วันนี้ เวลา 07:34 • ข่าวรอบโลก

อิสราเอลต้องโจมตีอิหร่าน เพราะเหตุผลใด เเละจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปภายหลังสงคราม

อิสราเอลได้โจมตีโต้กลับอิหร่าน ด้วยสิ่งที่อิสราเอลอธิบายว่าคือการโจมตีทางอากาศ "ที่แม่นยำและมุ่งเป้า" หลังจากที่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาอิหร่านได้ยิงฝูงขีปนาวุธใส่อิสราเอล
นี่ถือเป็นการโจมตีตอบโต้กันระลอกล่าสุดระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ซึ่งหลายเดือนที่ผ่านมาได้จุดชนวนความกลัวว่าจะเกิดสงครามเต็มรูปแบบในระดับภูมิภาคขึ้น
แต่ในขณะที่อิหร่านบอกว่าการโจมตีเป้าหมายทางทหารได้สังหารทหารไปสองนาย แต่ข้อมูลที่ปรากฏเบื้องต้นชี้ว่าการโจมตีอาจจะจำกัดว่าที่กลัวกัน
การโจมตีรุนแรงแค่ไหน
ขนาดของการโจมตี รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น ยังคงไม่ชัดเจนในตอนนี้
ไอดีเอฟระบุว่า เป้าหมายที่ถูกโจมตีมีทั้งโรงงานผลิตขีปนาวุธ มิสไซล์ที่มีฐานยิงจากพื้น และเป้าหมายทางการทหารอื่น ๆ
เมืองที่ถูกอ้างว่าเป็นที่ผลิตขีปนาวุธ
กองทัพอิหร่านยืนยันว่า มีทหารสองนายเสียชีวิต "ในขณะที่ต่อต้านขีปนาวุธ"
เจ้าหน้าที่ของทางการอิหร่านระบุว่า เป้าหมายในกรุงเตหะราน เมืองคูเซสสถาน และเมืองอีแลม ถูกโจมตี ทางด้านหน่วยงานที่ดูแลการป้องกันภัยทางอากาศระบุว่าพวกเขา "สกัดกั้นการโจมตีได้สำเร็จ" แต่ก็ "มีบางพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายอย่างจำกัด"
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ รายหนึ่งระบุว่า การโจมตีดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำมันหรือด้านนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นเป้าการโจมตีซึ่ง โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำชับอย่างยิ่งว่าไม่ให้โจมตี
สื่อของทางการซีเรียรายงานเช่นกันว่า สถานที่ทางการทหารทางตอนกลางและตอนใต้ของซีเรียโดนโจมตีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อิสราเอลไม่ได้ยืนยันว่าพวกเขาโจมตีซีเรียด้วยหรือไม่
การโจมตีของประเทศอิสราเอล ในเมืองอิสฟาฮาน
ข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่า การโจมตีครั้งนี้ไม่ได้รุนแรงอย่างที่หลายคนกลัว
สำนักข่าว Axios ของสหรัฐฯ รายงานว่าก่อนการโจมตี อิสราเอลได้ส่งข้อความถึงอิหร่านและเปิดเผยรายละเอียดบางอย่างของการโจมตี และเตือนรัฐบาลอิหร่านว่าไม่ให้ตอบโต้
นี่อาจถือเป็นการส่งสัญญาณว่าอิสราเอลไม่ต้องการให้สถานการณ์บานปลายไปมากกว่านี้ อย่างน้อยก็ในตอนนี้
"เรากำลังโฟกัสไปที่เป้าหมายทางสงครามของเราในฉนวนกาซาและเลบานอน อิหร่านต่างหากที่เดินหน้าผลักดันให้เกิดความขัดแย้งกว้างขึ้นในภูมิภาค" ไอดีเอฟระบุในแถลงการณ์
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ รายหนึ่งบอกว่า "นี่ควรจะเป็นจุดสิ้นสุดของการยิงตอบโต้กันโดยตรงไปมาระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน"
ส่วนการโต้กลับจากอิหร่าน จนถึงตอนนี้ยังเป็นไปอย่างจำกัด
แหล่งข่าวรายหนึ่งให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Tasnim ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน ว่า "อิหร่านยังถือสิทธิในการตอบโต้ต่อการรุกรานทุกรูปแบบ และไม่มีข้อสงสัยเลยว่าอิสราเอลจะได้รับการตอบโต้ที่ได้สัดส่วนกับสิ่งที่กระทำต่ออิหร่าน"
องค์การระดับโลกเเสดงความเห็นผ่าน Trade X
ทำให้สถานการณ์ตะวันออกกลางร้อนระอุที่อาจทวีความรุนแรงต่อจากนี้โดย ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผอ.ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัยวิเคราะห์ว่า การสู้รบระหว่างอิสราเอล-อิหร่านค่อนข้างตึงเครียด และล่อแหลมอาจลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามใหญ่ในภูมิภาคในตะวันออกกลาง
ถ้าดูชนวนก็มาจาก “อิสราเอลถล่มโจมตีฉนวนกาซา” หลังกลุ่มฮามาส จู่โจมแบบไม่คาดคิดเมื่อ 7 ต.ค.ที่ผ่านมาแล้ววิกฤติปัญหาของปาเลสไตน์ก็มิได้จำกัดเฉพาะการสู้รบกันในกาซากลับเชื่อมโยงหลายแนวรบในตะวันออกกลาง “มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มติดอาวุธ” ที่เป็นพันธมิตรกับอิหร่านออกมาช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ด้วย
เหตุการณ์นี้ได้ลุกลามนำมาสู่ “ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-อิหร่าน” ก่อให้เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้นใหม่เพราะที่ผ่านมา 2 ประเทศนี้ทำสงครามตัวแทน และสงครามลับๆ ไม่เปิดหน้าต่อสู้กันโดยตรงมายาวนานกว่า 40 ปีเพียงแต่ทั่วโลกไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่อันที่จริงเป็นสงครามย่อยทำให้ผู้คนเสียชีวิตมากมายด้วยซ้ำ
กระทั่งวันที่ 1 เม.ย.2567 “อิสราเอลโจมตีสถานกงสุลอิหร่านในซีเรีย” ทำให้นายทหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 7 ราย แล้ววันที่ 13-14 เม.ย. “อิหร่าน” ตอบโต้กลับด้วยโดรน และขีปนาวุธ 300 ลูกยิงเข้าไปในประเทศอิสราเอลแล้วก็มีความพยายามตอบโต้ด้วยโดรนขนาดเล็กใส่ “อิหร่าน” แต่ถูกสกัดตกหลายลำ
เปิดเส้นทางการบินเลี่ยงเส้นทางการรบอิหร่านเเละอิสราเอล
ถ้าย้อนดูชนวนความขัดแย้ง “ระหว่างอิสราเอล-อิหร่าน” ล้วนเกิดจากการหวาดระแวงต่อกัน 2 เรื่องใหญ่ คือ เรื่องแรก...“ปัญหาเกี่ยวกับปาเลสไตน์” เพราะหลังปฏิวัติอิหร่าน ค.ศ.1979 ได้เขียนระบุในรัฐธรรมนูญว่าปัญหาปาเลสไตน์เป็นประเด็นสำคัญกับผลประโยชน์ของอิหร่าน ทำให้ต้องการเห็นการสร้างรัฐปาเลสไตน์ขึ้นมา
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา “อิสราเอลก็มองอิหร่านเป็นภัยคุกคาม” แล้วเริ่มทำสงครามต่อสู้กันมาตลอดจนในปี 1982 “อิสราเอล” บุกยึดครองภาคใต้ของประเทศเลบานอน “อันเป็นดินแดนที่อาศัยของชาวมุสลิมชีอะห์” ทำให้อิหร่าน ส่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (IRGC) 1500 นายเข้าไปปลุกระดมมวลชน
กระทั่งนำมาสู่ “การสร้างกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ (Hezbollah)” เพื่อใช้เป็นกองกำลังทำสงครามตัวแทนกับ “อิสราเอล” จนต้องถอนทหารออกไปในปี 2000 แล้วก็เกิดการต่อสู้รบกันอีกในปี 2006 กลายเป็นประเด็นอ่อนไหวให้อิสราเอล-อิหร่านเกิดการหวาดระแวงระหว่างกันมาตลอด
ภาพศูนย์โรงงานเสริมสมรรถนะ ศูนย์วิจัย เเละโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ปัจจัยถัดมาข้อระแวงที่สอง... “การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน” เพราะด้วยก่อนหน้านี้อิสราเอลเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคตะวันออกกลาง สามารถพัฒนา และผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ กระทั่งปัจจุบันนี้สหรัฐอเมริกา และอิสราเอลเริ่มสงสัยว่าอิหร่านกำลังจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จเช่นกัน
ทำให้ที่ผ่านมาพยายามออกมาตรการสกัดกั้นหลายครั้ง “เพื่อไม่ให้อิหร่าน พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ” ด้วยการใช้ไม้แข็งให้อิสราเอลลักลอบโจมตีโรงงานผลิตนิวเคลียร์ของอิหร่านหลายครั้งแบบลับๆ รวมถึงบรรดาพันธมิตรอย่าง “สหรัฐฯ และชาติตะวันตก” ต่างออกมาตรการแซงก์ชัน และตัดความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย
ต่อมาปี 2015 “ยุคบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ” ได้ทำข้อตกลงกับอิหร่านไว้ถัดมา “ในยุคโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ” ได้ฉีกข้อตกลงทำให้ความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ อิสราเอลและอิหร่านตึงเครียดจนสหรัฐฯ ใช้โดรนสังหาร พล.ต.กอเซ็ม สุไลมานี อดีตผบช.กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่านในประเทศอิรักเมื่อปี 2020
เปิดภาพไอออนโดม ของอิสราเอล
สถานการณ์โลกเปลี่ยนไปในวันนี้เราได้เห็นว่า “จีน และรัสเซียผงาดขึ้นมาค้านอำนาจสหรัฐฯ” แล้วช่วงหลังมานี้อิหร่าน จีน และรัสเซียก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากขึ้นโดยเฉพาะทางการค้า และความร่วมมือในด้านความมั่นคงหลายระดับ
เรื่องนี้ส่งผลให้ “อิหร่าน” มิได้ถูกโดดเดี่ยวเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป ทำให้สามารถต่อกรกับอิสราเอล และชาติพันธมิตรตะวันตกได้ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดีสำหรับปฏิบัติการทางทหารของอิหร่านในช่วง 13-14 เม.ย.ที่ผ่านมาจะสังเกตเห็นว่าพยายามจำกัดวงไม่ให้เกิดความเสียหายต่อประเทศอิสราเอลแม้จะมีศักยภาพทำได้สูงกว่านั้นก็ตาม
ส่วนใหญ่เน้นทำลายความมั่นคงทางทหาร เช่น “ฐานทัพอากาศอิสราเอล” โดยมุ่งไม่ให้เกิดความเสียหายต่อพลเรือนแล้วก่อนปฏิบัติการ 2-3 วัน “อิหร่าน” ก็เผยเรื่องนี้ต่อพันธมิตรให้นำข่าวไปแจ้ง “สหรัฐฯ” เตรียมรับมือไว้เลยด้วยซ้ำ เพราะอิหร่านยังไม่พร้อมเปิดศึกสงครามเต็มรูปแบบกับอิสราเอล และชาติตะวันตก
ซาอุดิอาระเบียกับกระบวนการเลืกเส้นทางในการต่อสู้
#ข่าวรอบโลก #อิสราเอล #การเมือง #ยูดาย #ยิว #อิหร่าน #ปาเลสไตน์
เรียบเรียงโดย อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม
โฆษณา