Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
1 มี.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ชัยภูมิ
“พะยอม” ไม้ป่าดอกหอม ออกดอกรับเดือนมีนาคม
ช่วงเวลานี้ในหลายๆ พื้นที่ป่า โดยเฉพาะป่าเต็งรังในแถบภาคเหนือและอีสาน หรือแม้แต่สองข้างทางสัญจรทั่วไป จะพบต้นไม้ชนิดหนึ่ง ออกดอกสีเหลืองนวลเต็มต้น
แล้วยิ่งต้นไหนทิ้งใบทั้งต้น มองดูยิ่งสวยงามมาก ที่สำคัญดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ รอยมาตามลม หลายคนคงรู้ได้ทันทีว่านี่คือต้น “พะยอม” หรือทางภาคเหนือและอีสานจะเรียกว่า “กะยอม” ถือเป็นไม้ป่าที่มีคุณค่าและน่าสนใจที่จะนำมาปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝙎𝙝𝙤𝙧𝙚𝙖 𝙧𝙤𝙭𝙗𝙪𝙧𝙜𝙝𝙞𝙞 G.Don
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : กะยอม (เชียงใหม่) ขะยอม (ลาว) ขะยอมดง พะยอมดง (เหนือ) แคน (ตะวันออกเฉียงเหนือลาว) เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) พะยอม (กลาง เชียงราย) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานีปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน) สุกรม (กลาง) พรรณไม้ประจำจังหวัด : พัทลุง
พะยอม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นสูง 15 - 30 เมตร และมีเนื้อไม้แข็ง สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว แผ่นใบรูปมนรี เรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ท้องใบเป็นเส้นแขนงใบนูนมองเห็นชัด ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ผลเป็นรูปรี กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปีกคล้ายผลยาง มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
พบตามป่าเต็งรง ป่าเบญจพรรณ ตลอดจนป่าดิบที่มีดินเป็นดินทราย โดยพบทั่วไปแทบทุกภาค ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 60 - 1,200 เมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ผลแก่ มีนาคม - พฤษภาคม
ข้อมูลอ้างอิง : สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้
📷 : นายวิษณุรักษ์ ศรีบัณฑิต นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ
ที่มา : อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม Pa Hin Ngam National Park จังหวัดชัยภูมิ
#พรรณไม้ป่าน่ารู้ #พะยอม #สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่7นครราชสีมา #กรมอุทยานแห่งชาติ
#อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม #ชัยภูมิ
ดอกไม้
ธรรมชาติ
อุทยานแห่งชาติ
บันทึก
3
3
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย