Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ท่านว่า(Than-Wa)
•
ติดตาม
2 มี.ค. เวลา 06:12 • การศึกษา
Thailland
หลักอิสระในทางแพ่ง และ หลักเสรีภาพในการทำนิติกรรม
นิติกรรม คือ การกระทำที่ตั้งใจจะก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย การกระทำที่ก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วน หากจะให้กฎหมายกำหนดรับรองไว้โดยเฉพาะแต่ละกรณีอย่างละเอียด คงเป็นไปได้ยาก หรืออาจเป็นไปมิได้เลย ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดหลักเกณฑ์ไว้กว้างๆเท่านั้น ซึ่งนั่นก็คือ หลักอิสระในทางแพ่งและหลักเสรีภาพในการทำนิติกรรม
หลักอิสระในทางแพ่ง (Private autonomy) คือ อำนาจของเอกชน(ก็เราๆนี่แหละ)ในการกำหนดขอบเขตทางกฎหมายของตนเอง โดยที่กฎหมายจะมารับรองให้เกิดผลในทางกฎหมาย
เห็นได้ว่า หลักอิสระในทางแพ่ง ดูมีความเป็นทั่วไปและกว้างเป็นอย่างมาก แต่ก็มิใช่ว่าเอกชนจะกระทำการใดๆตามอำเภอใจได้ เพราะการใช้หลักอิสระในทางแพ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบ 3 ประการ ดังนี้
1.เคารพขอบเขตทางกฎหมายของบุคคลอื่น
2.เคารพกฎเกณฑ์ที่มาจากเหตุผลในสำนึกของตนเอง(ศีลธรรม เรื่องที่เรารู้อยู่ภายในใจตนเอง มนุษย์เรารู้ผิดชอบชั่วดี เรารู้ว่าการลักขโมยการทำร้ายผู้อื่นเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย ดังนั้นเราก็จะไม่ทำ)
3.เคารพบทบัญญัติของกฎหมาย
อิสระและเสรีภาพนี้ต้องอยู่ภายใต้กรอบ คือ อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน กรอบนี้เป็นกรอบที่มิมีใครก้าวล่วงออกมาได้ หากใครก้าวล่วงออกมา กฎหมายก็มิอาจรับรองให้นิติกรรมนั้นมีผลในทางกฎหมายได้
แม้หลักอิสระในทางแพ่งจะเป็นหลักกฎหมายทั่วไปซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 4 ได้บอกไว้ว่า หลักกฎหมายทั่วไป ต้องใช้เป็นบ่อเกิดลำดับสุดท้าย แต่เมื่อสังเกตดีๆแล้วจะพบว่า หลักอิสระในทางแพ่ง ก็ถูกบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 151 ซึ่งอยู่ในบรรพ 1 บททั่วไป มีผลเสมือนบทครอบจักรวาล ดังนั้นการจะทำนิติกรรม สัญญา จะต้องคำนึงถึงบทบัญญัตินี้เสมอ.
อ้างอิง
หนังสือคำอธิบายนิติกรรมสัญญา ศ.ดร.ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมาย
ไทย
ความรู้รอบตัว
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย