11 มี.ค. เวลา 12:00 • สุขภาพ

ทำไมควรเลิกสนใจของกินที่ไม่ดีกับสุขภาพ ?

เมื่อวานผมมีโอกาสไปพูดเกี่ยวกับเรื่องของการดูแลสุขภาพที่ CPN ด้วยความที่เวลาจำกัด มีเรื่องหนึ่งที่คิดว่าควรจะพูด แต่ไม่ได้พูด แล้วมันคาใจ เลยขอเอามาเขียนโพสต์แทน
ปกติเราพูดถึงเรื่องอาหารสุขภาพหลายครั้ง เรามักจะโฟกัสไปที่สิ่งที่เราไม่ควรกิน เช่น ลดหวาน ลดเค็ม ลดเนื้อแดง ซึ่งมันถูกต้อง แต่ปัญหาคือ การคิดแบบนี้มันเหมือนไปตีกรอบให้รู้สึกว่าการกินเพื่อสุขภาพคือ การจำกัดสิ่งที่กินได้ ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Restriction Diet แต่การมองเช่นนี้อาจจะเป็นมุมที่ไม่ดีด้วยหลายเหตุผล
2
อย่างแรก เมื่อเราตีกรอบว่า เราไม่ควรกินอะไร มันกลับทำให้สมองของเราจะมีแนวโน้มจะจดจ่อต่อสิ่งนั้น เช่น บอกใครสักคนว่าห้ามกินหวาน ห้ามกินของมันๆ สมองก็จะคิดแต่เรื่องนั้น
ในทางจิตวิทยามันมีปรากฏการณ์เรียกว่า Ironic Mental Process theory ซึ่งนักจิตวิทยามหาวิทยาลัย Harvard ชื่อว่า Daniel Wegner เป็นคนเสนอเรื่องนี้เอาไว้ เขาบอกว่าเวลาเราถูกบอกว่า ห้ามคิดอะไร เช่น คุณห้ามคิดถึงหมีขาวนะ สมองเราจะคิดถึงหมีขาวขึ้นมา แล้วเราก็จะวนกลับมาคิดถึงหมีขาวเรื่อยๆ
2
ปรากฎการณ์นี้ยังมีผลกว้างกว่านั้น เช่น ถ้าโฟกัสไปถึงสิ่งที่เราห้ามทำ หรือห้ามกิน มันจะกระตุ้นให้สมองรู้สึกว่าขาดสิ่งนั้น แล้วมีแนวโน้มจะทำให้เรารู้สึกอยากได้หรืออยากกินสิ่งนั้น มากขึ้น
อย่างที่สอง การบอกว่า ห้ามอะไร หรือควรจะระวังอะไร มันจะทำให้เมื่อถึงอาหาร ฮอร์โมนเครียดจะหลั่งออกมามากขึ้น สมองเราจะรู้สึกอึดอัด หรือรู้สึกต้องระวัง แล้วมันจะสร้างความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับอาหาร
4
อาหารไม่ได้มีหน้าที่แค่ทำให้ร่างกายเราแข็งแรงสุขภาพดี แต่มันเป็นความสุข เป็นกิจกรรมที่ได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนที่กินด้วยกันกับเรา ซึ่งมนุษย์เราใช้อาหารเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ มานานเป็นหมื่นๆ แสนๆ ปีแล้ว
1
อย่างที่สาม คือ การกินเพื่อสุขภาพ มันไม่ใช่สิ่งที่เราจะทำ 1 ปี หรือ 2 ปี แต่มันคือ การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ไปตลอดชีวิต สำหรับผมเองถึงวันนี้ก็ทำอย่างต่อเนื่องมาได้ประมาณ 18 ปีแล้ว ดังนั้น เราต้องอยู่กับมันได้ยาวๆ ไม่ใช่ฮึดมาทำสัก 1-2 ปี พอวิถีชีวิตเปลี่ยน routine เปลี่ยน ก็ไม่สามารถทำต่อได้อีก ดังนั้น มันต้องเป็นสิ่งที่ง่ายกับการใช้ชีวิต
6
ที่เล่า เพราะผมเองก็เคยมีช่วงเวลานึงที่เคยพยายามกินดี จนเป็นแบบนั้น คือ กินกับคนอื่นยาก
Mindset ที่ดีกว่าคือ การโฟกัส ถึงสิ่งที่กินได้ สิ่งที่ควรกิน ซึ่งมันจะมีเยอะแยะไปหมด อารมณ์ประมาณว่า อันนั้นก็ดีเพราะมีไฟเบอร์ อันนี้ก็ดีเพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อันโน้นก็โปรตีนสูง อันนั้นก็แปลกใหม่ดี ไม่เคยกิน โดยนักวิจัยที่ชื่อ Brian Wansink เขาเรียกวิธีการคิดแบบนี้ว่า “additive approach” และพบว่ามันได้ผลดีกว่า "restrictive approach” หรือ การโฟกัสของที่ไม่ควรกิน
6
การเปลี่ยนกรอบความคิดเล็กๆ แค่นี้ มันสามารถสร้างความแตกต่างอย่างมหาศาลต่อพฤติกรรมการกินและความสัมพันธ์กับอาหารของเรา เพราะการคิดแบบนี้มันสร้างความสุข สมองจะหลั่งสารโดปามีน
7
ผมแชร์ประสบการณ์ ในทางปฏิบัติจริงนะครับ วิธีการทำแบบนี้ มันทำให้รู้สึกว่าของที่น่ากินมันเยอะจนไม่ค่อยมีพื้นที่เหลือสำหรับอาหารที่ไม่ดีกับสุขภาพ
ลองดูนะครับ เผื่อมันจะถูกกับจริตคุณเหมือนที่มันเวิรก์กับผล ใครมีเทคนิคอื่นๆ ก็แชร์มาแบ่งเพิ่มเติมในคอมเมนต์ได้นะ
รู้จักและเข้าใจร่างกาย ผ่านวิวัฒนาการของมนุษย์ ลองอ่านต่อได้ที่หนังสือ เรื่องเล่าจากร่างกาย ได้นะคะ
3
โฆษณา