Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รายการ ต้นรู้ โลกรู้ BY : Anurak News
•
ติดตาม
28 ก.พ. เวลา 17:18 • ข่าวรอบโลก
ชาวอุยกูร์ คือใคร ทำไมทางการจีนต้องกลืนชาติพยายามหามาตรการในการลงเพื่อเหตุผลกลใด
มารู้จักชาวอุยกูร์ กับเหตุการที่ทางการไทยต้องออกมาตอบคำถาม
กับการส่งชาวอุยกูร์ 40 กว่าคนกลับประเทศจีน
อุยกูร์คือใคร ?
ชาวอุยกูร์ (Uyghur - أویغور) หรืออุ้ยเก๋อ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียกลาง มีความสัมพันธ์กับชาวเติร์กยุคก่อน ใช้ภาษาเตอร์กิก นับถือศาสนาอิสลาม ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มีพรมแดนติดคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน ปากีสถาน อัฟกานิสถาน มองโกเลย และรัสเซีย
ยุคราชวงศ์ถัง ราวปี 744-840 ชาวอุยกูร์เคยมีอาณาจักรอุยกูร์โบราณ (Uighur Khaganate) หลังอาณาจักรล่มสลาย ชาวอุยกูร์จึงกลายเป็นเผ่าเร่ร่อนอยู่ในพื้นที่เตอร์กิสถานตะวันออก บนเส้นทางสายไหม จึงมีการผสมผสานวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทั้งจีน เปอร์เซีย และอาหรับ ชาวอุยกูร์จึงเป็นกลุ่มชนที่นับถือศาสนาอิสลามซุนหนี่เป็นส่วนใหญ่
อุยกูร์มีความพยายามก่อร่างสร้างสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก เพื่อเป็นดินแดนของตนเองสองครั้ง ระหว่างปี 1933-1949 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนของเหมา เจ๋อ ตง ชนะสงคราม ก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อ 1 ตุลาคม 1949 เตอร์กิสถานตะวันออกจึงกลายเป็นมณฑลซินเจียงของสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบันมีชาวอุยกูร์อยู่ในซินเจียงประมาณ 11 ล้านคน ประเทศเอเชียกลาง เช่น คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน อุซเบกิสถาน ประมาณ 500,000 คน ตุรกีประมาณ 50,000-100,000 คน ยุโรปและอเมริกาเหนือประมาณ 50,000-100,000 คน
ลักษณะของชาวอุยกูร์
***ทำไมจีนต้องพยายามกลืนชาติอุยกูร์***
ตามหลักของพรรคคอมมิวนิสต์ ต้องการรวบรวมดินแดนทุกส่วนให้กลายเป็น ‘จีนเดียว’ เพื่อความเป็นปึกแผ่นและมีวัฒนธรรมร่วมกัน ความแตกต่างหลากหลาย โดยเฉพาะศาสนา ที่เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับแนวคิดคอมมิวนิสต์ ชาวอุยกูร์จึงต้องเป็นเป้าของทางการจีน
เส้นทางสายไหมในอดีตปัจจุบันถูกพัฒนาเป็นความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) ซึ่งมณฑลซินเจียงอยู่ในเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญที่จะเชื่อมจีนไปยังเอเชียกลางและยุโรป
ทางการจีนอ้างว่า ชาวอุยกูร์เป็นกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง มีแนวคิดแบ่งแยกดินแดน โดยมีขบวนการปลดปล่อยซินเจียงคือ ขบวนการเตอร์กิสถานตะวันออก (East Turkestan Islamic Movement: ETIM) เป็นแกนนำ ซึ่งสถานทูตจีนในประเทศไทยเคยกล่าวว่า ชาวอุยกูร์ที่ถูกกักตัวอยู่ในไทยส่วนหนึ่งเป็น “คนกลุ่มเล็กๆ ที่ถูกกองกำลังภายนอกล่อลวงไป หนีมาต่างประเทศและเข้าร่วมกับกลุ่ม ETIM”
รัฐบาลจีนจึงอ้างนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายในปี 2014 ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ในปี 2014 จากนั้นในปี 2017 มีการกักขัง ควบคุมชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่ายปรับทัศนคติ
กระบวนการที่นานาชาติเรียกว่าเป็น ‘การกลืนชาติ’ ของจีน มีทั้งกักขังในค่ายปรับทัศนคติ เปลี่ยนภาษา เปลี่ยนชื่อเมือง ลบล้างวัฒนธรรม และส่งชาวจีนไปอยู่ในซินเจียงมากขึ้น เพื่อลบล้าง ‘ความเป็นอูยกูร์’ ให้หมดไป
จีนทำอะไรเพื่อ ‘ลบล้าง’ ความเป็นอุยกูร์
รัฐบาลจีนถูกกล่าวหาว่าสร้างค่ายกักกันเพื่อควบคุมชาวอุยกูร์ด้วยความโหดร้าย บ้างเรียกว่าเป็น ‘ค่ายปรับทัศนคติ’ แต่ทางการจีนบอกว่ามันคือ ‘ค่ายฝึกอาชีพ’ ให้ชาวอุยกูร์มีงานทำ
มีข้อมูลหลายแหล่งเปิดเผยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในค่ายกักกันที่ซินเจียง เช่น
- ควบคุมการนับถือศาสนาอิสลาม ห้ามถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
- บังคับให้ชาวอุยกูร์เลิกใช้ภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง
- บังคับใช้แรงงาน
- ทำหมันสตรีอุยกูร์
- ใช้ระบบจดจำใบหน้าเพื่อควบคุม
- ตั้งข้อหาหนักเพื่อคุมขัง
ส่วนด้านวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น รัฐบาลจีนเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านและเมืองของชาวอุยกูร์ เป็นชื่อที่สะท้อนอุดมการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ แทนวัฒนธรรมและศาสนาของชาวอุยกูร์
ดินเเดนซินเจียงในประเทศจีน
Human Rights Watch และองค์กร Uyghur Hjelp ที่มีสำนักงานอยู่ในนอร์เวย์ เปิดเผยเอกสารที่รวบรวมรายชื่อชุมชนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ 630 แห่ง ถูกเปลี่ยนชื่อโดยรัฐบาลจีนเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2024 โดยพบว่า เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นช่วงที่รัฐบาลจีนปราบปรามชาวอุยกูร์ โดยชื่อที่ถูกตั้งขึ้นใหม่ระหว่างปี 2009-2023 ถอดถอนความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมออก โดยเฉพาะปี 2017-2019 ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
การอ้างถึงศาสนาหรือวัฒนธรรมอุยกูร์ถูกถอดออกไป เช่น คำว่า Hoja ที่เป็นคำนำหน้าครูสอนศาสนาซูฟีของอิสลาม ซึ่งหมู่บ้านที่มีชื่อนี้ถูกเปลี่ยนชื่ออย่างน้อย 25 หมู่บ้าน หรือชื่อหมู่บ้านที่มีคำว่า Haniqa ที่หมายถึงอาคารทางศาสนาแบบหนึ่งของซูฟีก็ถูกเอาออก เช่นเดียวกับคำว่า Mazar ซึ่งหมายถึงศาลเจ้า ก็หายไปจากชื่อ 41 หมู่บ้าน
ทางการจีนยังเปลี่ยนชื่อที่เชื่อมโยงกับอาณาจักรอุยกูร์ เช่น ชื่อผู้นำก่อนหน้าปี 1949 ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานระบุว่า ตอนนี้ในซินเจียงไม่มีหมู่บ้านที่ชื่อที่มีคำว่า Xelpe หรือ Khalifa และ Meschit ที่แปลว่า ผู้ปกครองหรือมัสยิด
ชื่อใหม่ของสถานที่เหล่านี้เป็นภาษาจีนกลางและแสดงท่าทีที่เป็นบวกต่อรัฐบาลจีน เนื่องมาจากรัฐบาลจีนต้องการให้ชาวอุยกูร์ยอมรับและแสดงออกภายใต้การนำของจีน
ในปี 2018 หมู่บ้าน Aq Meschit มัสยิดสีขาว ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านที่แปลตามอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ได้ว่า ‘เป็นหนึ่งเดียวกัน’ ในปี 2022 หมู่บ้าน Dutar ซึ่งตั้งชื่อตามเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวอุยกูร์ก็ถูกเปลี่ยนเป็นหมู่บ้าน ‘ธงแดง’ กระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบของจีน จึงถูกกล่าวว่า เป็นการกลืนชาติ ทั้งทำลายเผ่าพันธุ์ ความเชื่อ ภาษา วัฒนธรรม ทำลายโอกาส และอนาคต ไม่ให้ชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอิสลามหลงเหลืออีกต่อไป
นอกจากนี้ยังมีความพยายามลดการเพิ่มจำนวนของชาวอุยกูร์ในซินเจียง ปัจจุบันมีชาวอุยกูร์อยู่ในซินเจียงประมาณ 11 ล้านคน โดยไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชาวจีนเริ่มอพยพเข้าไปมากขึ้น ทำให้ชาวอุยกูร์มีประชากรลดลง
แต่ถูกจีนยุคสร้างชาติยึดครองในปี 1949
ดินแดนของอุยกูร์อยู่บนเส้นทางสายไหม จึงมีความผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีน เปอร์เซียและอาหรับ ชาวอุยกูร์จึงใช้ภาษาเตอร์กิช
ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ปัจจุบันมีประชากรราว 11 ล้านคน
รัฐบาลจีนถูกกล่าวหาว่าสร้างค่ายกักกันเพื่อควบคุมชาวอุยกูร์ด้วยความโหดร้าย บ้างเรียกว่าเป็น ‘ค่ายปรับทัศนคติ’ แต่ทางการจีนบอกว่ามันคือ ‘ค่ายฝึกอาชีพ’ ให้ชาวอุยกูร์มีงานทำ
มีข้อมูลหลายแหล่งเปิดเผยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในค่ายกักกันในซินเจียง เช่น
- ควบคุมการนับถือศาสนาอิสลาม ห้ามถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
- บังคับให้ชาวอุยกูร์เลิกใช้ภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง
- บังคับใช้แรงงาน
- ทำหมันสตรีอุยกูร์
- ใช้ระบจดจำใบหน้าเพื่อควบคุม
- ตั้งข้อหาหนักเพื่อคุมขัง
ตั้งแต่ปี 2017 มีรายงานว่า ทางการจีนสร้างค่ายกักกันเพื่อปรับทัศนคติขึ้นหลายแห่งอย่างรวดเร็ว โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNCHR) เปิดเผยข้อมูลเมื่อปี 2018 ว่า จีนกำลังควบคุมตัวชาวอุยกูร์มากถึง 1 ล้านคนไว้ที่ศูนย์ปรับทัศนคติ ที่คาดว่ามีมากกว่า 380 แห่ง และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ
แม้จีนจะไม่ได้ทำการสังหารหมู่ด้วยอาวุธรุนแรง แต่กระบวนการที่จีนออกแบบและปฏิบัติกับชาวอุยกูร์อย่างเป็นระบบและกว้างขวาง มีแนวโน้มที่จำทำให้ชาติพันธุ์อุยกูร์สูญสิ้นในไม่ช้า ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ ซึ่งเท่ากับเป็น ‘การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’ ที่ดำเนินไปอย่างช้าๆ
***โทษจำคุกในค่ายกักกันที่ซินเจียง***
ตั้งแต่ปี 2017 มีรายงานว่า ทางการจีนสร้างค่ายกักกันเพื่อปรับทัศนคติขึ้นหลายแห่งอย่างรวดเร็ว โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNCHR) เปิดเผยข้อมูลเมื่อปี 2018 ว่า จีนกำลังควบคุมตัวชาวอุยกูร์มากถึง 1 ล้านคนไว้ที่ศูนย์ปรับทัศนคติ
ด้านสถาบันนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ออสเตรเลีย (Australian Strategic Policy Institute) ระบุเมื่อปี 2020 ว่า ค่ายปรับทัศนคติที่ว่านี้มีมากกว่า 380 แห่ง และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้น
รายงานความยาว 25 หน้าจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยเยล ใช้ข้อมูลจาก ‘ฐานข้อมูลเหยื่อชาวอุยกูร์’ ที่ระบุตัวเลขเหยื่อไว้ 827,725 คน ที่ถูกควบคุมตัวในซินเจียง โดยอ้างอิงจาก ‘เอกสารของตำรวจจีน’ ที่รั่วไหลออกมา
ข้อมูลที่ชื่อว่า เอกสารของตำรวจจีน Xinjiang Police Files ระบุว่า มีชาวอุยกูร์เกือบ 23,000 คน หรือมากกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ของประชากรวัยผู้ใหญ่ของเขตหนึ่ง ถูกควบคุมตัวอยู่ในค่าย หรือในเรือนจำระหว่างปี 2017-2018 หากคำนวณตัวเลขนี้กับภูมิภาคซินเจียงทั้งหมด เท่ากับว่า มีการควบคุมตัวชาวอุยกูร์และผู้ใหญ่ที่เป็นชนกลุ่มน้อยมุสลิมรวมกว่า 1.2 ล้านคน
นอกจากนี้ นักวิจัยยังศึกษาบันทึกของสำนักงานอัยการที่ซินเจียง ตั้งแต่ปี 2017-2021 โดยไม่ได้รวมตัวเลขหลังจากนั้น ทำให้เชื่อว่า ตัวเลขจริงจะสูงกว่านี้มาก
นักวิจัยพบว่า มี 13,114 คดีที่มีโทษจำคุก และโทษจำคุกเฉลี่ยของคนเหล่านี้อยู่ที่ 8.8 ปี เอามาคูณด้วยตัวเลขชาวอุยกูร์ที่ถูกศาลสั่งฟ้องระหว่างปี 2017-2021 คือราว 500,000 คน ออกมาเป็นโทษจำคุกรวมกันโดยประมาณอย่างน้อย 4.4 ล้านปี ซึ่งตัวเลข ณ ปัจจุบันน่าจะสูงกว่านี้มาก เพราะข้อมูลที่หาได้หยุดไว้ที่ปี 2021 และประวัติอาชญากรรมเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ในซินเจียงไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ
เรย์ฮาน อาซัต ทนายความและผู้สนับสนุนสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นผู้เขียนรายงานหลัก กล่าวว่า “เป็นเหตุการณ์ระดับที่โลกไม่เคยพบเห็นมาก่อน และหากจีนได้รับอนุญาตให้จำคุกชาวอุยกูร์เป็นเวลา 4.4 ล้านปี ตามคำพิพากษาที่จีนเคยตัดสินไว้ ชาวอุยกูร์จะต้องถูกตัดสินให้ไร้ความสามารถทางชาติพันธุ์อย่างสิ้นเชิง”
***การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของจีน***
แม้จีนจะไม่ได้ทำการสังหารหมู่เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในยุคของนาซีหรือเขมรแดง แต่กระบวนการที่จีนออกแบบและปฏิบัติกับชาวอุยกูร์อย่างเป็นระบบและกว้างขวาง มีแนวโน้มที่จะทำให้ชาติพันธุ์อุยกูร์สูญสิ้นในไม่ช้า
กรณีนี้จึงกลายเป็นประเด็นที่นานาชาติจับตามอง ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง เพราะนั่นคือการทำให้ชนชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งหายไปตลอดกาล ทั้งเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมและความเชื่อ
ชาติตะวันตกหลายมาตรการเพื่อคว่ำบาตรจีนเรื่องอุยกูร์ โดยเฉพาะสหรัฐฯ มหาอำนาจขั้วตรงข้ามถึงการกล่าวหาว่าจีนกำลัง ‘ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’ ขณะที่สหประชาชาติและองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนอื่นๆ เรียกร้องให้จีนเปิดเผยข้อมูลและยุติการละเมิดสิทธิ
#สิทธิมนุษยชน #อุยกูร์ #ซินเจียง #จีน #ส่งตัวชาวอุยกูร์ #ผู้ลี้ภัย #องค์การสหประชาชาติ #สาดความรู้สังคม #อนุรักษ์นิว
เรียบเรียงโดย อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม
ข่าวรอบโลก
จีน
อุยกูร์
2 บันทึก
4
2
2
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย