เมื่อวาน เวลา 14:00 • สุขภาพ

ตกลง PM2.5 มาจากไหนกันแน่

หลังช่วงที่ฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงในหลายพื้นที่ ทำให้หลายคนให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและแนวทางการป้องกันการสร้างฝุ่น PM2.5 มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาชีวมวล และมลพิษจากยานพาหนะ ที่ถูกตีตราว่าเป็นต้นเหตุของการกำเนิดและสะสมฝุ่น PM2.5 แต่ถึงกระนั้น ปัญหาฝุ่น PM2.5 ก็ไม่ได้ลดลงเท่าที่ควร
ทำให้เริ่มเกิดการตั้งคำถามว่า หรือบางทีการโฟกัสแค่การเผาและมลพิษด้านการขนส่งและอุตสาหกรรม อาจเป็นแค่ "เป้าหลอก" ของการแก้ไขปัญหามลพิษ และการแก้ปัญหาแท้จริงของ PM2.5 อาจซับซ้อนกว่านั้น
PM2.5 เกิดจากทั้งแหล่งกำเนิดโดยตรง (Primary PM) และกระบวนการทางเคมีในบรรยากาศ (Secondary PM) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อนระหว่างมลพิษทางอากาศและสารประกอบในชั้นบรรยากาศ
PM 2.5 แบบปฐมภูมิ โดยเกิดจากแหล่งกำเนิดโดยตรง โดย ฝุ่นที่เกิดบนพื้นดิน หรือ ถนน นั้นมีสัดส่วนของ PM 2.5 ประมาณครึ่งหนึ่ง ส่วนฝุ่นจากการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นฝุ่นละอองขนาดใหญ่ มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่เป็น PM 2.5 และฝุ่นที่เกิดจากเผาไหม้ ไม่จะเป็นการเผาทางกษตรกรรม หรือ การเผาในครัวเรือน หรือการเผาในเครื่องยนต์ดีเซล หรือ เผาน้ำมันดิบ ฝุ่นละออกที่ได้เป็นฝุ่ละอองขนาดเล็ก โดยเป็น PM 2.5 ร้อยละ 95 ขึ้นไป
ส่วน PM 2.5 แบบทุติยภูมิ เป็น PM 2.5 ที่เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนรูปของมลพิษ คือการที่มลพิษทางอากาศไปทำปฏิกริยาลูกโซ่ทางเคมี แล้วเกิดมลพิษตัวใหม่หรือหลายตัว ประกอบด้วย
1. PM2.5 จากฝุ่นซัลเฟต (Sulfate Particles)
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO₂) จากการเผาไหม้ถ่านหินและน้ำมันเชื้อเพลิงทำปฏิกิริยากับไฮดรอกซิลเรดิคัล (OH·) และออกซิเจน เกิดเป็นซัลฟิวริกแอซิด (H₂SO₄) ซึ่งสามารถจับตัวกับแอมโมเนีย (NH₃) ในอากาศเกิดเป็นแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH₄)₂SO₄) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ PM2.5
ซึ่งถ้าเกิดในภาวะที่อากาศปิดทำให้การกระจายอากาศได้ไม่ดีร่วมกันวันที่มีหมอกด้วย ก็จะเกิดหมอกควันขึ้น (smog) ซึ่งเคยเกิดที่ London ในเดือนธันวาคม ปี 1952 ทำให้เกิดหมอกควันหนานานถึง 4-5 วัน และสัมพันธ์กับการเสียชีวิตมากถึง 4000 คน ซึ่งทำให้เกิดฝนกรดขึ้นด้วย ทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อนสารกรด
2. PM2.5 จากไนเตรต (Nitrate Particles)
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไนเตรต ซึ่งมักเกิดจากปุ๋ยและชีวมวลทางการเกษตร ไนโตรเจนออกไซด์ (NOₓ) จะทำปฏิกิริยากับโอโซน (O₃) หรือไฮดรอกซิลเรดิคัล (OH·) ในบรรยากาศ ทำให้เกิดกรดไนตริก (HNO₃) ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับแอมโมเนีย (NH₃) เกิดเป็นแอมโมเนียมไนเตรต (NH₄NO₃) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ PM2.5
โอโซนไปทำปฏิกิริยากับไนตริกออกไซด์ ได้ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และ ออกซิเจน ส่วน Atomic Oxygen เมื่อทำปฏิกิริยากับสารไฮโดรคาร์บอน (HC ) ซึ่งท้ายที่สุดจะได้ Adehydes และ Ketones Ozone และ Peroxyacetyle Nitrate (PAN) ซึ่งเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) นอกจากจะทำให้เกิดหมอกควันแล้ว NO2 เป็นสารมีสีน้ำตาลเหลือง และ Aldehyde , PAN,Ozone,NO2 ทำให้ระคายเคือง
วิกฤต PM2.5 ใน กทม.และปริมณฑลในช่วงเดือน มกราคม 2562 ซึ่งมีอาการระคายเคืองตา และแสบตาแสบคา และมีกลิ่นเหม็นไหม้ แสดงว่ามี PM 2.5 แบบ ทุติยภูมิร่วมด้วยนั่นเอง
เนื่องจากไทยเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก รายได้ส่วนใหญ่มากจากการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเช่นข้าว ทำให้มีปริมาณการใช้ปุ๋ยจำนวนมาก และมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมทางการเกษตร สิ่งเหล่านี้สร้างสารตั้งแต่ที่สามารถนำไปสู่การเกิดฝุ่น PM2.5 ได้
นอกจากนี้ โรงอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากปล่อยมลพิษแล้ว ยังปล่อยรังสีอินฟราเรด
ทำให้เกิด hot spot ซึ่งถูกดักจับได้โดยดาวเทียมวงโคจรต่ำ
ซึ่งนั่นหมายความว่า Hot spot ที่เพจต่างๆงัดออกมาเพื่อกล่าวถึงฝุ่นและวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็อาจไม่ได้แม่ยำเสมอไป ยิ่งไปกว่านั้น การกล่าวโทษเพียงแค่การเผาชีวมวลอย่างไร้เหตุผล ก็อาจเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะแม้จะจัดการกับการเผาได้เกือบทั้งหมด ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาฝุ่น PM2.5 จะหมดไป
การแก้ไขปัญหา PM2.5 ที่ต้นตอและยั่งยืน จึงเป็นความท้าทายอย่างมาก การกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมและยานยนต์ จำกัดการก่อมลพิษ และมีข้อกำหนดเรื่องการใช้ปุ๋ยทางการเกษตรอย่างเหมาะสม ร่วมกับการมีมาตรการดักจับฝุ่นและแจ้งเตือนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ คือหนทางที่ท้าทายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ว่าจะสามารถมอบอากาศสะอาดให้คนไทยได้หรือไม่
อ้างอิง
โฆษณา