไหร่? ]
- ลูกจ้างในระบบ (มาตรา 33) ต้องจ่ายเงินสมทบ 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน
- นายจ้างจ่ายในอัตราเดียวกัน คือ 5% ของเงินเดือนลูกจ้าง
- รัฐบาลร่วมจ่ายเพิ่มเติมตามสัดส่วนที่กำหนด
เงินที่สะสมจากการสมทบนี้ นอกจากจะถูกนำไปใช้จ่ายตามสวัสดิการต่างๆ แล้ว ส่วน
หนึ่งยังถูกนำไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกผลและสร้างความมั่นคงในระยะยาว
📊 ทำให้กองทุนประกันสังคม ถือเป็นนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ รายหนึ่งหนึ่ง เนื่องจากกองทุนประกันสังคมเป็นหนึ่งในกองทุนบำเหน็จบำนาญภาคบังคับ (Mandatory Pension Fund) ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารเงินลงทุน เพื่อให้เกิดผลตอบแทนและความมั่นคงทางการเงินสำหรับผู้ประกันตนในระยะยาว
[ 📌 โครงสร้างการลงทุนของกองทุนประกันสังคม ]
จากข้อมูล ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2567 เงินลงทุนของกองทุนประกันสังคม มีมูลค่าทั้งสิ้น 2,657,245 ล้านบาท
กองทุนแบ่งการลงทุนออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่
1.หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง (Safe Assets) 71.58% หรือประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท
- พันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตร ธปท. 52.23%
- เงินฝากธนาคาร 2.45%
- หุ้นกู้เอกชนที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ 3.04%
- หน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ 13.86%
2. หลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง (Risk Assets) 28.42% หรือประมาณ 755,179 ล้านบาท
- ตราสารทุนไทย 8.75%
- หน่วยลงทุนตราสารทุนต่างประเทศ 13.60%
- หน่วยลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน และทองคำ 4.26%
- หน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 1.74%
- พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ที่ ก.คลัง ไม่ค้ำประกัน 0.07%
💡 กองทุนเน้นถือสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงมากกว่า 70% ตามกฎระเบียบการลงทุนที่กำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงไม่ต่ำกว่า 60% และหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงไม่เกิน 40%
[ 🔍 การลงทุนในประเทศและต่างประเทศของประกันสังคม ]
นอกจากนี้ ยังมีการกระจายการลงทุนไปยังทั้งในและต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการลงทุนในประเทศ มูลค่า 1,800,064 ล้านบาท คิดเป็น 67.74% และต่างประเทศ มูลค่า 857,181 ล้านบาท คิดเป็น 32.26%
เมื่อเทียบกับข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 จะพบว่ามีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนไปยังต่างประเทศจากเดิม 30.17% (780,430 ล้านบาท) เป็น 32.26% และมีแนวโน้มว่าจะปรับสัดส่วนการลงทุนใน “ต่างประเทศ” ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนต่างประเทศเป็น 40% และในประเทศ 60% โดยในปี 2568 ตั้งเป้าผลตอบแทนของกองทุนประกันสังคมอยู่ที่ 5% หรือ 70,000 ล้านบาท และในปี 2569 ผลตอบแทนอยู่ที่ 6% หรือ 70,000 ล้านบาท (ข้อมูลจาก DEEP Talk กรุงเทพธุรกิจ)
💡 ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข หรือสัดส่วนการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ(ฉบับที่ 😎 กำหนดให้ลงทุนในต่างประเทศได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 47 ของเงินกองทุน
[ 📈 ผลตอบแทนจากการลงทุน ]
ในปี 2567 กองทุนได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนที่รับรู้แล้วรวม 71,960 ล้านบาท มาจาก
- ดอกเบี้ยรับและกำไรจากการขายตราสารหนี้ 42,774 ล้านบาท
- เงินปันผลรับและกำไรจากการขายตราสารทุน 29,186 ล้านบาท
หากดูสถิติย้อนหลัง 10 ปี จะเห็นว่าผลตอบแทนจากการลงทุนมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกปี
[ พอร์ตประกันสังคมมีหุ้นอะไรบ้าง? 🗃️ ]
The bangkok insight รายงานว่าพอร์ตการลงทุนของประกันสังคม ใช้หลักการ “กระจายการลงทุน” (Asset Allocation) ในหลากหลายสินทรัพย์ ทั้งสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง และสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นในหลากหลายอุตสาหกรรม
พอร์ตหุ้นประกันสังคม คิดเป็นมูลค่ารวมอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท โดยใน ปี 2567 ที่ผ่านมา หุ้นกว่า 101 รายการ อยู่ในลิสต์ SET50 จำนวน 36 หลักทรัพย์ และหุ้น 10 อันดับแรก ที่กองทุนประกันสังคมลงทุนมากที่สุด กระจุกตัวอยู่ที่หุ้น Big Cap. ที่เป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย เช่น
1. หุ้น ADVANC: บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
คิดเป็นสัดส่วน 6.81% ของทั้งหมด มูลค่ารวมประมาณ 18,300 ล้านบาท
2. หุ้น PTT: บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
คิดเป็นสัดส่วน 6.81% ของทั้งหมด มูลค่ารวมประมาณ 15,000 ล้านบาท
3. หุ้น BDMS: บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
คิดเป็นสัดส่วน 5.69% ของทั้งหมด มูลค่ารวมประมาณ 12,500 ล้านบาท
4. หุ้น CPALL: บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
คิดเป็นสัดส่วน 5.56% ของทั้งหมด มูลค่ารวมประมาณ 12,200 ล้านบาท
5. หุ้น KBANK: ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
คิดเป็นสัดส่วน 5.53% ของทั้งหมด มูลค่ารวมประมาณ 12,100 ล้านบาท
6. หุ้น SCB: บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน)
คิดเป็นสัดส่วน 5.36% ของทั้งหมด มูลค่ารวมประมาณ 11,800 ล้านบาท
7. หุ้น AOT: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
คิดเป็นสัดส่วน 5.29% ของทั้งหมด มูลค่ารวมประมาณ 11,600 ล้านบาท
8. หุ้น BBL: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
คิดเป็นสัดส่วน 5.21% ของทั้งหมด มูลค่ารวมประมาณ 11,500 ล้านบาท
9. หุ้น SCC: บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
คิดเป็นสัดส่วน 4.62% ของทั้งหมด มูลค่ารวมประมาณ 10,200 ล้านบาท
10. หุ้น BCP: บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
คิดเป็นสัดส่วน 3.44% ของทั้งหมด มูลค่ารวมประมาณ 7,500 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าในปี 2567 ที่ผ่านมา พอร์ตนี้ได้มีการเพิ่มหุ้นใหม่เข้ามาอีก 26 ตัว ในอีก 10 กลุ่มอุตสาหกรรมได้แก่
- หุ้นในกลุ่มพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน GULF, SSP, THCOM
- หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และ REITs
ทรัสต์ซ AXTRART, SIRIPRT , AIMIRT , KPNREIT
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ QH, PSH ,PLAT
- หุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลและสุขภาพ BH
- หุ้นในกลุ่มการเงินและสินเชื่อ MTC
- หุ้นในกลุ่มกลุ่มการท่องเที่ยวและบริการ MINT , ERW
- หุ้นในกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ AAV , SJWD
- หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีและดิจิทัล HANA, KCE, BBIK, SKY
- หุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและอาหาร ITC, ICHI
- หุ้นในกลุ่มสื่อและบันเทิง BEC ,MAJOR
- หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมและรับเหมาก่อสร้าง CK , FORTH
⚠ [ปล. ไม่ใช่บทความแนะนำการลงทุน]
🔍 อ้างอิง:
ข้อมูลจากรายงานการลงทุนของกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567
ประกันสังคม แกะพอร์ต 2.2 แสนล้านบาท ถือตัวไหนมากที่สุด?
ประกันสังคมลุย ‘ขุมทรัพย์ใหม่’ ขยายพอร์ตลงทุน 'สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น'
#aomMONEY #ประกันสังคม #กองทุนประกันสังคม #การเงิน #แนวทางธุรกิจ #หุ้น
โฆษณา