8 มี.ค. เวลา 03:19 • การศึกษา
ทุกสาขาวิชาที่รับผู้เรียนได้ในจำนวนจำกัด เป็นเพราะ "ข้อจำกัดในการเรียนการสอนตอนภาคปฏิบัติ" ค่ะ เครื่องไม้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ แล็ป อจ.ผู้สอน การฝึกงาน ฝึกฝนความชำนาญ ฯลฯ
แพทย์ ทันตะ พยาบาล รวมถึงวิทย์สุขภาพทุกแขนง ไม่ได้เรียนแต่ภาคทฤษฎี lecture แต่ต้องฝึกฝนความชำนาญจากการปฏิบัติงานจริง มีชีวิตผู้คนจริงๆมาเกี่ยวข้อง ต้องสะสมประสบการณ์จากการเห็นเคสเยอะๆ ฯลฯ
รร.แพทย์ต้องเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงการปฏิบัติงานจริงเมื่อเรียนจบ เพราะรพ.ชุมชนบางแห่งในต่างจังหวัด เครื่องไม้เครื่องมือไม่ได้พร้อมเหมือนในกท.หรือรพ.ใหญ่ๆ
ปี 1 เรียนอนาโตมี ผ่ากบ / ปี 2-3 เรียนกับร่างอจ.ใหญ่ แล็ปกริ๊ง / ปี 4-5-6 round ward ออกหน่วยฯ เข้าเวร ฯลฯ สมมุติว่าประเทศเรารวยมาก เครื่องไม้เครื่องมือพร้อม ใครอยากเรียนก็มาสมัคร มีตังค์จ่ายค่าเทอมก็ได้เรียน แต่พอเรียนๆไปแล้วใจไม่สู้ ลาออก บลาๆๆ ประเทศเราจะเป็นยังไง!!
ถ้าใช้หลัก "สอบผ่านเกณฑ์ก็ได้เรียน" ขอถามว่าจะตั้งเกณฑ์คะแนนที่เท่าไหร่ดีคะ 100/100 หรือ 80/100 หรือ ??? แล้วถ้าคนสอบผ่านเกณฑ์ มีจำนวนมากกว่าจำนวนที่นั่งที่ทางคณะรับได้ แล้วไงต่อ ???
"เกณฑ์คะแนนที่ตั้งไว้" ในความเป็นจริงก็มีอยู่แล้วค่ะ แต่ทุกๆปีก็มีปรากฎการณ์ที่เด็กๆก็ทำคะแนนนิวไฮ ทำลายสถิติเดิมกันอยู่เรื่อย จึงได้เห็นการประกาศคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด(ที่สอบติดในคณะต่างๆ)ที่ประกาศกันทุกปี เอาไว้เป็นไกด์ให้รุ่นต่อๆไป
อย่าลืมว่า "คะแนนไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงทั้งหมด" วันสอบเด็กบางคนอาจทำพลาดไปแค่คะแนนเดียว หรือบางคนอาจฟลุ๊กส้มหล่น ทิ้งดิ่งกามั่วแล้วคะแนนผ่านเกณฑ์เฉียดฉิว ฯลฯ
คำว่า "แย่งเก้าอี้" อาจฟังดูโหดร้าย แต่อยากชวนมองอีกมุมว่า อะไรที่ได้มาง่ายๆเกินไป มันจะดีจริงๆหรือ โดยเฉพาะกับวิชาชีพที่ต้องรับผิดชอบชีวิตคนอื่น!!
โฆษณา