9 มี.ค. เวลา 05:52 • การศึกษา

Holding Company เพื่อธุรกิจครอบครัว >>>

ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีความหลากหลายมากขึ้น การแข่งขันค่อนข้างสูง หลาย ๆ ครอบครัว จึงมีการประกอบธุรกิจในหลากหลายประเภทธุรกิจเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ บางธุรกิจอาจจะมีกำไรมาก บางธุรกิจอาจจะมีกำไรน้อย บางธุรกิจอาจจะขาดทุน ประกอบกับในแต่ละครอบครัวอาจจะมีสมาชิก ได้แก่ ลูก หลาน หลายคน การยกธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งให้ใครคนใดคนหนึ่งไปดูแล อาจจะเกิดความไม่ยุติธรรม
ดังนั้น การจัดตั้ง Holding Company ขึ้นมาเป็นบริษัทตรงกลาง ระหว่าง ผู้ถือหุ้นใน Holding Company (ลูก ๆ หลาน ๆ แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นเท่า ๆ กัน หรือ ตามสัดส่วนตามที่ได้ตกลงกัน) และให้ Holding Company เป็นบริษัทตรงกลางเข้าไปถือหุ้นในบจ.แต่ละประเภทธุรกิจ เพื่อ แบ่งสรรกำไรในแต่ละประเภทธุรกิจกลับคืนไปในรูปของเงินปันผล และ แบ่งเงินปันผลใน Holding Company กลับคืนไปให้ผู้ถือหุ้นของ Holding Company อีกครั้งหนึ่ง เพื่อความยุติธรรม
การจ่ายเงินปันผลจาก บจ.แต่ละประเภทธุรกิจไปยัง Holding Company จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 100% หากเข้าตามลักษณะเงื่อนไข ดังนี้
1.Holding Company ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นใน Holding Company ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม และ
2.การถือหุ้นที่ก่อให้เกิดเงินปันผลจะต้องถือไว้ไม่น้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นนั้นมาถึงวันมีการจ่ายเงินปันผล หรือได้โอนหุ้นที่ก่อให้เกิดเงินปันผลภายหลังสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับเงินปันผล
ตอนจ่ายเงินปันผลไปยัง Holding Company หากเข้าเงื่อนไขตามข้อ 1 จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
สำหรับการจ่ายเงินปันผลจาก Holding Company ไปยังผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาแต่ละคนจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
โดยบุคคลธรรมดาจะเลือกนำรายได้เงินปันผลที่ได้รับไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีแล้วใช้เครดิตเงินปันผล หรือ เลือกไม่นำรายได้เงินปันผลมารวมคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี แล้วยอมถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% เป็น final tax ก็ได้
#VIStylebyMooduang #สำนักงานกฎหมายภาษีสยามลอว์ #็HoldingCompany
โฆษณา