Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Physioupskill
•
ติดตาม
18 มี.ค. เวลา 11:00 • การศึกษา
## Episode110: Kinesiology of the Hand#4
Articulations of the Hand and Fingers ##
จากบทความที่แล้วที่ผมได้พูดถึงโครงสร้างกระดูกของมือและนิ้วไปแล้ว ในบทความนี้ผมจะมาพูดถึงข้อต่อต่างๆของมือและนิ้วกันครับ ข้อต่อแต่ละข้อมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไป
ข้อต่อของมือและนิ้วประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ "wrist complex" ที่เชื่อมต่อระหว่าง distal arm กับ carpal bone , "carpometacarpal joints" หรือข้อต่อระหว่างข้อมือกับฝ่ามือ และ "digital joints" หรือข้อต่อของนิ้วมือครับ โดยในบทความนี้ผมจะเน้นพูดถึง carpometacarpal joints และ digital joints เป็นหลักนะครับ เพราะ wrist complex ผมได้เคยอธิบายไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้
กลุ่มแรกที่สำคัญคือ "Carpometacarpal joints" (CMC) เป็นข้อต่อระหว่าง carpal bones กับ metacarpal bones โดยแต่ละนิ้วจะมีลักษณะข้อต่อที่แตกต่างกัน
CMC joint ของนิ้วโป้ง (first CMC) เป็นข้อต่อแบบ saddle joint ระหว่าง trapezium กับ first metacarpal ทำให้นิ้วโป้งเคลื่อนไหวได้มาก โดยเฉพาะการทำ opposition ที่สำคัญต่อการหยิบจับ จึงถือว่าเป็นข้อต่อที่สำคัญมากในการใช้งานมือ
CMC joint ของนิ้วชี้และนิ้วกลาง (second และ third CMC) เป็น plane joints ที่เคลื่อนไหวได้น้อยมาก เพื่อให้เป็นแกนที่มั่นคงของมือ ในขณะที่ CMC joint ของนิ้วนางและนิ้วก้อย (fourth และ fifth CMC) จะเคลื่อนไหวได้มากขึ้น โดยเฉพาะ fifth CMC ที่สามารถทำ flexion-extension ได้มากถึง 10-15 องศา
กลุ่มที่สอง "Digital joints" ประกอบด้วย metacarpophalangeal joints (MCP) และ interphalangeal joints (IP) ครับ
MCP joints เป็นข้อต่อระหว่าง metacarpal bones กับ proximal phalanx มีลักษณะเป็น condyloid joints ที่สามารถเคลื่อนไหวได้ทั้ง flexion-extension (ประมาณ 90 องศา) และ abduction-adduction (ประมาณ 20 องศา) แต่การทำ abduction-adduction จะทำได้เฉพาะในท่าที่นิ้วเหยียดตรงเท่านั้น
IP joints แบ่งเป็น proximal interphalangeal joints (PIP) และ distal interphalangeal joints (DIP) มีลักษณะเป็น hinge joints ที่เคลื่อนไหวได้เฉพาะ flexion-extension เท่านั้น โดย PIP สามารถงอได้ประมาณ 100 องศา ส่วน DIP งอได้ประมาณ 70-80 องศา
สำหรับนิ้วโป้งจะมี IP joint เพียงข้อเดียว เนื่องจากมี phalanx เพียง 2 ท่อน การเคลื่อนไหวก็จะเป็น flexion-extension เช่นกัน โดยสามารถงอได้ประมาณ 80 องศา
ข้อต่อทั้งหมดนี้จะมีโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเหนี่ยวที่สำคัญคือ "capsular ligaments" และ "collateral ligaments" โดย capsular ligaments จะหุ้มรอบข้อต่อ ส่วน collateral ligaments จะอยู่ด้านข้างของข้อต่อ ทำหน้าที่ป้องกันการเคลื่อนไหวในแนว varus-valgus
นอกจากนี้ที่ MCP joints และ IP joints ยังมี "volar plate" ซึ่งเป็นแผ่นกระดูกอ่อนที่อยู่ทางด้านฝ่ามือ ทำหน้าที่ป้องกันการเหยียดนิ้วมากเกินไป(hyperextension) และยังเป็นจุดเกาะของ collateral ligaments อีกด้วย
ความเข้าใจเรื่องข้อต่อของมือและนิ้วมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจกลไกการบาดเจ็บและวางแผนการรักษาได้ดีขึ้น เช่น การบาดเจ็บของ ulnar collateral ligament ของ first MCP (Gamekeeper's thumb) หรือการบาดเจ็บของ volar plate ที่ทำให้เกิด swan neck deformity เป็นต้น ซึ่งผมจะมาพูดถึงรายละเอียดของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อเหล่านี้ในบทความถัดๆไปครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่
https://physioupskill.com/บทความ/
หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่
https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/
ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2017). Kinesiology of the musculoskeletal system: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Drake, R., Vogl, A. W., & Mitchell, A. W. M. (2019). Gray's Anatomy for Students.
Moore, K. L., Dalley, A. F., & Agur, A. M. R. (2018). Clinically Oriented Anatomy. Wolters Kluwer.
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย