Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
11 มี.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
"โพกริ่ง" พืชหายากแห่งหมู่เกาะสิมิลัน
โพกริ่ง ชื่อพฤกษศาสตร์: Hernandia nymphaeifolia (C.Presl) Kubitzki วงศ์ : HERNANDIACEAE ชื่ออื่น : โพกระดิ่ง โปง
โพกริ่ง เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาเป็นมัน ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่กว้างแกมรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบกลม ก้านใบยาว 6-20 เซนติเมตร ติดเลยโคนใบเข้ามาในแผ่นใบเล็กน้อย
ดอกออกเป็นช่อ แตกแขนงสั้นๆ ตามซอกโคนใบใกล้ยอดหรือที่ยอด ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ดอก ตรงกลางเป็นดอกเพศเมียขนาบด้วยดอกเพศผู้ ดอกเพศเมียมีกลีบดอกสีขาว 4 กลีบ มีฐานรองรบรับไข่เป็นรูปถ้วยและมีขนาดโตขึ้นรองรับผล ผลสดกลม สีดำ เมล็ดกลมมีเนื้อนุ่มคล้ายฟองน้ำหุ้ม
มีเขตกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ของไทย ต่างประเทศพบที่มาดาร์กัสการ์ ศรีลังกา อินเดีย พม่า ภูมิภาคมาเลเซียจนถึงโพลีนีเซีย ขึ้นตามป่าชายหาดบนหาดทรายของเกาะและฝั่งทะเลด้านทะเลอันดามัน ออกดอกและผลเดือน กันยายน -พฤศจิกายน
ในประเทศไทยโพกริ่งเป็นพืชหายาก พบตามป่าชายหาดที่เป็นหาดทรายตามเกาะและฝั่งทะเล ที่ไม่ถูกรบกวน ปัจจุบันเหลือน้อย เนื่องจากถิ่นกำเนิดถูกทำลายหรือเปลี่ยนสภาพ
ที่มา : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park จังหวัดพังงา
#พืชหายาก #โพกริ่ง #อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
#พังงา #สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่5นครศรีธรรมราช
#กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ดอกไม้
อุทยานแห่งชาติ
ธรรมชาติ
บันทึก
2
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย