Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ้ายจง
•
ติดตาม
4 มี.ค. เวลา 14:55 • ความคิดเห็น
แนวคิด “พัฒนาเครื่องมือตรวจจับเนื้อหาที่สร้างโดย AI ในงานวิชาการ-วิทยานิพนธ์” ถูกนำเสนอในจีน
ปัจจุบัน โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models - LLMs) เช่น DeepSeek ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และถูกใช้เป็นเครื่องมือช่วยเขียนวิทยานิพนธ์และงานวิชาการในมหาวิทยาลัยจีนอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับผลกระทบต่อคุณภาพและความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
เจียง เย่าตง สมาชิกสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติของจีน และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัย China University of Mining and Technology เสนอว่า
สามารถพัฒนาเครื่องมือตรวจจับเพื่อระบุว่าเนื้อหาในงานวิจัยหรืองานเขียนทางวิชาการถูกสร้างขึ้นโดย AI หรือไม่
โดยเน้นว่า AI เป็นเพียงเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ไม่ใช่สิ่งที่มาแทนที่ความคิดสร้างสรรค์และการวิเคราะห์ของมนุษย์
และ ยังเสนอให้ แพลตฟอร์ม AI ควรมีข้อจำกัดทางเทคนิค เช่น
- จำกัดความยาวของเนื้อหาที่ AI สร้างขึ้น
- เพิ่มระบบตรวจจับความเป็นต้นฉบับ ลดการพึ่งพา AI มากเกินไป
เสนออีกว่า มหาวิทยาลัยควรออก นโยบายชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ AI ในการศึกษา เช่น
อนุญาตให้ใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยเรียนรู้ ใช้สำหรับเรียบเรียงข้อมูลหรือช่วยกระตุ้นไอเดีย
แต่ห้ามใช้ AI สร้างเนื้อหาทั้งหมดของวิทยานิพนธ์หรือรายงาน
นอกจากนี้ ควรมีมาตรการลงโทษที่เข้มงวดขึ้นสำหรับการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการ เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของงานวิจัย
1
ย้อนไปเมื่อปลายปีที่แล้ว 2024 มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น มหาวิทยาลัยดังของจีนที่เซี่ยงไฮ้ เป็นมหาวิทยาลัยแรกๆในจีนที่ออกกฎชัดเจน
- ห้ามใช้ AI ในการสร้างหรือแก้ไข ข้อมูลต้นฉบับ ผลการทดลอง รูปภาพ เนื้อหาวิทยานิพนธ์ (รวมถึงกิตติกรรมประกาศ Acknowledgement)
- ห้ามใช้ AI ในกระบวนการตรวจสอบและพิจารณาวิทยานิพนธ์
- ข้อบังคับยังห้ามใช้เครื่องมือ AI อย่างชัดเจนสำหรับการขัดเกลาภาษาและแปลภาษาด้วย โดยให้เหตุผลว่า
“การเขียนที่ลื่นไหลและตรรกะที่ชัดเจนเป็นทักษะสำคัญที่คาดหวังจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีในทุกสาขาวิชา ความสามารถเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการคิดสร้างสรรค์”
อย่างไรก็ตาม นโยบายของม.ฟู่ตั้น อนุญาตให้ใช้เครื่องมือ AI ในบริบทบางอย่าง เช่น การช่วยเหลือในการเขียนโค้ด การดีบัก หรือการเลือกวิธีการวิจัย โดยจะต้องไม่บั่นทอนความสามารถของนักศึกษาในการแสดงให้เห็นถึงกระบวนการคิดวิเคราะห์และสร้างนวัตกรรม
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
จีน
ข่าวรอบโลก
เรื่องเล่า
1 บันทึก
13
2
1
13
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
โฆษณา
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย