Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 มี.ค. เวลา 01:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิเคราะห์หุ้นด้วย 7 Powers ว่าธุรกิจมีดีตรงไหน ถึงได้เปรียบคู่แข่ง ?
เราจะรู้ได้ยังไงว่า หุ้นที่เราเล็งอยู่ มีจุดแข็งในด้านไหนบ้าง ?
เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า หุ้นที่เราวิเคราะห์อยู่ ธุรกิจจะสร้างผลกำไรได้อย่างยั่งยืน และไม่ถูกคู่แข่ง เข้ามาขโมยส่วนแบ่งตลาดได้ง่าย ๆ ?
คำถามนี้ เป็นสิ่งที่นักลงทุนมักถามตัวเองอยู่เสมอ
ซึ่งก็มีหลากหลายเครื่องมือให้นักลงทุนหยิบจับมาใช้ เพื่อยืนยันความแข็งแกร่งของธุรกิจ
แต่หนึ่งในเครื่องมือที่มาแรง สามารถนำไปใช้ได้จริง
และเป็นเครื่องมือที่คุณแดม-ชนาเมธ เฟื่องวรรธนะ ต้นแบบนักลงทุนเน้นคุณค่า มักใช้อยู่บ่อย ๆ
นั่นคือ 7 Powers ที่ถูกคิดค้นโดยคุณ Hamilton Helmer นักกลยุทธ์ธุรกิจชาวอเมริกัน
โดย 7 Powers เป็นกรอบคิดในการวิเคราะห์และวางกลยุทธ์ธุรกิจ ที่ตระหนักว่า ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีอำนาจทางการแข่งขันที่แข็งแกร่ง และป้องกันการถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งได้
7 Powers ประกอบด้วย
1. Counter Positioning = การสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ให้เหนือคู่แข่ง
2. Cornered Resource = การเข้าถึงทรัพยากรที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจ แต่เพียงผู้เดียว
3. Network Economics = พลังแห่งเครือข่าย
4. Scale Economics = การประหยัดต่อขนาด
5. Switching Costs = ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น
6. Branding = แบรนด์ที่แข็งแกร่ง
7. Process Power = ความเชี่ยวชาญในกระบวนการผลิต
Power 1: Counter Positioning
คือ การคิดโมเดลธุรกิจขึ้นมาใหม่ให้เหนือกว่าคู่แข่ง โดยไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาดิสรัปต์
ยกตัวอย่างเช่น
เคส Netflix ที่เคยทำธุรกิจให้เช่าวิดีโอแบบไม่มีหน้าร้าน ซึ่งเป็นคู่แข่งของ Blockbuster ร้านให้เช่าวิดีโอแบบดั้งเดิม
โดยในตอนนั้น Netflix ได้คิดโมเดลธุรกิจใหม่ คือให้ลูกค้าเช่าวิดีโอผ่านทางคอมพิวเตอร์ และ Netflix สามารถจัดส่งวิดีโอทางไปรษณีย์ ถึงที่บ้านได้เลย
ซึ่งโมเดลธุรกิจแบบนี้ ไม่มีหน้าร้านเหมือน Blockbuster และยังไม่มีเทคโนโลยีสตรีมมิงอย่างในปัจจุบัน
ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ต้องบอกว่า Power นี้ คู่แข่งอย่าง Blockbuster ก็สามารถเข้ามาแย่งตลาดไปได้ แต่เลือกที่จะไม่ทำตรง ๆ
เพราะการทำแบบนี้ ก็เหมือนกับธุรกิจแบบดั้งเดิมที่ทำอยู่ กำลังจะทุบหม้อข้าวตนเอง
เพราะ Blockbuster ก็หันมาทำโมเดลให้เช่าทางไปรษณีย์ เพื่อแข่งกับ Netflix ได้สบาย ๆ
แต่เลือกที่จะไม่ทำ เพราะเดี๋ยวจะไม่มีคนมาเช่าที่หน้าร้าน จนหน้าร้านขาดทุน
Power 2: Cornered Resource
คือ การเข้าถึงทรัพยากร ที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจแต่เพียงผู้เดียว อย่างเช่น สิทธิบัตร สัมปทาน และทรัพยากรบุคคล
โดยธุรกิจ จะต้องทุ่มเททั้งเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก และเวลาที่ยาวนานมากพอในการสร้างธุรกิจ จนสามารถกันคู่แข่งไม่ให้เข้ามาตีตลาดได้เลย
ยกตัวอย่างเช่น
บริษัทยา ที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรในด้านงานวิจัยยา ผลิตยารักษาโรค และออกจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว
Power 3: Network Economics
คือ ยิ่งธุรกิจมีผู้ใช้งานมากขึ้นเท่าไร ธุรกิจนั้นก็จะเกิด Network Effects จนมีมูลค่าสูงมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
YouTube แพลตฟอร์มวิดีโอ ที่เป็นตัวกลางระหว่างครีเอเตอร์ และผู้เข้าชมกว่าหลายพันล้านคน
โดยสามารถสร้างรายได้ จากโฆษณาบนวิดีโอที่มีคนเข้ามาดูเป็นจำนวนมาก
และค่าสมาชิก YouTube Premium รายเดือน จากคนที่ไม่อยากดูโฆษณา
TikTok ที่เมื่อมีผู้ใช้งานมากพอ จึงเลือกเข้าสู่ธุรกิจ E-Commerce อย่าง TikTok shop
โดยร้านค้าออนไลน์ สามารถไลฟ์ขายสินค้าให้กับผู้ใช้งานบน TikTok กว่าหลายล้านคน
แล้วเก็บค่าคอมมิชชัน จากการขายสินค้าออนไลน์ได้
Power 4: Scale Economics
คือ ยิ่งธุรกิจผลิตสินค้าได้ทีละมาก ๆ ก็จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยนั้นถูกลง จนสามารถขายสินค้าได้ในราคาถูก และมีอัตรากำไรที่สูง
ยกตัวอย่างเช่น
- ข้าวกล่องของ CPRAM ที่วางขายใน 7-Eleven กล่องขาว กล่องแดง
สามารถผลิตข้าวกล่องพร้อมอุ่นไมโครเวฟได้ทีละมาก ๆ จนสามารถขายในราคาที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย ๆ
- สุกี้ตี๋น้อย ร้านสุกี้ราคาเริ่มต้น 219 บาท ที่มีอยู่หลายสาขาทั่วประเทศไทย
แม้ว่าสุกี้จะมีราคาถูก แต่สุกี้ตี๋น้อยก็มีอัตรากำไรสูงขึ้นทุกปี เนื่องจากมี Economies of Scale ในการสั่งวัตถุดิบมาทีละมาก ๆ จนได้ในราคาต้นทุนต่อหน่วยต่ำ
Power 5: Switching Costs
คือ เมื่อไรที่ลูกค้าใช้สินค้าและบริการของแบรนด์หนึ่ง แล้วอยู่มาวันหนึ่ง ลูกค้าอยากจะเปลี่ยนไปใช้ของอีกแบรนด์
ลูกค้าจะมีต้นทุนที่ต้องจ่าย หรือค่าเสียโอกาส เพื่อเปลี่ยนไปใช้ของอีกแบรนด์สูงมาก
ยกตัวอย่างเช่น
SAP ซอฟต์แวร์องค์กร (ERP) ที่มีไว้สำหรับจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ภายในบริษัท เช่น การเงิน, การจัดซื้อและซัปพลายเชน, การผลิต, การขายและการตลาด, ทรัพยากรบุคคล
ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้ ต้องมีการลงทุนเริ่มต้นที่สูงมาก ทั้งค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ และการฝึกอบรมพนักงาน
ดังนั้น ถ้าบริษัทคิดเปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์องค์กรเจ้าอื่น ธุรกิจก็จะต้องลงทุนซื้อซอฟต์แวร์ใหม่ ฝึกอบรมพนักงานใหม่ รวมถึงต้องเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ทั้งหมด
ทำให้ธุรกิจเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเปลี่ยนซอฟต์แวร์ ไปโดยเปล่าประโยชน์
Power 6: Branding
คือ การที่แบรนด์นั้น ได้สั่งสมประสบการณ์ในการสร้างสินค้าและบริการที่ดีมาเป็นระยะเวลายาวนาน
นานพอที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ในระดับหนึ่ง จนแบรนด์อื่น เข้ามาตีตลาดแข่งขันได้ยาก
ยกตัวอย่างเช่น
- กลุ่มแบรนด์สินค้าหรู อย่าง Hermès, Louis Vuitton, Gucci และ Chanel
ที่เมื่อนึกถึงแบรนด์เหล่านี้ ก็จะนึกถึงคาแรกเตอร์ของแบรนด์ที่ไม่มีใครเหมือน
รวมถึงคุณภาพของสินค้า และความลักชัวรี ที่ทุกคนสวมใส่แล้วดูดีมีเอกลักษณ์
ผู้คนจึงยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าเหล่านี้ แม้จะมีราคาสูงมากก็ตาม
Power 7: Process Power
คือ ธุรกิจมีความสามารถในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน พัฒนาระบบการทำงานให้เร็วขึ้น มีต้นทุนที่ถูกลง ในขณะที่สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพมากขึ้น จนคู่แข่งเข้ามาแย่งตลาดได้ยาก
ตัวอย่างธุรกิจที่มี Process Power ก็อย่างเช่น
เคสร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่ยิ่งขยายสาขา ก็ยิ่งมี Process Handling หรือระบบจัดการและควบคุมภายใน รวมถึงระบบการดำเนินการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ไม่ว่าจะเป็น
- การจัดการสต๊อกสินค้าผ่านระบบที่ทันสมัย
- การติดตามพฤติกรรมของลูกค้า
- วิธีการจัดเรียงสินค้าให้ประหยัดพื้นที่ และยังดึงดูดลูกค้าให้หยิบซื้อง่าย ๆ
- การบริหารจัดการพนักงานภายในร้านสะดวกซื้อ
เคสโรงงานผลิตรถยนต์ TOYOTA
ที่เน้นผลิตโดยการทำ Lean Manufacturing
ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการผลิต ที่เน้นลดความสูญเปล่า หรือ Waste เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่รถยนต์ที่ผลิตออกมามีคุณภาพดีขึ้น
ทำให้ต้นทุนในการผลิตรถยนต์นั้นถูกลง และมีความสามารถในการทำอัตรากำไรให้สูงขึ้นได้
นอกจากนี้ 7 Powers ก็ยังเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ธุรกิจ ว่าควรวางกลยุทธ์อย่างไร ในแต่ละช่วงการเติบโตด้วย
อย่างเช่น
- Power สำหรับช่วงเริ่มต้น หรือตั้งไข่ (Organization)
Power 1 = การสร้างโมเดลธุรกิจใหม่เหนือคู่แข่ง
Power 2 = การเข้าถึงทรัพยากร ที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจแต่เพียงผู้เดียว
- Power สำหรับช่วงเติบโต (Take off)
Power 3 = การสร้างธุรกิจให้มีมูลค่าสูงมากขึ้นจาก Network Effects
Power 4 = การทำให้ธุรกิจเกิด Economies of Scale หรือการประหยัดต่อขนาด
Power 5 = การทำให้ธุรกิจมี Switching Costs สูง ๆ หรือเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นได้ยาก
- Power สำหรับช่วงที่ธุรกิจต้องรักษาความมั่นคง (Stability)
Power 6 = การทำให้ธุรกิจ มีแบรนด์ที่แข็งแรง
Power 7 = การสร้างความเชี่ยวชาญ ในการทำธุรกิจให้มีความชำนาญ จนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ
และทั้งหมดนี้คือ การสรุปแนวคิดของ 7 Powers แบบคร่าว ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อนักลงทุน ในการช่วยวิเคราะห์หุ้น และคุณแดม-ชนาเมธ เฟื่องวรรธนะ ก็ใช้เป็นอาวุธคู่กาย
โดยคุณแดม คือหนึ่งในวิทยากร ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด และประสบการณ์ในการลงทุนเชิงลึก ที่งานสัมมนาครั้งใหญ่ของลงทุนแมน ชื่อ BEAT THE MARKET ในหัวข้อ “10X Mastery หลักการลงทุน พิชิตหุ้น 10 เด้ง”
https://www.zipeventapp.com/e/BEAT-THE-MARKET-2025
งานที่รวบรวมนักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในประเทศไทย มาแชร์แก่นแนวคิด วิธีพิชิตผลตอบแทนเหนือตลาด โดย Sessions ในงาน จะครอบคลุมตั้งแต่
-Alpha Stock Screening
กลยุทธ์ตามล่ากลุ่มหุ้น ผลตอบแทนเหนือตลาด
-10X Mastery
หลักการลงทุน พิชิตหุ้น 10 เด้ง
-The Master of Risk Management
ศาสตร์แห่งการบริหารความเสี่ยง
-Independent Mind
คิดอย่างไร ให้ชนะตลาด
- “MAGNIFICENT 7 vs TERRIFIC 10”
วิเคราะห์ กลุ่มหุ้นผู้ชนะของโลก 7 นางฟ้า vs ทศเทพ
นอกจากนั้น ในงานก็จะมีการหยิบหุ้น Top Picks มาพูดคุย และปิดท้ายด้วยตะกอนความคิด จากนักลงทุนรุ่นใหญ่
ตัวอย่างรายชื่อวิทยากรในงาน BEAT THE MARKET
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร, นักลงทุนเน้นคุณค่า
คุณวิบูลย์ พึงประเสริฐ, นักลงทุนเน้นคุณค่า
คุณทิวา ชินธาดาพงศ์, นักลงทุนเน้นคุณค่า
คุณเฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ, นักลงทุนเน้นคุณค่า
คุณมานะชัย ตันติกาญจนากุล, นักลงทุนเน้นคุณค่า
คุณวีระพงษ์ ธัม, นักลงทุนเน้นคุณค่า
คุณยศพนธ์ สุธารัตนชัยพร, CFA, นักลงทุนเน้นคุณค่า
คุณชนาเมธ เฟื่องวรรธนะ, นักลงทุนเน้นคุณค่า
คุณเมธพนธ์ อมรธีรสรรค์, นักลงทุนเน้นคุณค่า
งาน BEAT THE MARKET เหมาะสำหรับนักลงทุนทุกคน ที่กำลังมองหาแนวคิดการลงทุน และหาโอกาสสร้างผลตอบแทนชนะตลาด
เวลา: วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2568 10:30 - 18:00
สถานที่: พารากอน ซีนีเพล็กซ์ โรงภาพยนตร์ สยามภาวลัย
ใครไม่อยากพลาดไอเดียการลงทุน จากวิทยากรชั้นนำระดับประเทศ บัตรมีจำนวนจำกัด เปิดให้จองพร้อมกันที่
https://www.zipeventapp.com/e/BEAT-THE-MARKET-2025
12 บันทึก
19
7
12
19
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย