26 ก.พ. เวลา 10:24 • ข่าวรอบโลก

ดีลแร่หายาก กี้ขายชาติจริงเหรอ ?

เซเลนสกี้มีกำหนดไปพบทรัมป์ที่สหรัฐในวันศุกร์นี้
และคาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาแลกเปลี่ยนเรื่องแร่หายาก
กับหลักประกันความมั่นคงของยูเครน
ข่าวก็คงได้อ่านกันไปเยอะแล้ว แต่จนถึงปัจจุบัน
ก็ยังไม่มีใครทราบรายละเอียดจริงๆของมัน
ในขณะที่กองเชียร์รัสเซียบอกว่าเซเลนสกี้กำลังขายชาติ
ตามต้นทางจาก propaganda ฝั่งรัสเซีย
1
แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงๆเหรอ?
ตามข่าวเบื้องต้น มีรายงานว่า สัญญานี้จะเป็นลักษณะ
ของการ”ใช้หนี้” จากที่สหรัฐเคยช่วยมาแล้ว ราวๆ
สามแสนล้านเหรียญ
และยังไม่มีหลักประกันว่าสหรัฐจะปกป้องยูเครนต่อไปอย่างไร
ในขณะที่เซเลนสกี้ปัดตกดีลรอบแรกที่สหรัฐขอผลประโยชน์
จากแร่ครึ่งหนึ่ง หรือราวๆ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ยังไม่มีใครมีความชัดเจน ว่าตกลงแล้วเท่าไหร่กันแน่
แต่ก็คาดว่าคงไม่น้อยกว่าสามแสนล้านเหรียญ
ตามที่สหรัฐเคยจ่ายไป
และยูเครนก็ต้องยอมเสียดินแดนที่รัสเซียครอบครอง
ในปัจจุบันไปด้วย
หลายคนจึงมองว่าดูไม่น่าคุ้มค่านักสำหรับยูเครน
…แต่นั่นอาจไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องนัก…
ในแง่เงินๆทองๆแล้ว ดีลนี้อาจมีผลดีกับยูเครนมากกว่าที่คิด
เหตุผลคือ ในความเป็นจริงยูเครนเองไม่มีทุนจะขุดขึ้นมา
ขายเองอยู่แล้ว หรือขุดได้ก็น้อยในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ
เดิมทีที่ทำอยู่ ยูเครนเองก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรนัก
เพราะเป็นรัสเซียเองที่เข้ามากอบโกย ผ่านนักการเมือง
สายโปรรัสเซีย ที่มีอิทธิพลในยูเครนสูงมากก่อนปี 2008
ที่จริง นั่นคือเหตุผลสำคัญของความขัดแย้งด้วย
เมื่อชาวยูเครนเห็นว่า นักการเมืองโปรรัสเซียเหล่านี้
ประเคนให้รัสเซียมากจนเกินไป และนำไปสู่การพลิกขั้ว
ของชาวยูเครน มาเลือกสายโปรตะวันตกในปี 2010
และนำไปสู่การประท้วงยูโรไมดาน อันเป็นต้นเหตุ
ทั้งหมดของเรื่องในปัจจุบัน….
เราอาจพูดได้ว่า เดิมนั้นยูเครนก็ไม่ได้อะไรจากแร่พวกนี้อยู่แล้ว
การที่สหรัฐเข้ามา แล้วมีการแบ่งผลประโยชน์ มันน่าจะดีกว่า
สมัยนักการเมืองโปรรัสเซียทำเสียด้วยซ้ำไป
และคงเป็นไปไม่ได้ ที่เมื่อสหรัฐเข้ามาลงทุน
ขุดแร่เองแล้วจะไม่มีการลงทุนในปัจจัยพื้นฐานอื่นๆด้วย
ยูเครนที่ได้รับความเสียหายในส่วนที่เหลือ
จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากเรื่องนี้ค่อนข้างมาก
พวกเขาไม่ใช่ประเทศร่ำรวย หากจะกอดแร่ไว้
คำถามคือ พวกเขาจะเอาเงินที่ไหนมาฟื้นฟูประเทศล่ะ
การที่สหรัฐและอาจมีสหภาพยุโรปเข้ามาลงทุนด้านต่างๆ
มันจะช่วยในการฟื้นฟูปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ได้มากทีเดียว
ที่สำคัญที่สุด คือเส้นทางเดินเรือ ที่เป็นคีย์ของเรื่องราว
ยูเครนจะรักษามันเอาไว้ได้แน่ๆ ถ้าสหรัฐเข้ามาลงทุน
เพราะการที่สหรัฐเข้าไปขุด พวกเขาก็ย่อมต้องขนออกไป
และทางที่ประหยัดที่สุดก็คือทางทะเลดำ
เราคงต้องไม่ลืม ว่ารัสเซียนั้นมีความพยายาม
อย่างมาก ในการปิดเส้นทางเดินเรือของยูเครนมาตลอด
ช่วงแรกของสงคราม การเข้ายึดทางตอนใต้ติดทะเลดำ
เป็นเป้าหมายแรกๆของรัสเซียเลยก็ว่าได้
พวกรัสเซียพยายามปิดทะเลดำมาตลอด จนยูเครน
ส่งออกธัญพืชไม่ได้อยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนที่ยูเครนจะเปิดทางได้
เมื่อรัสเซียถอนกองเรือทะเลดำออกไปจากการถูกผลักดัน
และได้รับความเสียหาย
หมายความว่า หากยูเครนไม่สู้แต่แรก
พวกเขาจะเสียเส้นทางเดินเรืออย่างสิ้นเชิงไปแล้ว
แต่หากสหรัฐเข้ามา พวกเขามีความจำเป็นที่จะต้อง
เปิดเส้นทางเดืนเรือทะเลดำ ไปจนถึงช่องแคบที่ตุรกี
เอาไว้ตลอด เพื่อใช้งาน
รัสเซียจะกล้าปิดทะเลดำงั้นเหรอ ?
มันจึงเป็นเครื่องการันตีว่า ยูเครนเองก็จะมีเส้นทาง
เดินเรือเอาไว้ใช้งานเช่นกัน
…ซึ่งแน่นอน ว่าลำพังพวกเขาเอง ถ้ากอดแร่เอาไว้แบบปู่โสม
พวกเขาย่อมรักษาทางออกทะเลเอาไว้ไม่ได้ ความเสียหาย
มันจะมากกว่ามูลค่าแร่ที่จะต้องเสียไปหลายเท่านัก….
ในแง่ความมั่นคงของยูเครนเอง…
ถึงจะมีข่าวว่า ไม่มีอยู่ในดีล ว่าสหรัฐจะช่วยเหลือทางการทหาร
อย่างไรต่อ หรือจะส่งทหารมาการันตีหรือไม่
แต่บางครั้ง เราอาจต้องเข้าใจว่า มันไม่จำเป็นต้องเขียนเลย
จะเป็นไปได้อย่างไร ที่หากสหรัฐลงทุนแล้วจะไม่ปกป้อง
ไม่ดูแลบ่อเงินบ่อทองของตัวเอง
รัสเซียเองก็รู้ ว่าถ้าสหรัฐเข้ามาลงทุน พวกเขาเองก็คง
บุกยูเครนได้ยากขึ้น เพราะนั่นอาจหมายถึงการชนกับสหรัฐ
ตรงๆ ซึ่งปูตินเองต้องคิดหนักมากๆ
สหรัฐทำแบบนี้มาแล้วกับหลายที่ในโลก
และถือว่าค่อนข้างเป็นจงอางหวงไข่เอามากๆ
ใครยุ่งกับผลประโยชน์พวกเขา มีเฮหมดนั่นแหละ
อิรักของซัดดัมคือตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ในตอนบุกคูเวต
ซึ่งมีบริษัทสหรัฐลงทุนอยู่เยอะ ก็เลยโดนซะเละ
1
การขุดแร่จากยูเครนให้ได้ปริมาณที่ตกลงนั้น
จะอย่างไรก็คงกินเวลานับสิบปี
…มันเท่ากับเป็นการการันตีให้ยูเครนอยู่แล้ว
ว่าต้องดูแลให้พวกเขาปลอดภัย จนกว่าสหรัฐจะได้ของครบ…
ลักษณะนี้ มันจึงไม่มีความจำเป็นอะไรเลย
ที่ต้องเขียนลงไปในข้อตกลง
การผูกพันด้วยผลประโยชน์นั้น เชื่อถือได้มากกว่าตัวหนังสือ
ไม่มีใครที่เข้าใจเรื่องนี้ดีกว่ายูเครน ที่โดนฉีกสัญญาบูดาเปสต์
ตัวหนังสือ จึงไม่มีค่าอะไรนัก สำหรับยูเครน
(รัสเซียอ้างว่าเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ)
…ซึ่งกว่าจะได้ของครบ จนสหรัฐถอยออกมาได้
ปูตินก็คงไม่น่าจะอยู่ในโลกใบนี้แล้วล่ะ …..
…และผมไม่คิดว่าชาวรัสเซียเอง จะสนับสนุนผู้นำที่มีแนวคิด
เอาโซเวียตอันยิ่งใหญ่กลับคืนมาอีกแล้วล่ะ จบปูติน ก็คงจบ…
ส่วนห้าแคว้นที่เสียไป แม้จะดูน่าเสียดาย
และเป็นความพ่ายแพ้ของยูเครนทางการเมือง
แต่มองในความเป็นจริง ดินแดนตรงนั้น มันก็มีคน
เชื้อสายรัสเซียอยู่มากจริงๆ ทั้งเก่าและขนเข้ามาหลังปี 2008
มันเป็นส่วนที่มีสงครามภายในมาตลอดหลังปี 2010
โดยการแทรกแซงของรัสเซีย ที่สนับสนุนกลุ่มโปรพวกเขา
เรียกว่าสงครามดอนบาส
…จริงๆแล้ว ถ้ารัสเซียเลือกใช้วิธีกดดันแบบอื่น
จนมีประชามติแบบชาวโลกเขารับได้ มันก็คงไม่มีสงคราม…
การเสียส่วนนี้ไป มองแง่ดีก็เหมือนการตัดปัญหาของยูเครน
อยู่เหมือนกัน แม้จะดูแย่ทางการเมืองก็ตาม
แต่ที่จะซวย ก็คือคนรัสเซียเองในดอนบาสนี่แหละ
เพราะมีความเสียหายอย่างหนัก การฟื้นฟูต้องใช้งบมหาศาล
ซึ่งดูแล้ว รัสเซียไม่น่าจะมีเงินมากพอแน่ๆ
การปล่อยประชาชนอยู่กับซาก มันคงเป็นไปไม่ได้
…นอกจากจะให้จีนเข้ามาช่วย ดูแล้วรัสเซียไม่มีทางอื่น
ในการฟื้นฟูดอนบาสเลย หรืออีกทางคือเป็น no man land
…ซึ่งนั่นก็ต้องตั้งคำถามว่า แบบนั้นรัสเซียได้อะไร
นอกจากรัฐกันชน มันมิเท่ากับไปตายกันเสียเปล่าๆเหรอ….
โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี เป็นหนี้ก็ต้องใช้
สำหรับยูเครน การเสียบางส่วน ย่อมดีกว่าเสียทั้งหมด
หากพวกเขาเลือกไม่สู้ตั้งแต่แรก อย่างที่ฝ่ายโปรรัสเซียบอกพวกเขาจะเสียทุกอย่างให้รัสเซีย ไม่ใช่แค่ที่กำลังจะเสีย
การเดินทัพของรัสเซียในช่วงต้นของสงคราม
ที่พยายามยึดเคียฟแต่ไม่สำเร็จนั้น
บอกเราได้ดี ว่าพวกเขาไม่ได้ต้องการแค่ห้าแคว้น
ตามที่อ้างแต่แรก แต่มันเป็นทั้งหมดของยูเครน
และในความจริง หากเสียให้รัสเซียทั้งหมด
ยูเครนก็จะยากจนต่อไป เพราะแนวทางของรัสเซีย
ที่มีต่อยูเครนตั้งแต่ตั้งประเทศมา ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย
พวกเขาพยายามกดยูเครนเอาไว้มาตลอด เพื่อไม่ให้
เป็นหอกข้างแคร่ของตัวเอง
เรื่องนี้ชาวยูเครนเขาทราบดี จึงเลือกที่จะสู้
มันไม่ใช่อะไรที่คนนอกอย่างเรา จะไปตัดสินเขาได้
1
ยิ่งผ่านการรบแบบหนักๆ บ้านเมืองเสียหายแบบนี้
รัสเซียย่อมจะไม่ฟื้นฟู และถึงอยากทำ พวกเขาก็ไม่มีเงิน
มากพอที่จะทำแบบนั้นอยู่ดี
อาจมองว่า ยูเครนไม่มีทางเลือกก็จริง
แต่ในอีกมุม ทั้งยูเครนและสหรัฐอาจคิดกันอยู่แล้ว
ว่าสุดท้ายจะต้องมีการต่างตอบแทนกันแบบนี้
เพียงแต่สมัยไบเดน สหรัฐไม่ได้โฉ่งฉ่างเหมือนทรัมป์เท่านั้น
สิ่งที่จะได้ยูเครน ดูจะคุ้มกับการลงทุนด้วยชีวิต
มากพอสมควร เพราะมันจะการันตีความอยู่รอด
และการฟื้นฟูในระยะยาว
1
ตราบที่สหรัฐยังต้องเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
…ปัญหาที่น่าหนักใจของยูเครนที่สุด คือ เมื่อเอาทรัพยากร
ใช้หนี้สหรัฐไปแล้ว พวกเขาจะเหลืออะไรใช้หนี้ยุโรปล่ะ
มันมากกว่าของสหรัฐอีกนะ มัน 52% ของการช่วยเหลือทีเดียว
…หรือบางที ยุโรปอาจพอใจแค่ว่าได้มีกันชนต่อไป ก็ได้…
…อันนี้เราคงต้องดูกันต่อไป เพราะกับยุโรปก็คงไม่ฟรีหรอก…
การเอาทรัพยากรแลกกับความมั่นคงนั้น
มันไม่ใช่เรื่องน่าอายและเป็นผลเสียเสมอไป
กรณีที่ชัดเจนมาก คือซาอุดีอาระเบีย และชาติอาหรับเล็กๆ
แต่ร่ำรวย ที่อาจไม่มีวันนี้ ถ้าไม่เอาทรัพยากรมาการันตี
ซาอุดีอาระเบีย UAE นั้น เลือกที่จะเอาทรัพยากรประเคน
ให้สหรัฐและชาติตะวันตก เพื่อสร้างชาติ
และปกป้องตัวเองจากความขัดแย้งต่างๆ ที่รุนแรงในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะหลังการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน
1
ทุกวันนี้พวกเขาจนไหมล่ะ อยู่อย่างสงบสุขไหมล่ะ ?
แล้วหันมาดูบางประเทศที่ไม่ขอเอ่ยนาม
ที่หวงสมบัติเหลือเกิน ของกูๆ ไม่แบ่งกับใคร อยู่นั่นแหละ
แถมเอาคืนมาก็ขุดไม่เป็น จนชาวบ้านเดือดร้อน
…เทียบกับพวกขายสมบัติแบบซาอุฯแล้ว มันเป็นไงล่ะ…
ที่จริงไทยเองก็เคยมีข้อตกลงลักษณะนี้กับสหรัฐ
ในยุคสงครามเย็นนะ
ไอ้ก๊าซอ่าวไทยที่ฝรั่งมาขุดๆไปจนเกิดเป็นยุคโชติช่วงชัชวาล
ภาคตะวันออก อีสานบูมขึ้นมาได้มันก็มาจากข้อตกลงลักษณะนี้ เพื่อเอาตัวรอดจากคอมมิวนิสต์ ที่มาแรงในอินโดจีนเหมือนกัน
แล้วเราก็ไม่ได้แย่อะไรนัก
และอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าตอนนั้นเราไม่ขายสมบัติบ้าง
มีใครการันตีได้ไหม ว่าเราจะยังอยู่ในแบบปัจจุบัน
และรอดจากความเป็นคอมมิวนิสต์มาได้ ?
…ก่อนจะวิจารณ์พวกเขา ก็อย่าลืมว่าเราก็เคยทำมาก่อน…
และที่จริงแล้ว การยกทรัพยากรให้คนอื่นแลกกับความมั่นคง
มันก็ไม่ต่างกับการที่รัสเซียเร่ขายน้ำมันในราคาที่แทบจะขาดทุน ให้จีนให้อิเดีย แลกกับเงินมาทำสงครามหรอก
…แถมยังเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจให้จีนอีกต่างหาก…
…ก็ไม่รู้เหมือนกัน ว่าเซเลนสกี้กับปูติน ใครแน่ที่ขายชาติ…
…หรือที่แท้แล้ว พวกเขาก็แค่ทำสิ่งที่ต้องทำเท่านั้น…
1
โฆษณา