เมื่อวาน เวลา 13:22 • การเมือง

ทำไมช่วงนี้ “ทรัมป์” ถึงตีซี้ “ปูติน”

ทำไมรัสเซียถึงแสดงท่าทีโอนอ่อนตามสหรัฐ ทั้งที่รัสเซียคิดว่ากำลังชนะอยู่แล้ว มีแผนการที่น่าสงสัยในยูเครน?
เหตุใดทรัมป์จึงเทยูเครนและยุโรปและเข้าไปตีซี้ปูตินมากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นแผนอันชาญฉลาดหรือเป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการตื่นตัวเพื่อหวังผลกันแน่ อเล็กซานเดอร์ บาวนอฟ นักวิจัยอาวุโสแห่งศูนย์คาร์เนกีด้านรัสเซียและยูเรเซียศึกษาแห่งเบอร์ลินได้ให้ความคิดเห็นเอาไว้ในบทความเผยแพร่ของสถาบันดังกล่าวหลังมีการเจรจาเริ่มขึ้นที่ริยาดแล้ว [1]
1
  • เหตุใดสหรัฐอเมริกาและรัสเซียจึงตกลงที่จะ “ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูต”
เมื่อวิเคราะห์ผลการประชุมที่ริยาด พบว่ามีเพียงไม่กี่คนที่ให้ความสนใจกับประเด็นที่รัสเซียและสหรัฐฯ ตกลงที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และคืนจำนวนภารกิจให้เท่ากับก่อนสงครามยูเครน นั่นหมายความว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐหลายร้อยคนจะกลับไปทำงานในสถานทูตสหรัฐฯ ในมอสโกและสถานกงสุลในภูมิภาคของรัสเซียอีกครั้ง แต่ว่ามันไปขัดแย้งกับนโยบายการลดจำนวนเจ้าหน้าที่และตัดการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่จำเป็นของ “อีลอน มัสก์” หัวหน้า DOGE [2]
ความสัมพันธ์กับมอสโกมีความสำคัญต่อทำเนียบขาวมากถึงขนาดที่ทรัมป์พร้อมที่จะดำเนินนโยบายที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับนโยบายประหยัดงบทางการขั้นสุดเลยอย่างนั้นเหรอ? ซึ่งทรัมป์เองก็นำเสนอนโยบายดังกล่าวอย่างมีสีสันต่อกลุ่มฐานเสียงของเขาในตอนเลือกตั้งด้วย
1
เครดิตภาพ: Emil Lendof/WSJ, Getty Images
การลดจำนวนคณะผู้แทนทางการทูตและการเรียกทูตกลับประเทศถือเป็นมาตรการส่งสัญญาณที่ทั้งสองฝ่ายใช้เมื่อเกิดการเผชิญหน้าเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อพฤติกรรมของกันและกัน (เป็นเรื่องปกติทางการทูต) ส่วนการเพิ่มจำนวนนักการทูตเป็นสัญญาณที่ชัดเจนของการกลับสู่ภาวะปกติ เหตุการณ์จบลงแล้ว และเป็นสัญญาณของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพราะทั้งสองฝ่ายต่างรู้ดีว่ายิ่งมีเจ้าหน้าที่ในสถานทูตมากเท่าไร เจ้าหน้าที่ข่าวกรองที่มีหนังสือเดินทางทางการทูตก็จะมีมากขึ้นเท่านั้นในประเทศ
2
กระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียได้แสดงความเห็นในเรื่องนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง คณะผู้แทนรัสเซียที่เดินทางไปริยาดบอกว่า “ตกลงที่จะแต่งตั้งทูตโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเริ่มหารือกันเกี่ยวกับการขจัดข้อจำกัดเกี่ยวกับกิจกรรมของคณะผู้แทนทางการทูต”
นั่นอาจเป็นเพราะกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียรับรู้ถึงปัญหาในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการออกวีซาและข้อตกลงทางการทูต “การส่งคืนทรัพย์สินที่ถูกอายัด” และการเปิดสถานกงสุลที่ถูกปิดตายเท่านั้น
แต่ยังเป็นเพราะในช่วง 3 ปีของสงครามยูเครนที่ผ่านมา การทูตของรัสเซียได้ทุ่มความพยายามทั้งหมดเพื่อใช้ประโยชน์จากแนวทางต่อต้านตะวันตกของเครมลิน โดยกำหนดให้สงครามกับยูเครนเป็นวิถีใหม่ในการต่อสู้ลัทธิล่าอาณานิคมระดับโลก และตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่ารัสเซียจะต้องทำอย่างไรกับพันธมิตรใหม่ในการลุกฮือต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก
5
อย่างไรก็ตามการทูตของรัสเซียได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแล้ว และพันธมิตรของรัสเซียในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Global South) ทั่วโลกก็มองอยู่ว่าพวกเขาจะได้รับชัยชนะร่วมกันเหนือโลกตะวันตกได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์กำลังเคลื่อนไหวในทิศทางที่เดาทางไม่ถูก
1
เครดิตภาพ: James Ferguson / Financial Times
  • ทรัมป์ไม่สามารถเล่นตามกฎได้ ดังนั้นเขาจึง “แหกกฎ” มันเสียเลย
1
แนวทางของรัฐบาลทรัมป์ชุดนี้ชวนให้นึกถึงการหาเหตุผลเข้าข้างตนเองให้กับการกระทำของปูติน อย่าง “ทั้งหมดนี้ก็เพื่อบรรลุเป้าหมายที่มีประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและปกป้องผลประโยชน์ของชาติที่แท้จริง” บลา บลา
การเปลี่ยนแปลงนโยบายแบบฉับพลันของอเมริกาภายใต้ทรัมป์ก็ถูกสะท้อนออกมาด้วยเช่นกันผ่านเรื่องนี้ อย่างทฤษฎีโฆษณาชวนเชื่อจากฝั่งรัสเซียเกี่ยวกับผู้นำยูเครนก็ถูกเห็นคล้อยตามจากวอชิงตันด้วยเช่นกัน อย่างเรื่องที่เซเลนสกีมีคะแนนนิยมตกต่ำเหลือเพียงแค่ 4% ไม่มีความขอบธรรมในการบริหารประเทศยูเครนแล้ว [3]
นอกเหนือจากคำพูดของทรัมป์แล้ว เรายังเห็นการกระทำและสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นแนวทางปฏิบัติของเขาอีกด้วย
  • ประการแรก: จังหวะที่เร่งรีบของทีมทรัมป์ ไม่ยอมให้ฝ่ายตรงข้ามรวมถึงพันธมิตรของสหรัฐฯ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น กลับมามีสติ รวบรวมความคิดและสติใหม่ กำลังพูดถึงพันธมิตรในยุโรปและเอเชีย ขณะที่บางคนหลับตา วอชิงตันก็ตื่นขึ้น และในเช้าวันรุ่งขึ้น โลกเก่าก็ต้องจัดการกับข่าวชุดใหม่จากทรัมป์และทีมของเขา เล่นให้เขวกันไปเลย
4
ผู้ที่เกลียดชังระเบียบโลกปัจจุบันที่เป็นของตะวันตกมักปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อเห็น “กอร์บาชอฟแห่งอเมริกา” ผู้ที่ยอมบ่อนทำลายระบบของตนเองจากภายใน อย่างไรก็ตามในแง่ของจังหวะการกระทำของเขา ทรัมป์ชวนให้นึกถึงช่วงแรกที่เยลต์ซินเป็นประธานาธิบดีรัสเซีย หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต คืนอำนาจอธิปไตยในภูมิภาคอย่างรวดเร็ว เปิดการค้าเสรี และการเริ่มต้นของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
เครดิตภาพ: Yeltsin photo by Shepard Sherbell/Corbis via Getty Images / Trump photo by Samuel Corum/Anadolu Agency/Getty Images
มาดูวิธีการที่ทรัมป์ใช้เพื่อเล่นงานเซเลนสกี อย่างเรื่องที่เห็นชัดผ่านมาการยื่นดีลขอเข้าสำรวจและยึดทรัพยากรแร่หายากในยูเครนส่วนหนึ่งเพื่อแลกกับตัวเลขที่อเมริกาช่วยเหลือ 5 แสนล้านดอลลาร์ และการข่มขู่ด้วยประโยคอย่าง “เซเลนสกีควรเร่งรีบตกลงเซ็นไวๆ ไม่เช่นนั้นเขาจะไม่มีประเทศเหลืออยู่เลย” ทรัมป์กล่าว ไหนจะเป็นการแบล็คเมล์เซเลนสกี ขู่เขาด้วยเรื่องเทามืดอย่างคอร์รัปชัน “คุณขโมยไปครึ่งหนึ่ง คุณเองก็ยอมรับ” และล่อหลอกด้วยความน่าดึงดูดใจของข้อตกลง “ถ้าเรา (อเมริกา) ทำกำไรที่นั่นได้ จะไม่มีใครโจมตีคุณ” [4]
1
  • ประการที่สอง: คุมฝ่ายเดียวแบบเบ็ดเสร็จ ในสมัยแรกของทรัมป์เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ทำลายพันธมิตร ในสมัยสองนี้ทัศนคติต่อพันธมิตรกลายเป็นก้าวร้าวและเมินเฉยมากขึ้น กลไกการบริหารของอเมริกันผิดเพี้ยนไปอย่างมาก? อย่างที่มัสก์ยกเอลซัลวาดอร์เป็นแบบอย่างให้กับสหรัฐอเมริกา ซึ่งประธานาธิบดีนักธุรกิจ “นายิบ บูเกเล” สามารถสั่งไล่ออกผู้พิพากษาและอัยการที่ขัดขวางแผนบริหารประเทศของเขา [5][6]
แนวคิดที่ว่าแนวคิดใดๆ ก็ตามจะติดหล่มหากเริ่มผ่านสภาพแวดล้อมที่มีขั้นตอนกระบวนการยุ่งยากในวอชิงตันหรือผ่านการอนุมัติจากพันธมิตรจำนวนมากในยุโรป ดูเหมือนจะหลอกหลอนทรัมป์มาตั้งแต่สมัยแรกของเขา ซึ่งสิ้นสุดลงโดยไม่มีผลงานที่น่าประทับใจ ดังนั้นข้อสรุปก็คือหากคุณล้มเหลวในการชนะตามกฎที่ผูกมัดตะวันตกโดยรวมให้กลายเป็นหนึ่งเดียวได้ คุณต้องทำลายกฎและเล่นโดยไม่มีมัน
การฉีกกฎเกณฑ์ทั่วไปไม่เพียงแต่ทำให้ทรัมป์ใกล้ชิดกับปูตินมากขึ้นเท่านั้น การประชุมอย่างเร่งรีบในริยาดกับตัวแทนของรัสเซียโดยไม่มีเงื่อนไข ในแง่หนึ่งอาจบ่งชี้ถึงการตัดสินใจเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดไปยังที่ที่เส้นทางที่ยาวกว่าและถูกต้องกว่าไม่สามารถพาไปได้ ในอีกแง่หนึ่งการประชุมครั้งนี้ยืนยันอย่างเต็มที่ถึงความเชื่อมั่นของเครมลินที่ว่าผู้แข็งแกร่งต้องพูดคุยโดยไม่เลือกผู้ที่อ่อนแอกว่า ซึ่งไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้เลย ไม่ให้ประวัติซ้ำรอยเหมือนตอนข้อตกลงมินสก์
3
เครดิตภาพ: Oneindia News
การกระทำอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้สหรัฐฯ และรัสเซียใกล้ชิดกันมากขึ้น ไม่ใช่แค่การเรียกร้องให้กูเกิลเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกาบนแผนที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการห้ามไม่ให้สำนักข่าวเอพีเข้าร่วมกิจกรรมที่ทำเนียบขาวด้วยการใช้ถ้อยคำว่า “บิดเบือนข้อเท็จจริง” มันก็เหมือนตอนรัสเซียกำหนดเส้นเขตแดนบนแผนที่โดยไม่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก [7]
การเลือกหัวข้อในการเจรจาที่ริยาดนอกเหนือจากสงครามในยูเครนแล้วก็มีส่วน ทีมทรัมป์กับทีมปูตินคุยในประเด็นต่างๆ เช่น การตั้งถิ่นฐานในตะวันออกกลาง การพัฒนาอาร์กติก ด้านอวกาศ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และแม้แต่ชะตากรรมของเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินของโลก
ลาฟรอฟได้พูดคุยถึงหัวข้อเหล่านี้ด้วยความยินดีอย่างละเอียดในการคุยกันรอบแรก สิ่งสำคัญสำหรับทั้งสองฝ่ายคือ รัสเซียได้รับการยอมรับให้เป็นหุ้นส่วนและคู่สนทนาของสหรัฐฯ ในประเด็นต่างๆ ของโลกในวงกว้างจนกว่าสงครามยูเครนจะยุติลง แต่ต้องไม่ไปแตะเรื่องภายในของรัสเซีย [8]
  • ทีมทรัมป์ติดกับดักของเครมลิน?
ทรัมป์ไม่น่าจะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากการโฆษณาชวนเชื่อของรัสเซีย ดังที่เซเลนสกีแสดงความคิดเห็นด้วยความรำคาญใจ หากเขาโดนอิทธิพลครอบงำก็น่าจะเป็นเพียงโดยทางอ้อมผ่านนักทฤษฎีสมคบคิดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีมของเขาและดึงข้อมูลจากแหล่งข่าวทางเลือกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการตีความของรัสเซียก็สะท้อนให้เห็นแบบเดียวกันเลย [9]
1
สำหรับประเด็นเรื่องความชอบธรรมของเซเลนสกีและการเลือกตั้งในยูเครน ซึ่งสร้างความพอใจให้กับรัสเซียอย่างมาก กลายเป็นศูนย์กลางของการเตรียมการข้อตกลงสันติภาพ ทรัมป์มองว่าปูตินมีความชอบธรรมแน่นอนเพราะผ่านการเลือกตั้งเข้ามา ในขณะที่เซเลนสกีเป็นเพียงเบี้ยของชนชั้นนำตะวันตกซึ่งหมดความชอบธรรมไปแล้ว แต่เอาเข้าจริงการหมดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไม่ได้ทำให้ความชอบธรรมของนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาก่อนหน้าหมดลง แต่ยังไงมันควรทำให้ถูกต้อง
ปูตินไม่ได้เปลี่ยนความคิดของเขาเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของคนเชื้อสายรัสเซียในยูเครนมาหลายปีแล้ว นับตั้งแต่ปีสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ “ลีโอนิด คุชมา” แนวคิดหลักคือในกรณีที่นักการเมืองทุกคนสามารถเข้าถึงสนามการเมืองได้เต็มที่รวมถึงนักการเมืองโปรรัสเซีย และเสรีภาพในการหาเสียงรวมถึงการเข้าถึงสื่อของรัสเซีย ผู้สมัครโปรรัสเซียจะชนะการเลือกตั้งในยูเครน แต่เมื่อฝั่งตะวันตกเข้ามาวุ่นวายขัดขวางกระบวนการเรื่องพวกนี้ในยูเครน ทำให้ปูตินคิดที่ต้องตอบโต้
หากเป็นความจริงที่แผนสันติภาพยูเครนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในปัจจุบันประกอบด้วยสามเฟส คือ การหยุดยิง การเลือกตั้ง และข้อตกลงสันติภาพขั้นสุดท้าย มันก็จะคล้ายกับข้อตกลงมินสค์ แผนดังกล่าวเน้นที่การเลือกตั้ง ไม่ใช่เฉพาะในพื้นที่แต่ละแห่ง แต่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปสำหรับทั้งประเทศยูเครน (แล้วประเด็นอยู่ที่ว่าดินแดนที่รัสเซียยึดไปหลังปี 2022 จะจัดเลือกตั้งภายใต้กฎใด)
1
การหยุดยิงเฟสแรกนั้นก็เหมือนกับที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ที่มินสค์ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่บรรลุได้ค่อนข้างง่าย อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งจะต้องเผชิญกับความยากลำบากที่มากขึ้นกว่าเดิม
1
ชาวยูเครนหลายล้านคนอาศัยอยู่ในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่ที่พักอาศัยก่อนการเลือกตั้ง ชาวยูเครนหลายคนหนีไปอยู่ต่างประเทศ และชาวยูเครนอีกหลายล้านคนที่ถือหนังสือเดินทางยูเครนอยู่ในรัสเซียและดินแดนที่ถูกรัสเซียยึดไว้หลังปี 2022 แม้แต่จากมุมมองด้านกฎหมายของรัสเซียเอง ก็ยังไม่ชัดเจนว่าควรจัดการเลือกตั้งในดินแดนที่รัสเซียบุกยึดไว้ได้หรือไม่
เครดิตภาพ: RFE/RL
วิสัยทัศน์ของเครมลินเกี่ยวกับการเลือกตั้งในยูเครนนั้นสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของทรัมป์ สำหรับปูตินการเลือกตั้งเป็นโอกาสสำหรับคนเชื้อสายรัสเซียหรือฝ่ายโปรรัสเซียที่จะไปเลือกคนของตนซึ่งก่อนหน้าถูกชนชั้นนำชาตินิยมยูเครนขัดขวางขึ้นสู่อำนาจ สำหรับทรัมป์การเลือกตั้งในยูเครนเป็นโอกาสที่จะปลดนักการเมืองที่ฝ่ายตนไม่ชอบออกจากอำนาจ ซึ่งเป็นพวก globalist ที่พวกเขาผลักดันให้ออกจากอำนาจในอเมริกามาแล้ว และขณะนี้กำลังผลักดันพวกนี้ให้ออกจากอำนาจในยุโรปด้วย
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามในที่สุดรัสเซียก็จะสามารถจับสหรัฐได้ด้วยกับดักง่ายๆ “คุณบอกว่าพวกเขากำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ดังนั้นปล่อยให้พวกเขาจัดการเลือกตั้ง แต่เราไม่ได้ต่อสู้เพื่ออะไรแบบนั้น ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องให้ความร่วมมือ” ลูคาเชนโกก็ทำกับยุโรปในลักษณะเดียวกัน โดยการสร้างวิกฤตผู้ลี้ภัยที่ชายแดนฝั่งยุโรป [10]
1
ด้วยแผนสันติภาพที่รวมถึงการเลือกตั้ง เซเลนสกีก็จะติดกับเช่นกัน หากเขายังปฏิเสธที่จะให้มีเลือกตั้ง นั่นก็เล่นงานได้เลยบอกว่าต้องการยื้ออยู่ในอำนาจต่อ แต่หากเขายอมรับ ผลลัพธ์ของการเลือกตั้งใดๆ ก็ตามก็จะเป็นเรื่องง่ายที่จะถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเงื่อนไขในการนับคะแนน ส่วนทรัมป์เขาก็จะอ้างว่าไม่ได้เป็นความผิดของสหรัฐ เพราะเราเดินตามที่ตกลงกันไว้แล้ว
ในแง่หนึ่งการเลือกตั้งจะเป็นโอกาสที่จะหยุดการเสียชีวิตของทหารและพลเรือนอย่างน้อยก็ชั่วขณะหนึ่ง แต่ในอีกแง่หนึ่งหากสันติภาพเดินไปไม่ถึงปลายทางที่ตั้งไว้ ก็จะยากขึ้นที่จะบังคับให้ประเทศยูเครนลุกขึ้นต่อสู้ได้อีกครั้ง โดยเฉพาะหลังจากผ่านข้อตกลงสันติภาพที่ล้มเหลวไปแล้ว
  • ส่งท้าย: [11]
แต่ทว่าก็มีการมองแบบในแง่ร้ายว่าการเจรจาของทรัมป์จะล้มเหลวเพราะเขาไม่มีอิทธิพลที่มีความหมายเหนือรัสเซีย ด้วยคำถามที่ว่า “ทำไมรัสเซียถึงต้องยอมรับในเงื่อนไขที่เกิดขึ้นในขณะที่รัสเซียชนะอยู่แล้ว เมื่อรัสเซียจะได้ทุกอย่างด้วยตัวเองอยู่แล้ว โดยไม่ต้องประนีประนอมใดๆ โดยไม่คำนึงว่าการเจรจากับทรัมป์จะเกิดขึ้นหรือไม่”
รัสเซียอาจหวังว่าเคียฟอาจ “ล่มสลายไปเอง” สิ่งที่สำคัญที่สุดตอนนี้คือผลประโยชน์แลกเปลี่ยนที่สหรัฐฯ เสนอให้จะลงเอยในมือของรัสเซียในรูปแบบใดมากแค่ไหน (เช่น ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร คืนทรัพย์สินที่ถูกอายัดในโลกตะวันตก)
กำไรใดๆ ก็ตามที่เดิมพันในการฟื้นความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย มันไม่ได้ทำให้วอชิงตันได้เปรียบในการเจรจา ทรัมป์อาจเข้าใจผิดว่า “ความฝันที่จะขายของให้ได้มากที่สุดให้กับสหรัฐฯ” เป็นกุญแจสำคัญของทุกประเทศ ความคิดนี้เห็นได้ชัดเจนที่สุดจากแผนการของทำเนียบขาวที่ต้องการดึงรัสเซียออกจากจีน แต่หลายปีที่ผ่านมาปูตินเชื่อมั่นในการค้ากับจีนมากกว่าไปแล้ว และไม่สามารถไว้วางใจตะวันตกได้ สหรัฐฯ ไม่สามารถเสนอแรงจูงใจในระดับเดียวกันกับที่รัสเซียหรือจีนเสนอให้กันและกันได้
1
เครดิตภาพ: Pavel Byrkin / Sputnik / AFP via Getty Images
ชะตากรรมของยุโรป: สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดก็คือความไม่เต็มใจของฝ่ายตะวันตก (ไม่เป็นเอกฉันท์) ที่จะส่งทหารเข้าไปยังยูเครน ยุโรปในโดยรวมเชื่อว่าภัยคุกคามของรัสเซียต่อประเทศต่างๆ นั้นไม่เท่ากัน เช่น โปแลนด์และแถบบอลติกย่อมกลัวมากกว่า และการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไปยังยูเครนจะทำให้การป้องกันตนเองลดลง
1
ไม่ช้าก็เร็ว ยุโรปอาจถูกบังคับให้กระชับความสัมพันธ์กับรัสเซียอีกครั้ง แต่ไม่น่าจะเกิดขึ้นรวดเร็วในสมัยทรัมป์สองนี้ เพราะยุโรปไม่สามารถทำอะไรกะทันหันได้ พวกเขาทำงานด้วยระเบียบที่เชื่องช้าแต่ก็ประสานกันดี การสิ้นสุดของสงครามยูเครนจะกำหนดว่ายุโรปจะกลับมามีปฏิสัมพันธ์กับมอสโกอีกครั้งอย่างไรซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
เครดิตภาพ: Sieradowski / EUC / Zuma Press
เรียบเรียงโดย Right Style
22nd Feb 2025
  • อ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Mladen Antonov / AFP via Getty Images>
โฆษณา