26 ก.พ. เวลา 10:12 • ไลฟ์สไตล์

เจรจาแบบขั้นเทพ! 🔥

ด้วย 4 กฎจิตวิทยา
ที่เปลี่ยนทุกการเจรจาเป็นชัยชนะ!
.
.
อ้างอิงจากหนังสือ: คู่มือควบคุมอารมณ์คน
(ฉบับปรับปรุง)
.
ผู้เขียน: David J.Lieberman
(เดวิด เจ. ลีเบอร์แมน)
.
สำนักพิมพ์: วีเลิร์น (WeLearn)
.
เวลาที่คนเราเจรจากันก็เป็น
เรื่องที่ธรรมดาอยู่แล้วถ้าจะ
เกิดความขัดแย้งระหว่างกันขึ้น
.
แต่บางทีความขัดแย้งนั้นรุนแรง
จนการเจรจาที่เกิดขึ้นต้องล้มเหลวไป
.
ในบทความนี้เลยจะมาชวนคุยถึง
กฏทางจิตวิทยา 4 ข้อที่ทำให้คนเรา
"เจรจากันได้"ลงตัว จากหนังสือคู่มือ
ควบคุมอารมณ์คนกันครับ
.
1️⃣ กฎแห่ง"ความขาดแคลน" 😰
คนเรามักจะผลัดวันประกันพรุ่ง
และรู้สึกเหมือนมีอำนาจต่อรอง
มากกว่า หากข้อตกลงนั้นไม่มี
.
กำหนดหรืออะไรที่ทำให้พวก
เขาต้องรีบจบข้อตกลงนั้น
.
การที่เราทำให้ข้อตกลงนั้น
มีระยะเวลาที่กำหนดที่ยิ่งมี
เวลาสั้นมากเท่าไหร่ และ
.
ถ้าหมดเวลามันจะหายไป
ตลอดกาล คนเราก็จะเกิด
ความรู้สึกที่ต้องคว้าข้อตกลง
นั้นมา จนยอมจบการเจรจา
และตกลงกันในที่สุด
.
เหมือนกับที่เวลามีสิ่งของ
ลดราคาและพวกเขาจะ
กำหนดระยะเวลาในการ
.
ลดราคาไว้ เช่น ถ้าคุณซื้อ
ในวันนี้จะราคา 1,000 บาท
.
แต่ถ้าคุณซื้อในวันพรุ่งนี้ซึ่ง
มันหมดโปรโมชั่นแล้ว คุณ
จะต้องซื้อในราคา 3,000 บาท
เป็นต้น
.
2️⃣ กฎแห่งความ"แตกต่างและการเปรียบเทียบ" 🪞
คนเรามักจะเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ
อยู่เป็นประจำหากสิ่งนั้นสามารถ
เปรียบเทียบกันได้ และมันจะ
.
ส่งผลต่ออารมณ์กับความรู้สึก
ในการตัดสินใจของคนเรา
.
เช่น นาฬิการาคา 10,000 บาท
ซึ่งฟังดูแพงแต่ถ้ามันถูกติดป้าย
ว่าลดราคามาจาก 50,000 บาท
มันก็ดูสมเหตุสมผลและน่าซื้อมากขึ้น
.
ซึ่งในการเจรจาและต่อรอง
เราจะต้องเอากฎข้อนี้มาใช้ใน
การทำให้ทุกฝ่ายรู้สึกว่า สิ่งที่
.
เราได้รับนั้นมีมูลค่าต่ำกว่าที่
คนอื่นได้ เพื่อที่จะทำให้อีกฝ่าย
รู้สึกผิดและให้ผลประโยชน์เรา
มากขึ้น หรือทำให้อีกฝ่ายรู้สึก
.
ว่าผลประโยชน์ของเราไม่ได้
มากไปกว่าเขาเลยและอาจจะ
แย่กว่าด้วยซ้ำ
.
เช่น การแบ่งเงินมรดก 50,000
บาท ระหว่าง A และ B ซึ่ง A
ได้รับเงิน 30,000 บาทและ B
ได้รับ 20,000 บาท ซึ่ง B เอง
.
ก็ไม่พอใจและคิดว่าเขาควรจะ
ได้รับมากกว่านี้ แต่ A ก็ได้บอก
ว่า ถ้า B เอาเงิน 20,000 บาทนี้
.
เขาสามารถจ่ายเป็นเงินสดให้
B ตอนนี้ได้เลย และเขาจะเป็น
.
คนไปเดินเรื่องเพื่อทำการเบิก
เงินทั้งหมดเอง ซึ่งต้องใช้เวลา
ประมาณครึ่งปี
.
แต่ถ้า B ต้องการมากกว่านั้น
เราทั้งคู่คงต้องไปเดินเรื่อง
.
พร้อมกันซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ
1 ปีและอาจจะต้องตรวจเอกสาร
ซึ่งมันยุ่งยากและวุ่นวายมากกว่า
.
ซึ่ง B ก็จะรู้สึกว่าตัวเองได้เปรียบ
A ตรงที่ไม่ต้องไปวุ่นวายและต้อง
ใช้เวลาในการเบิกเงินด้วยตัวเอง
จนยอมตกลงในที่สุดเป็นต้น
.
3️⃣ กฎแห่งการแลกเปลี่ยน
"ผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน" 💕
.
คนเรามีแนวโน้มที่จะยอมตกลง
หรือโอนอ่อนผ่อนตาม คนที่ให้
อะไรบางอย่างหรือยอมอ่อนข้อ
.
ให้กับเราก่อน เพราะมันจะกระตุ้น
ให้เรารู้สึกอยากตอบแทนอีกฝ่าย
คืนซึ่งมันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์
.
ดังนั้นการที่เราให้ผลประโยชน์
อะไรบางอย่างหรือยอมอ่อนข้อ
และปรับเปลี่ยนข้อตกลงบางข้อ
.
ให้เขาก่อน ก็จะทำให้การเจรจา
ต่อรองมีโอกาสที่จะสำเร็จมากขึ้น
.
เช่น เวลาที่มีใครมาขอบริจาคเงิน
กับผู้คนเขามักจะส่งโปสการ์ดหรือ
ของขวัญเล็กๆน้อยๆมาในซองรับ
.
บริจาค เพื่อที่จะกระตุ้นให้เรารู้สึก
อยากตอบแทนจนเราตัดสินใจใส่
เงินบริจาคและส่งคืนไป เป็นต้น
.
ซึ่งผลประโยชน์นี้อาจจะเป็นความ
รู้สึกดีหรือตำแหน่งผลประโยชน์
หรือสิ่งของและทรัพย์สินก็ได้นะครับ
.
4️⃣ กฎแห่งการ"โต้ตอบอย่างมีเหตุมีผล" 🫂
หาการเจรจาต่อรองเป็นไปด้วย
อารมณ์มากกว่าเหตุผลแล้วล่ะก็
ทุกฝ่ายต่างก็จะคิดถึงแค่ผลประโยชน์
.
ของตัวเองเท่านั้นจนการเจรจา
นั้นล้มเหลวไปในที่สุด
.
ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ
ทำให้การเจรจาตั้งอยู่บนการ
.
พูดคุยกันด้วยเหตุผล หลีกเลี่ยง
การตะคอกหรือพูดดูถูกและเหน็บแนม
.
เมื่อคนเราสามารถควบคุมอารมณ์
และคุยกันด้วยเหตุผลได้โอกาสที่
จะตกลงก็จะมีมากขึ้นนะครับ
.
นี่เป็นแค่ส่วนเล็กๆจากความรู้ในหนังสือ
ที่ผมได้ตกผลึกมาเท่านั้น ถ้าอยากได้ความรู้
แบบจัดเต็ม ลองซื้อหนังสือเล่มนี้
มาอ่านกันได้นะครับ
.
ถ้าคุณพร้อมที่จะเปลี่ยนชีวิต
มาเข้าร่วมชุมชนที่ช่วยให้คุณเติบโต
ไปพร้อมกัน ผ่านคลาสเรียนเรื่องการเงิน
และเกมกระแสเงินสด ลิงก์รออยู่
ในคอมเมนต์แล้วนะครับ!
.
ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้
ผมขอบคุณผู้อ่านทุกๆท่าน
ที่เสียสละเวลามีค่าของท่าน
มาอ่านบทความนี้ หวังว่าบทความนี้
จะมีประโยชน์และช่วยทำให้ชีวิต
ของท่านดีขึ้นนะครับ
.
ถ้ารู้สึกว่าบทความนี้มีประโยชน์
ฝากส่งต่อให้คนที่คุณรัก เพื่อให้เขา
พัฒนาและเติบโตไปพร้อมกับคุณด้วยนะครับ❤️
พิกัดหนังสือ: https://s.shopee.co.th/60CyEwUJBZ
#หนังสือน่าอ่าน #เรื่องน่ารู้ #นิสัย #คู่มือควบคุมอารมณ์คน #ควบคุมตัวเอง #makepeacewithanyone #ปรัชญาชีวิต #วีเลิร์น #จิตวิทยา #ข้อคิดดีดี #เกร็ดความรู้ #ความรู้ #ข้อคิดสอนใจ #ข้อคิดดีๆ #แรงบันดาลใจ #learn #learneveryday #เรียนรู้วันละเรื่อง
โฆษณา