3 มี.ค. เวลา 10:33 • ข่าวรอบโลก

ความล้มเหลวของ “เซเลนสกี” ในสหรัฐฯ จะส่งผลต่อความขัดแย้งในยูเครนอย่างไร

เราควรคาดหวังการเปลี่ยนแปลงในการเจรจาระหว่าง “รัสเซีย” และ “สหรัฐ” หรือไม่ และมีอะไรใหม่ในแผนสันติภาพระหว่างลอนดอนและปารีสหรือไม่
  • ​เกริ่นนำ:
การเจรจาที่ล้มเหลวของ “เซเลนสกี” กับ “ทรัมป์” ทำให้ยุโรปต้องคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับการยุติความขัดแย้งในยูเครนเป็นครั้งแรก หลังจากการประชุมที่ลอนดอนเมื่อ 2 มีนาคม 2025 “อังกฤษ” และ “ฝรั่งเศส” ยังประกาศความพร้อมที่จะเสนอแผนสันติภาพของทางยุโรปเอง
ในเวลาเดียวกันพันธมิตรในยุโรปส่วนใหญ่ยังคงยืนกรานที่จะสนับสนุนเคียฟต่อไป อังกฤษประกาศจัดสรรเงิน 1.6 พันล้านปอนด์สำหรับการซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศและเงินกู้ 2.2 พันล้านปอนด์ให้กับยูเครน แม้ว่านายกอังกฤษ “เคียร์ สตาร์เมอร์” และเลขาธิการนาโตอย่าง “มาร์ก รุตเต” จะแนะนำให้เซเลนสกีสร้างการเจรจากับทรัมป์อีกครั้งก็ตาม
3
ข้อตกลงในค่ายยุโรปไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ผู้นำ “ฮังการี” และ “สโลวาเกีย” ได้ชี้แจงอย่างชัดเจนแล้วว่าการบรรลุฉันทามติเกี่ยวกับนโยบายด้านความมั่นคงของยุโรปในการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปในวันที่ 6 มีนาคมนั้นเป็นเรื่องยาก ความล้มเหลวทางการทูตของเซเลนสกีในห้องทำงานรูปไข่ส่งผลอย่างไร และจะส่งผลต่อการเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับยูเครนอย่างไร
  • ​ข้อตกลงแร่หายากซึ่งหวังปูทางสู่การหยุดยิงล่มไม่เป็นท่า
การพบกันส่วนตัวระหว่าง “ทรัมป์” และ “เซเลนสกี” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ทรัมป์เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ และตามมาด้วยการเจรจารอบแรกระหว่างรัสเซียและสหรัฐอเมริกาในซาอุดิอาระเบีย หลังจากนั้นจึงเห็นได้ชัดว่ามีข้อขัดแย้งมากมายระหว่างรัฐบาลวอชิงตันชุดใหม่และเคียฟ ยิ่งไปกว่านั้นความล้มเหลวในทำเนียบขาวยังทำให้ยุโรปตกตะลึง ซึ่งเมื่อไม่นานนี้กำลังพยายามตามให้ทันหัวรถจักรของอเมริกาและแย่งชิงตำแหน่งผู้นำการเจรจาให้กับตนเองที่โต๊ะเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
ระหว่างช่วงการพบกันเพื่อเจรจาซึ่งดำเนินไปต่อหน้าสื่อมวลชนประมาณ 10 นาที ทรัมป์และรองประธานาธิบดีแวนซ์ตอบโต้คำพูดของเซเลนสกีอย่างรุนแรง โดยตำหนิเซเลนสกีที่ไม่รู้สึกขอบคุณวอชิงตันที่สนับสนุนยูเครนเพียงพอ ในที่สุดทรัมป์ก็กล่าวหาเซเลนสกีว่ากำลังพนันกับสงครามโลกครั้งที่สาม
เพื่อตอบโต้ผู้นำยูเครนซึ่งไม่ปฏิบัติตามพิธีการเช่นกัน ได้โต้เถียงกับพันธมิตรอเมริกัน โดยขัดจังหวะการถามของพวกเขาเป็นระยะๆ และอ้างว่ายูเครนไม่พร้อมที่จะยุติความขัดแย้งหากไม่มีการรับประกันความมั่นคงให้กับยูเครน หลังจากนั้นบนโพสต์ของเซเลนสกีบนโซเชียลดูเหมือนเป็นการวิจารณ์รัฐบาลสหรัฐฯ อย่างเสียดสีของเขา
คาดว่าหลังจากเปิดรับฟังความเห็นของผู้ที่เข้าร่วมฟังการเจรจาแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะหารือรายละเอียดข้อตกลงดังกล่าวต่อ ซึ่งจะให้สิทธิ์แก่สหรัฐฯ ในการสำรวจแหล่งแร่หายากในยูเครนแบบคุยกันลับๆ ส่งผลให้คณะผู้แทนจากเคียฟต้องรอประมาณหนึ่งชั่วโมง และ โอกซานา มาคาโรวา ทูตยูเครนประจำสหรัฐฯ ขอร้องให้สหรัฐฯ กลับมาเจรจากันอีกครั้งด้วยน้ำตาคลอเบ้า [1]
อย่างไรก็ตามสื่อของสหรัฐฯ อ้างว่าทรัมป์ไล่ตะเพิดเซเลนสกีออกจากทำเนียบขาว ขณะที่สื่อของยูเครนอ้างว่าเขาออกจากทำเนียบขาวด้วยความโกรธ อย่างน้อยภาพดังกล่าวก็แสดงให้เห็นว่าไม่มีใครเดินไปส่งเซเลนสกีที่รถของเขา แหล่งข่าวใกล้ชิดทำเนียบขาวยังอธิบายรายละเอียดที่น่าสนใจดังกล่าวด้วย โดยทรัมป์อ้างว่ากินอาหารกลางวันที่เตรียมไว้ให้เซเลนสกีเองด้วยซ้ำ [2]
โอกซานา มาคาโรวา (ซ้าย) ทูตยูเครนประจำสหรัฐฯ เครดิตภาพ: Liberale
ทันทีหลังจากการเจรจาที่ทำเนียบขาวล้มเหลว ก็มีการเปิดเผยว่าฝ่ายบริหารทำเนียบขาวได้สั่งลดจำนวนเจ้าหน้าที่ USAID ในยูเครนจาก 64 คนเหลือ 8 คน ซึ่งหน่วยงานนี้มีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ ทรัมป์ยังสั่งให้ศึกษากรณีการยุติการส่งอาวุธไปยังเคียฟอีกด้วย [3]
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเรียกร้องให้ผู้นำยูเครนขอโทษต่อสาธารณชน และทรัมป์กล่าวว่าเขาพร้อมที่จะต้อนรับเขาอีกครั้งเมื่อเขา “พร้อมสำหรับสันติภาพ” ต่อมา ไมค์ วอลทซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ แสดงความสงสัยเกี่ยวกับความปรารถนาของเซเลนสกีที่จะเจรจาสันติภาพโดยสุจริตใจ และยังตั้งข้อสังเกตว่าสหรัฐฯ ต้องการผู้นำยูเครนที่จะยินดีพร้อมจะดีลด้วย (ตามเงื่อนไขของสหรัฐ) [4][5]
หลังเจรจาล้มเหลว เซเลนสกีได้โทรศัพท์ไปหาผู้นำฝรั่งเศส “เอ็มมานูเอล มาครง” และนายกอังกฤษ “เคียร์ สตาร์เมอร์” เซเลนสกียังได้รับการปลอบและจะยืนเคียงข้างสนับสนุนเขาต่อจาก “โดนัลด์ ทัสก์” นายกโปแลนด์ “อัวร์ซูลา ฟอน เดอ เลเยน” ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป “ดิก ชอฟฟ์” นายกเนเธอร์แลนด์ และ “คาจา คัลลาส” หัวหน้าการต่างประเทศของสหภาพยุโรป [6]
ในเวลาเดียวกัน “สตาร์เมอร์” และ “มาร์ก รุตเต” เลขาธิการนาโตได้แนะนำเซเลนสกีอย่างระมัดระวังให้สร้างการเจรจากับทรัมป์อีกครั้ง ซึ่งสิ่งนี้เน้นย้ำอีกครั้งว่ายุโรปยังอาจไม่พร้อมที่จะรับภาระผูกพันทั้งหมด และยังต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกาในเรื่องของยูเครน
คาจา คัลลาส หัวหน้าการต่างประเทศของสหภาพยุโรป เครดิตภาพ: Virginia Mayo / AP
  • ​“อังกฤษ” และ “ฝรั่งเศส” เรียกร้องให้สร้างแผนสันติภาพของตนเอง
หลังการเจรจาที่ห้องทำงานรูปไข่ล้มเหลวก็ได้เพิ่มความสำคัญให้กับการประชุมสุดยอดความมั่นคงที่ลอนดอนซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 2 มีนาคม 2025 หลังจากการประชุมที่คล้ายกันในปารีสเมื่อวันที่ 17 และ 19 กุมภาพันธ์ก่อนหน้านั้น ผู้นำยุโรปกำลังรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อพยายามเสริมกำลังป้องกันตนเองและยูเครน หากทรัมป์หันไปทำข้อตกลงกับปูติน เพื่อยุติการสนับสนุนยูเครน
เซเลนสกีบินตรงจากวอชิงตันไปลอนดอน หลังเจรจากับทรัมป์ เขาต้องยกเลิกตารางงานที่วางแผนไว้หลายรายการ ผู้นำที่เข้าร่วมอย่าง “มาครง” ประธานาธิบดีฟินแลนด์ “อเล็กซานเดอร์ สตับบ์” นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ “ทัสก์” และประธานาธิบดีเช็ก “เปโตร ฟิอาลา” นายกรัฐมนตรีสเปน “เปโดร ซานเชซ” นายกรัฐมนตรีอิตาลี “จอร์เจีย เมโลนี” และผู้นำคนอื่นๆ เดินทางถึงอังกฤษเพื่อหารือเกี่ยวกับการสนับสนุนเคียฟและอนาคตของความมั่นคงของยุโรป [7]
1
“โอลาฟ โชลซ์” นายกเยอรมนีที่กำลังพ้นจากตำแหน่งก็เข้าร่วมด้วย แม้ว่าเสียงของเขาจะไม่มีความสำคัญเท่าเดิมอีกต่อไป ที่น่าสนใจคือ “ฮาคาน ฟิดาน” รัฐมนตรีต่างประเทศของตุรกีก็เข้าร่วมการประชุมด้วย แน่นอนว่าผู้นำสหภาพยุโรปและนาโตก็ได้รับเชิญด้วย ได้แก่ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป “อัวร์ซูลา ฟอน เดอ เลเยน” ประธานสภายุโรป และเลขาธิการนาโต “มาร์ก รุตเต” [8]
เครดิตภาพ: IG / Macron
ในขณะเดียวกันกลุ่มประเทศบอลติกก็ไม่ได้รับคำเชิญเข้าร่วมประชุมที่ลอนดอน อาจเป็นไปได้ว่ายุโรปเข้าใจว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเสนอทางออกที่ดีได้ อย่างไรก็ตามกลุ่มบอลติกถือเป็นประเทศที่มีแนวโน้มต่อต้านรัสเซียมากที่สุด (พรมแดนใกล้กับรัสเซียเลย) ผู้นำของเอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ต่างแสดงความไม่พอใจ หลังจากนั้นสตาร์เมอร์ก็ได้ติดต่อไปขอโทษกลุ่มผู้นำบอลติกแล้ว [9]
ก่อนการประชุมสุดยอดที่ลอนดอนสตาร์เมอร์เคยกล่าวว่า อังกฤษและฝรั่งเศสตั้งใจที่จะพัฒนาแผนการหยุดยิงในยูเครนของตนเอง ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะทำงานร่วมกับประเทศอื่นอีกหนึ่งหรือสองประเทศร่วมกับยูเครน จากนั้นจึงนำเสนอแผนฉบับสุดท้ายต่อสหรัฐอเมริกา
การประชุมสุดยอดความมั่นคงยุโรปในลอนดอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาทางจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการสนับสนุนของสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้นเป็นไปได้ที่กลุ่มพันธมิตรยุโรปจะพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะยื้อเวลาความขัดแย้งในยูเครนออกไปจนถึงปี 2026 โดยรอให้ตำแหน่งของพรรครีพับลิกันในรัฐสภาสหรัฐฯ อ่อนแอลง เป้าหมายของการประชุมแท้จริงแล้วอาจเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ให้เห็นว่าไม่สามารถเกิดดีลในยูเครนได้หากไม่มียุโรปเข้าร่วม
2
เครดิตภาพ: Doug Mills / NYT
หัวหน้าคณะกรรมาธิการยุโรปเป็นคนแรกที่สรุปผลการประชุมในลอนดอน “ยูเครนต้องการการรับประกันความมั่นคงที่ครอบคลุมเพื่อสนับสนุนสถานะทางเศรษฐกิจและการทหาร” อัวร์ซูลา ฟอน เดอ เลเยนกล่าว เธอยังสังเกตเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการติดอาวุธให้ยุโรป และรับรองว่าคณะกรรมาธิการยุโรปจะเสนอแผนที่เกี่ยวข้องในการประชุมสุดยอดครั้งต่อไปในวันที่ 6 มีนาคมนี้ หลังจากนั้นรุตเตประกาศจะขอเพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศของประเทศในยุโรปบางประเทศทันที [10]
“ยูเครนยังไม่ถูกลืม” อังกฤษประกาศจัดสรรเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสตาร์เมอร์กล่าวว่าเงินนี้น่าจะเพียงพอสำหรับซื้อขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศที่ผลิตในอังกฤษมากกว่า 5,000 ลูก เงินนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมจากกองทุนสินเชื่อประมาณ 2.77 พันล้านดอลลาร์ที่ลอนดอนสัญญาว่าจะให้กับเคียฟในก่อนหน้านี้ [11]
1
ดังนั้น 6 มีนาคม 2025 จะมีการหารือเกี่ยวกับยูเครนและความมั่นคงของยุโรปอีกครั้ง แต่คราวนี้จะหารือกันอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีคำแถลงของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่เป็นฉากหลัง ทัสก์นายกโปแลนด์กล่าวว่าคณะกรรมาธิการยุโรปกำลังเตรียมแพ็คเกจด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งรายละเอียดจะประกาศในที่ประชุมสุดยอด ในขณะเดียวกันก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้น ก็ชัดเจนว่าการบรรลุฉันทามติใดๆ ยังไม่ใช่เรื่องง่าย
นายกรัฐมนตรีสโลวาเกีย “โรเบิร์ต ฟิโก” ได้กล่าวว่าประเทศของเขาจะไม่สนับสนุนยูเครน ไม่ว่าจะเป็นทางการเงินหรือการทหาร และยังเน้นย้ำด้วยว่าเคียฟไม่มีทางที่จะมีจุดยืนแข็งแกร่งพอที่จะเจรจากับมอสโกที่เหนือกว่าได้เลย สโลวาเกียเรียกร้องให้หยุดยิงทันที ไม่ว่าจะบรรลุฉันทามติเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพหรือไม่ก็ตาม [12]
อีกหนึ่งตัวตึงของยุโรป ในส่วนของฮังการียังยืนกรานที่จะให้เจรจาโดยตรงกับรัสเซีย ในจดหมายที่ส่งถึงประธานสภายุโรปเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา “วิกเตอร์ ออร์บัน” ผู้นำฮังการีพูดถึงความแตกต่างเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของเขากับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ [13]
เครดิตภาพ: TASR
  • ​เรื่องอื้อฉาวในทำเนียบขาวจะส่งผลต่อการเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ อย่างไร
อย่างไรก็ตามในระหว่างการสนทนากับเซเลนสกี ทรัมป์ก็ยังพูดถึงปูติน โดยกล่าวว่าเขาเคยผ่าน “ช่วงเวลาที่ยากลำบาก” และ “การถูกล่าแม่มด” กับเขาในช่วงดำรงตำแหน่งสมัยแรก ต่อมา “มาร์โก รูบิโอ” รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า แน่นอนว่าการเจรจากับปูตินจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สหรัฐฯ ตั้งใจที่จะพยายามหาจุดยืนของรัสเซียในการแก้ไขวิกฤตนี้ [14][15]
1
คณะตัวแทนทีมเจรจาของทรัมป์ที่ไปคุยกับทีมเจรจารัสเซียนั้นดำเนินการจากข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเขาไม่ได้มีอำนาจเหนือมอสโก “เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ” รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียกล่าว รัสเซียและสหรัฐฯ กำลังนั่งลงที่โต๊ะเจรจาในฐานะสองประเทศที่มีความจริงจัง เพื่อทำความเข้าใจว่า “มีข้อผิดพลาดตรงไหน” และสิ่งที่ทรัมป์ทำพลาดในช่วงสี่ปีของสมัยแรก [16]
ผลลัพธ์ที่น่าผิดหวังของการประชุมระหว่างทรัมป์และเซเลนสกีในทำเนียบขาวไม่ควรถูกมองว่าเป็นข้อได้เปรียบที่ชัดเจนสำหรับรัสเซีย แม้ว่าประธานาธิบดี “อเล็กซานเดอร์ สตับบ์” ของฟินแลนด์จะกล่าวในที่สาธารณะในทางตรงกันข้ามก็ตาม เขาบอกว่า “มันเป็นความล้มเหลวทางการทูตที่จริง ๆ แล้วมีผู้ชนะเพียงคนเดียว และเขาไม่ได้เข้าร่วมการเจรจาด้วยซ้ำ” เขาหมายถึง “ปูติน” [17]
1
ดูแล้วมอสโกและวอชิงตันมีความแตกต่างกันในแนวทางของพวกเขาในการยุติความขัดแย้งในยูเครน ดังที่การสนทนาในทำเนียบขาวแสดงให้เห็น รัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบันของทรัมป์แสดงให้เห็นว่าการเริ่มสงบศึกชั่วคราวเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันจุดยืนของรัสเซียคือต้องบรรลุข้อตกลงในเงื่อนไขทุกประเด็นก่อนจึงจะหยุดยิง
ปูตินเน้นก่อนหน้านี้หลายครั้งว่า เงื่อนไขจำเป็นสำหรับสันติภาพระยะยาวและยั่งยืน ไม่ใช่การสงบศึกชั่วคราว ยิ่งไปกว่านั้นในระหว่างการเจรจาที่ริยาดได้มีการสังเกตว่ามอสโกไม่ต้องการตกลงตามเงื่อนไขของการหยุดยิงในยูเครนโดยไม่ขจัดสาเหตุหลักของความขัดแย้งเสียก่อน
เครดิตภาพ: Al Jazeera
เรียบเรียงโดย Right Style
3rd Mar 2025
  • ​เชิงอรรถ:
<เครดิตภาพปก: X @UpdateNews724>
โฆษณา